ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี, พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี หมายถึง, พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี คือ, พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี ความหมาย, พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี

          ข้าวสาลีเป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในตระกูลหญ้า (Family Gramineae) พืชในตระกูลนี้มนุษย์นำมาปลูกเพื่อใช้เมล็ดสำหรับคนหรือสัตว์ กินเป็นอาหาร การใช้เมล็ดเป็นอาหารสำหรับมนุษย์นี้ ก็ด้วยการนำเมล็ดมาทำให้สุกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น คั่ว อบ ทอด ต้ม นึ่ง หรือนำเมล็ดมาแปรรูปให้เป็นแป้งเสียก่อน แล้วจึงทำให้สุกก่อนบริโภค ฟางธัญพืชใช้เลี้ยงสัตว์หรือใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้ ธัญพืชเป็นพืชมีอายุจากปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวไม่เกินหนึ่งปี (พืชล้มลุก)ได้แก่  ข้าว  ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอต  ข้าวไรย์  และทริทิเคลี  (triticale) คือ พืชลูกผสมระหว่างข้าวสาลีกับข้าวไรย์
          ธัญพืชเมืองหนาว หมายถึง ธัญพืชที่สามารถปรับตัวได้ดีในภูมิประเทศซึ่งอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ มีอากาศหนาวเย็นกว่าประเทศในเขตร้อนซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
          โครโมโซมของข้าวสาลีนั้นแบ่งออกได้เป็นชุด จำนวนโครโมโซมในหนึ่งชุดเท่ากับเจ็ดข้าวสาลีที่เป็นดิพพลอยด์  มีจำนวนโครโมโซมทั้งหมด ๑๔ แท่ง คือ ๒ ชุด หรือ ๗ คู่ ข้าวสาลีที่เป็นเตตราพลอยด์มีจำนวนโครโมโซมทั้งหมด ๒๘ แท่ง คือ ๔ ชุด หรือ ๑๔ คู่ ส่วนข้าวสาลีที่เป็นเฮกซาพลอยด์มีจำนวนโครโมโซมทั้งหมด ๔๒ แท่ง คือ ๖ ชุด หรือ ๒๑ คู่
          ต้นตระกูลของข้าวสาลีที่ปลูกอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นข้าวสาลีป่าชนิดดิพพลอยด์  ข้าวสาลีป่ามีอยู่หลายชนิด ข้าวสาลีป่าแต่ละชนิดมีชุดโครโมโซมไม่เหมือนกัน วิวัฒนาการของพืชทำให้เราได้ข้าวสาลีพันธุ์ปลูกชนิดเตตราพลอยด์และเฮกซาพลอยด์หลายชนิด ข้าวสาลีกลุ่มที่เป็นเตตราพลอยด์เกิดขึ้นมาได้ดังนี้  แรกทีเดียว เกิดการผสมพันธุ์กันระหว่างข้าวสาลีชนิดดิพพลอยด์ที่มีโครโมโซมต่างชุดกัน  เช่น AA ผสมกับ BB (ชุด A และชุด B มีโครโมโซมชุดละ ๗ แท่ง) ลูกของข้าวสาลีที่เกิดจากการผสมพันธุ์จะมีเลือด AB ซึ่งถ้าเกิดการเพิ่มโครโมโซมขึ้นมาอีกเท่าตัวโดยธรรมชาติ        จะได้ข้าวสาลีจำพวกเตตราพลอยด์ซึ่งมีชุดโครโมโซมจำนวน ๔ ชุด คือ AABB
          ส่วนข้าวสาลีชนิดเฮกซาพลอยด์นั้น  เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสาลีชนิดเตตราพลอยด์กับข้าวสาลีชนิดดิพพลอยด์อีกชนิดหนึ่ง  คือ AABB ผสมกับ DD ลูกของข้าวสาลีที่เกิดจากการผสมพันธุ์จะมีเลือด ABD ซึ่งถ้าเกิดการเพิ่มโครโมโซมขึ้นมาอีกเท่าตัวโดยธรรมชาติจะได้ข้าวสาลีจำพวกเฮกซาพลอยด์  ซึ่งมีชุดโครโมโซมจำนวน ๖ ชุด คือ AABBDD
          ธัญพืชเมืองหนาวในจำพวกข้าวสาลีที่นำมาปลูกในประเทศไทย  มีดังนี้ คือ
          ๑)   ข้าวสาลีดูรัม (durum  wheat)  หรือข้าวสาลีมะกะโรนี (macaroni  wheat)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Triticum durum มีจำนวนโครโมโซม ๔ ชุด
          ๒)  ข้าวสาลีขนมปัง (bread wheat หรือ common wheat) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Triticum aestivum มีจำนวนโครโมโซม ๖ ชุด
          ๓)  ทริทิเคลี  (triticale)  เป็นธัญพืชลูกผสมระหว่างข้าวสาลี (Triticum  aestivum) กับข้าวไรย์ (Secale cereale) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  X Triticosecale พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นพวกมีจำนวนโครโมโซม ๖ ชุด

พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี, พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี หมายถึง, พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี คือ, พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี ความหมาย, พฤกษศาสตร์ของข้าวสาลี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu