ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ศัตรูของหม่อน, ศัตรูของหม่อน หมายถึง, ศัตรูของหม่อน คือ, ศัตรูของหม่อน ความหมาย, ศัตรูของหม่อน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ศัตรูของหม่อน

          ศัตรูของหม่อนมีทั้งเชื้อโรค และแมลง  เชื้อที่ทำให้เกิดโรคกับส่วนต่างๆของหม่อน  เช่น ราก  ส่วนแมลงจะรบกวนทำความเสียหายให้แก่ลำต้นและใบหม่อน          มีหลายชนิด  เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
          ๑. โรครากเน่า  (Root  rot  disease)
          นับว่า  เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของหม่อน     ทั้งนี้เพราะมีระบาดอยู่กระจัดกระจายทั่วๆไป   ทั้งในท้องที่ดอนและที่ลุ่ม ยิ่งกว่านั้นหากหม่อนติดโรคนี้แล้ว ไม่สามารถรักษาได้  ถ้าจะเปรียบกับโรคของคนก็พอจะเปรียบได้กับโรค  "มะเร็ง"  โรครากเน่าหรือจะเรียกว่า โรคมะเร็งของหม่อนนี้ ได้มีการค้นคว้าศึกษาหาทางป้องกันและกำจัดกันมาแล้วกว่า ๒๐ ปี จนกระทั่งบัดนี้  ก็ยังไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่า   เชื้ออะไรเป็นสาเหตุของโรค  จากการศึกษาพบว่า มีเชื้อโรคหลายชนิดร่วมกันเป็นสาเหตุของโรครากเน่า  เชื้อโรคนั้นประกอบด้วยเชื้อรา ๙  ชนิดเชื้อบัคเตรี ๓ ชนิด แต่ละชนิดไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยลำพังหม่อนที่แสดงอาการโรคนี้จะมีอายุตั้งแต่ ๒-๓ เดือนถึง ๑๐ ปีขึ้นไป
          จากข้อสังเกตทั่วๆไป  ปรากฏว่า  ในสภาพที่ดินค่อนข้างเหนียวมักไม่พบโรคนี้   หรือสภาพดินที่น้ำท่วมถึง  เช่น  ชายฝั่งแม่น้ำโขง  โดยเฉพาะเขตจังหวัดหนองคาย  ไม่เคยพบโรคนี้ทำลายต้นหม่อนเลย
          เมื่อหม่อนเริ่มเป็นโรคระยะแรก  มักจะสังเกตเห็นได้ยากลักษณะทั่วๆ ไป ก็ปกติดีทุกอย่าง   ต่อเมื่อรากเริ่มเน่ามากแล้วใบหม่อนโดยเฉพาะส่วนยอดจะเริ่มเหี่ยว และบางส่วนของแต่ละใบจะไหม้คล้ายถูกน้ำร้อนลวก ซึ่งลักษณะอาการตายเช่นนี้เรียกว่า  "ตายนึ่ง" อาการไหม้ค่อยลุกลามใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และจำนวนใบที่ไหม้ก็เพิ่มขึ้น จนในที่สุดก็ลามลงไปสู่ใบส่วนล่างๆของกิ่ง แล้วก็ตายไปในที่สุด  ในระยะที่ใบเริ่มตายนึ่งเล็กน้อยซึ่งจะสังเกตเห็นได้ง่ายมากนั้น   เมื่อขุดต้นหม่อนขึ้นมาปรากฏว่ารากบางส่วนเน่าแล้ว  โดยเปลือกรากจะล่อนผุ แต่ยังหุ้มเนื้อของรากไว้หลวมๆ
          การป้องกันและกำจัด

          ๑.  ติดตาหม่อนน้อยซึ่งเป็นหม่อนที่ให้ผลผลิตใบสูงกับหม่อนไผ่   หม่อนส้มใหญ่  หรือหม่อนส้ม   ซึ่งหม่อนพันธุ์ดังกล่าวมานี้ให้ใบน้อย  คุณภาพเลวกว่าหม่อนน้อย แต่ต้านทานโรคได้ดีกว่าแม้จะไม่ได้ผล ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
          ๒.  ขุดหม่อนที่เป็นโรครากเน่าออก  ทิ้งที่ไว้ให้ว่าง
          ๓.  พยายามหลีกเลี่ยงการที่จะต้องทำให้รากหม่อนถูกตัดขาดมาก

          ๒. โรครากขาว  [White   root  rot: Resellinianecatrix  (Harting) Berlese]
          เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำลายรากหม่อน     เมื่อโรคเข้าทำลายรากจนเน่าแล้ว  เชื้อจะยังเจริญบนรากที่เน่าได้ต่อไป  และสร้างเส้นใยสีขาวขึ้นมากมาย  รวมกันเป็นกลุ่มคลุมอยู่บนรากทำให้มองเห็นรากกลายเป็นสีขาว
          ในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น โรคนี้เป็นโรคที่ทำความเสียหายอย่างรุนแรงแก่หม่อน  แต่เนื่องจากได้ศึกษาค้นคว้าจนพบเชื้อที่เป็นสาเหตุแล้ว  จึงจะสะดวกต่อการป้องกันและกำจัด    การใช้สารเคมี    พีซีเอ็นบี (PCNB)     และคลอโรพิกริน(chloropicrin) ใส่ลงในดินบริเวณที่ต้นหม่อนรากเน่า ปรากฏว่าได้ผลดี    แต่ก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง   ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาทั่วๆไปในเรื่องของการปราบโรคในดิน  ในเมืองไทยพบโรคนี้อยู่เพียงแห่งเดียว ที่สวนหม่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้า-อยู่หัว  รัชกาลปัจจุบัน  ที่หัวหิน  และสวนหม่อนของกสิกรบริเวณใกล้เคียง  มีโรคระบาดอยู่เพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ  ๓นอกจากโรคนี้จะเป็นกับต้นหม่อนแล้ว   ยังทำความเสียหายแก่ต้นทับทิมอีกด้วย
          การป้องกันและกำจัด
          ในปัจจุบันนี้    โรครากขาวยังไม่เป็นปัญหาสำคัญในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในประเทศไทยเท่าไรนัก    หากพบก็ขุดต้นหม่อนเผาไฟทำลายเสีย แต่ถ้าระบาดออกไปรุนแรงและลุกลามออกไปมากขึ้น    ก็ต้องกำจัดโดยใช้สารเคมี    ดังเช่นในประเทศญี่ปุ่นเคยใช้ได้ผลมาแล้ว   การใช้สารเคมีจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงดังนั้น  รัฐบาลอาจจะต้องยื่นมือเข้ามาช่วย  แทนที่จะปล่อยให้กสิ-กรต่างคนต่างทำกันเอง

         ๓. โรคราแป้ง   [Powdery   mildew  :  Phyllactinia moricola (P. Hennings) Homma]
         เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ทำความเสียหายแก่หม่อนมากเพราะทำลายใบหม่อน    แต่ก็ไม่ทำให้หม่อนตายเหมือนอย่างโรค    ๒ ชนิดที่กล่าวมาแล้ว   เชื้อโรคจะเข้าทำลายที่ท้องใบ  และส่วนใหญ่จะทำลายใบที่อยู่ประมาณกลางกิ่ง ไม่อ่อนและแก่เกินไป  ส่วนที่เกิดโรคสังเกตเห็นได้ง่าย   เชื้อจะเจริญอยู่ในผิวใบหม่อน    และสร้างเส้นใยแทงทะลุออกมา    แล้วสร้างสปอร์ขึ้นเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป การสร้างสปอร์ใช้เวลาเพียง   ๒๔  ชั่วโมง   และจะสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ ทำให้สปอร์ที่ได้เกาะกันเป็นกลุ่มใหญ่   เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะเห็นคล้ายฝุ่นสีขาวเป็นวงๆ   ดูแล้วคล้ายกับขี้กลากวง-เดือนเป็นดวงๆ อยู่ตามท้องใบ  ถ้าเป็นมากอาจพบด้านหน้าใบได้เนื้อใบส่วนที่ถูกราแป้งเกาะดูดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  และเมื่อเป็นมากใบก็จะร่วงหล่นไป
          ใบที่มีฝุ่นราแป้งอยู่มากๆ ไหมไม่ค่อยชอบกิน  จึงทำให้เป็นผลเสียทางอ้อมที่ทำให้ใช้ใบเลี้ยงไหมไม่ได้เต็มที่
          โรคราแป้งพบอยู่ทั่วๆไปทุกแห่ง    และเป็นกับหม่อนแทบทุกพันธุ์   ฤดูที่มีโรคนี้ระบาดชุกชุมมักจะเป็นช่วงฤดูฝนต่อหน้าแล้ง  โดยปกติใบหม่อนเจริญงอกงามดีในฤดูฝน  ระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม ซึ่งเป็นระยะปลายฤดูฝนและอากาศเริ่มเย็นลง ราแป้งจะเจริญได้รวดเร็วมาก ทำให้หม่อนโทรมลงอย่างรวดเร็วหากไม่ค่อยดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร  ใบหม่อนส่วนกลางและส่วนล่างจะถูกราแป้งทำลายมากขึ้น  เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแข็งกระด้างแตกเป็นริ้วได้เมื่อมีลมพัดจัด    ในฤดูร้อน   ระหว่างเดือนกุมภา-พันธ์ - เมษายน  ราแป้งจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี  จึงไม่ค่อยพบในไร่  แต่จะพบในแปลงเพาะชำ   เพราะมีความชื้นสูงและอยู่ในร่มราแป้งซึ่งอยู่ตามท้องใบในแปลงเพาะชำนี้จะเจริญได้ต่อไปจนถึงฤดูฝน
          การป้องกันและกำจัด
          ๑.  ควรเด็ดใบที่มีราแป้งมากองรวมๆ กัน  แล้วเผาทำลาย
          ๒.  ทำลายเชื้อรา  โดยเลือกใช้ยาที่เหมาะสม  ฆ่าเชื้อราได้ดี  และพิษยาสลายได้ในเวลาไม่เกิน๑๐  วัน ตัวอย่างยาที่ใช้คือ  เบนเลต
          นอกจากโรคที่กล่าวมาแล้ว  ยังมีโรคอื่นๆ อีก  แต่พบเพียงเล็กน้อยและไม่สำคัญเท่าไรนัก เช่น  โรคใบไหม้ (bacterialblight) โรคใบจุด  (leaf  blotch) โรคพุ่มไม้กวาด (witches  broom)โรคใบหด (mosaic) และใบสีส้ม (rust)

ศัตรูของหม่อน, ศัตรูของหม่อน หมายถึง, ศัตรูของหม่อน คือ, ศัตรูของหม่อน ความหมาย, ศัตรูของหม่อน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu