ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคติดต่อและโรคเขตร้อน, โรคติดต่อและโรคเขตร้อน หมายถึง, โรคติดต่อและโรคเขตร้อน คือ, โรคติดต่อและโรคเขตร้อน ความหมาย, โรคติดต่อและโรคเขตร้อน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคติดต่อและโรคเขตร้อน

          โรคติดต่อ  หมายถึง  โรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย  อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นผลจากตัวเชื้อโรคเอง  หรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ
         สำหรับในเขตร้อน  อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคชนิดต่างๆ ตลอดจนแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้เร็ว  ทำให้มีโรคติดต่อต่างๆชุกชุม และบางโรคก็พบบ่อยกว่าประเทศที่มีอากาศหนาว โรคที่พบบ่อยในแถบเขตร้อนนี้ รวมเรียกว่า  โรคเขตร้อน  (tropical diseases) ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อได้มากมายหลายชนิด นับตั้งแต่เชื้อไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมากลงไปจนถึงสัตว์เซลล์เดียว และหนอนพยาธิต่างๆ 
         จุลินทรีย์หรือจุลชีพ คือ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายเป็นพันเท่าหรือหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ ในบรรยากาศที่ล้อมรอบตัวเรา ในดิน ในน้ำ ในอาหาร บนผิวกาย  หรือในร่างกายของเรา  จะสามารถตรวจพบจุลินทรีย์ต่างๆได้มากมายหลายชนิด
          จุลินทรีย์บางชนิด  มีชีวิตอยู่โดยไม่ทำอันตรายต่อคนหรือสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น   บางชนิดมีประโยชน์ช่วยสังเคราะห์สารต่างๆให้ประโยชน์ในทางกสิกรรม และอุตสาหกรรม    แต่บางชนิดก่อโรคให้กับคน  สัตว์และพืช จุลินทรีย์ที่ก่อโรคนี้รวมเรียกว่า "เชื้อโรค"
         เราอาจแบ่งจุลินทรีย์ออกเป็นกลุ่มตามขนาด  รูปร่าง และคุณสมบัติอื่นๆ ได้ดังนี้
         ๑. เชื้อไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่ขนาดเล็กที่สุดต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายเป็นหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ เรายังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสได้ในอาหารเพาะเลี้ยง เชื้อไวรัสเจริญเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
         ตัวอย่างโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส  ได้แก่ ไข้ทรพิษพิษสุนัขบ้า ไขสันหลังอักเสบหรือโปลิโอ หัด คางทูม และอีสุกอีใส เป็นต้น
          ๒.  เชื้อบัคเตรี มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัสสามารถมองเห็นได้เมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
         เชื้อบัคเตรีแบ่งออกเป็นกลุ่ม ตามรูปร่างที่มองเห็น
         กลุ่มที่มีรูปร่างกลม เรียกว่า ค็อกไซ (cocci)  
         กลุ่มที่มีรูปร่างเป็นแท่ง เรียกว่า บะซิลไล(bacilli) 
         กลุ่มที่มีรูปร่างขดเป็นเกลียวสว่าน เรียกว่า สไปโรคีต (spirochete) 
         ตัวอย่างโรคจากเชื้อบัคเตรี ได้แก่ อหิวาตกโรคไข้ไทฟอยด์ บิด  บาดทะยัก หนองใน วัณโรคหนองฝี ไข้เจ็บคอ ปอดบวม คอตีบ และไอกรนเป็นต้น
          นอกจากนี้ยังมีบัคเตรีอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติต่างไปจากเชื้อบัคเตรีส่วนใหญ่ บัคเตรีอื่นๆ  เหล่านี้อาจแยกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้
          ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) เป็นบัคเตรีที่ไม่มีผนังเซลล์ มีขนาดเล็กมากต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ทำให้เกิดโรคปอดบวม และโรคอื่นๆ
          คลามีเดีย (chlamydia) มีขนาดเล็กมาก และไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ในอาหารเพาะเลี้ยง   ต้องใช้เซลล์มีชีวิต  เป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงตา หนองในเทียมและโรคอื่นๆ
          ริกเก็ตต์เซีย (Rickettsia)  มีขนาดเล็กมาก เชื้อในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ก่อโรคในสัตว์  และติดต่อมายังคนโดยมีแมลงเป็นพาหะ  เกือบทุกตัวไม่สามารถเจริญได้ในอาหารเพาะเลี้ยง  ต้องใช้เซลล์มีชีวิต  มีเพียงบางตัวที่เลี้ยงได้ในอาหารที่เตรียมขึ้น ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากริกเก็ตต์เซีย ได้แก่ ไข้รากสาดใหญ่หรือไข้ไทฟัสเป็นต้น
          ๓. เชื้อรา (fungus) มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อบัคเตรี พบว่ามีรูปร่าง ๒ แบบ คือ ราแบบรูปกลมเรียกว่า ยีสต์ และราแบบเป็นสาย เรียกว่า สายราราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ  เราอาจมองเห็นกลุ่มของเชื้อราได้
ด้วยตาเปล่า ราบางชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุ์เกิดเป็นเห็ดขึ้น 
         ตัวอย่างโรคจากเชื้อรา ได้แก่ กลาก เกลื้อนและฝ้าขาวในปากเด็ก  เป็นต้น
          ๔.  เชื้อปรสิต (parasite) เป็นจุลชีพที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช ภายในเซลล์แยกออกเป็นนิวเคลียสและไซโทพลาซึม (cytoplasm) ชัดเจน แบ่งย่อยออกไปอีกเป็น สัตว์เซลล์เดียว หนอนพยาธิ และอาร์โทรพอด  (arthropod) ตัวอย่างเชื้อปรสิต ได้แก่ เชื้อบิดอะมีบา เชื้อมาลาเรียพยาธิตัวกลม  พยาธิใบไม้  พยาธิตัวตืด  ตัวหิด และตัวโลน  เป็นต้น
         เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายระยะแรกจะมีจำนวนไม่มากพอที่จะก่อโรค จะต้องอาศัยช่วงระยะเวลาหนึ่งแบ่งตัวเพิ่มจำนวน   แล้วปรากฏอาการโรคภายหลังระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จนกระทั่งปรากฏอาการโรคเรียกว่า  ระยะฟักตัว
         การติดเชื้อ  หมายถึง การที่เชื้อโรคเพิ่มจำนวนในร่างกาย โดยจะปรากฏอาการของโรคหรือไม่ก็ได้ 
         ผลจากการติดเชื้อ มักทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น และอาจทำให้ไม่เป็นโรคจากเชื้อนั้นอีกก็ได้
         โรคติดเชื้อบางโรค   จะติดต่อแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ง่าย   หากในบริเวณนั้นมีผู้ติดโรคเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นเรียกว่า    เกิดเป็นโรคระบาด บางโรคจะต้องมีพาหะนำเชื้อโรค และบางโรคจะต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ จึงจะเกิดการติดเชื้อก่อโรคได้           หมายถึง ตัวเชื้อโรคหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเชื้อที่สามารถนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ทำให้เกิดโรครุนแรง  แต่จะมีผลให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ 
          วัคซีน  แบ่งได้เป็น  ๒ ชนิด คือ วัคซีนที่ประกอบด้วยเชื้อโรคที่ตายแล้ว กับวัคซีนที่มีเชื้อโรคที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งถูกเลี้ยงจนอ่อนฤทธิ์หรือเชื่อง ไม่ก่อโรคเหมือนเชื้อที่พบในธรรมชาติ
          เชื้อโรคบางชนิดจะก่อโรคโดยการสร้างชีวสารที่เป็นพิษต่อร่างกายเรียกว่า ท็อกซิน (toxin) เรานำท็อกซินนี้มาดัดแปลงทำให้สภาพเป็นพิษหมดลงได้  แต่ยังคงสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ เรียกว่าท็อกซอยด์ (toxoid) ซึ่งก็ถือว่าเป็นวัคซีนชนิดหนึ่ง
          ภายหลังการฉีดวัคซีนหรือท็อกซอยด์ประมาณ ๒-๔ สัปดาห์ ร่างกายจึงจะมีภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นเองเกิดขึ้นป้องกันโรคได้โดยตรง แต่บางครั้ง บุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อโรค อาจจะฉีดวัคซีนให้ไม่ทันเวลา จำเป็นต้องฉีดเซรุ่มของคนหรือสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นให้ทันที  ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโดยทางลัด

โรคติดต่อและโรคเขตร้อน, โรคติดต่อและโรคเขตร้อน หมายถึง, โรคติดต่อและโรคเขตร้อน คือ, โรคติดต่อและโรคเขตร้อน ความหมาย, โรคติดต่อและโรคเขตร้อน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu