ลีลาการเห่เรือ
ลีลาการเห่เรือ, ลีลาการเห่เรือ หมายถึง, ลีลาการเห่เรือ คือ, ลีลาการเห่เรือ ความหมาย, ลีลาการเห่เรือ คืออะไร
ลีลาการเห่เรือในปัจจุบัน สามารถแยกได้เป็น ๒ ลีลา หรือ ๒ ทาง คือ
เป็นลีลาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากลีลาของกองทัพเรือ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยนายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น เป็นผู้คิด ฟื้นฟูการเห่เรือแก่ศิลปินของกรมศิลปากร และเชิญต้นเสียงของกองทัพเรือในขณะนั้น คือ พันจ่าเอก เขียว ศุขภูมิ มาฝึกหัดให้แก่ศิลปินของกรมศิลปากร ๒ คน คือ ครูประเวช กุมุท และครูเสรี หวังในธรรม ประกอบกับกรมศิลปากรมีความถนัดในทางละคร จึงได้ปรับปรุงแต่งทำนองการเห่ให้เข้ากับ ท่ารำ ทำให้มีท่วงทำนองและลีลาที่อ่อนหวาน เหมาะสมกลมกลืนกับการร่ายรำ จนแตกต่างจากลีลาของกองทัพเรือที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคอย่างเห็นได้ชัด
อาจกล่าวได้ว่าลีลาการเห่เรือทั้งของกองทัพเรือและกรมศิลปากรนั้น เดิมเป็นลีลาเดียวกัน แต่ได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้นลีลาการเห่เรือทั้ง ๒ แห่ง จึงเป็นศิลปะของชาติ ที่ควรสงวนรักษาและสืบทอดให้ยืนยาวต่อไป
ลีลาการเห่เรือ, ลีลาการเห่เรือ หมายถึง, ลีลาการเห่เรือ คือ, ลีลาการเห่เรือ ความหมาย, ลีลาการเห่เรือ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!