การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน
การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน, การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน หมายถึง, การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน คือ, การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน ความหมาย, การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน คืออะไร
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน ตามปกติเกิดขึ้นควบคู่กันไป เมื่อมีการสันดาปไม่สมบูรณ์ จึงต้องควบคุมส่วนผสมระหว่างน้ำมัน และอากาศให้พอเหมาะ ดังนั้นในรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซินทั่วไป คาร์บูเรเตอร์เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่นี้ นอกจากนั้นการจุดระเบิดในจังหวะเหมาะสม ก็จะช่วยควบคุมการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้เกิดการสันดาปอย่างสมบูรณ์ตามต้องการ เป็นที่น่าสังเกตว่าหากมีอากาศมากพอควรในการจุดระเบิดนั้น การสันดาปย่อมเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และลดมลพิษทั้งสองลงได้อย่างสิ้นเชิง พร้อมกันนั้นก็ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย การปรับแต่งเครื่องเป็นประจำจึงสำคัญ กล่าวคือ
ก. ปรับส่วนผสมระหว่างน้ำมันและอากาศให้เหมาะสม เมื่อมีสัดส่วนอากาศมากเกินพอ ย่อมไม่เกิดมลพิษจากก๊าซทั้งสองชนิด แต่ถ้าน้ำมันเจือจางมากเกินไป เครื่องยนต์จะเดินสะดุด
ข. เวลาจุดระเบิดต้องได้จังหวะ ความพอดีนี้ขึ้นอยู่กับส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ เช่น หัวเทียนจุดระเบิด ลูกสูบทำหน้าที่อัดไอน้ำมัน และวาล์วปิดเปิดให้ไอน้ำมันเข้าและขับไอเสียออกได้จังหวะ เป็นต้น
ตามปกติไอเสียจากรถยนต์ควรออกสู่บรรยากาศทางท่อไอเสีย แต่มีช่องว่างรอบลูกสูบ จึงทำให้ไอเสียรั่วออกรอบลูกสูบ แล้วเข้าสู่ตัวเครื่องยนต์ก่อนออกสู่อากาศต่อไป ในบางจังหวะไอน้ำมันย่อมรั่วออกได้เหมือนกัน การรั่วไหลนี้มีมากยิ่งขึ้นเมื่อเครื่องยนต์เก่าหรือเครื่องหลวม ดังนั้นเครื่องยนต์ต้องมีสภาพดีอยู่เสมอจึงจะช่วยลดมลพิษทางอากาศลงได้
เครื่องยนต์สมัยใหม่ไม่มีรูระบายให้ก๊าซออก ตรงกันข้ามกลับนำกลับเข้าไปในลูกสูบในภายหลังเพื่อประโยชน์ ๒ ประการ คือ
ก. เผาไหม้เชื้อเพลิงที่ตกค้างจนเกิดการสันดาปสมบูรณ์ก่อนระบายออกสู่บรรยากาศ
ข. ลดอุณหภูมิในการจุดระเบิดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดก๊าซไนทริกออกไซด์ โดยเฉพาะในกรณีของรถดีเซล
ไอน้ำมันนอกจากจะออกจากเครื่องยนต์ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว น้ำมันหรือไฮโดรคาร์บอนจะระเหยออกจากถังน้ำมันเป็นประจำ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมมิให้น้ำมันระเหยทั้งในเวลาเดินเครื่องหรือดับเครื่อง หลักการที่นิยมใช้กัน คือ
ก. ออกแบบถังน้ำมันมีฝาปิดสนิท
ข. ถังน้ำมันกินพื้นที่น้อย ผิวระเหยจึงมีจำกัด
ค. มีช่องว่างเหลือในถังเพื่อให้น้ำมันได้ขยายตัวเมื่อร้อน
ง. ติดระบบเก็บกักไอน้ำมันที่ระเหยออกจากถังน้ำมัน
จ. นำไอน้ำมันที่จับไว้ ป้อนเข้าเครื่องยนต์ในอัตราพอเหมาะ
ฉ. เปลี่ยนส่วนผสมน้ำมันให้ระเหยได้น้อยลง
การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน, การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน หมายถึง, การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน คือ, การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน ความหมาย, การควบคุมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!