การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก
การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก, การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก หมายถึง, การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก คือ, การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก ความหมาย, การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก คืออะไร
การปลูกสร้างสวนป่าไม้สักในประเทศไทยได้เริ่มทดลองครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ในท้องที่ป่าแม่ปาน อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โดยนำวิธีการปลูกสร้างสวนสักในพม่ามาใช้ การปลูกสร้างสวนป่าไม้สักเพื่อการทดลองได้ดำเนินการต่อมาอีกในท้องที่ต่างๆ ทั่วภาคเหนือของประเทศ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ กรมป่าไม้จึงได้วางแผนและปลูกสร้างสวนป่าไม้สักอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะผลิตไม้สักทดแทนป่าธรรมชาติที่อาจหมดสิ้นไปได้ในอนาคต และปลูกสวนตัวอย่างขึ้นในท้องที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง (สวนป่าแม่หวด) และในท้องที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (สวนป่าแม่ต้า) ซึ่งเป็นแหล่งไม้สักชั้นดีของประเทศ ต่อมาการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักได้รับการกำหนดเป็นนโยบายหลักนโยบายหนึ่งของประเทศ โดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นับตั้งแต่ฉบับที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา
ปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน เช่น กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัทไม้อัดไทย และหน่วยงานเอกชนต่างๆ ได้ดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของประเทศ ทำให้สวนป่าไม้สักในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๓๐) มีพื้นที่ถึง ๑,๐๑๕,๘๕๐ ไร่ มีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตไม้สักออกใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เมื่ออายุระหว่าง ๓๐-๖๐ ปี หลังจากปลูก และคาดว่าจะสามารถผลิตไม้ได้ประมาณ ๓๐-๔๐ ลูกบาศก์เมตรต่อไร่เมื่อถึงระยะเวลาตัดฟัน ในการปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก ต้องจัดหาเมล็ดสักมาเพาะหว่านบนแปลงเพาะ ซึ่งกว้าง ๑ เมตร ใช้เมล็ดสักประมาณ ๑ ลิตร (๑ ลิตรมีเมล็ดสักประมาณ ๕๐๐ เมล็ด) หว่านลงในพื้นที่แปลงเพาะ ๑ ตารางเมตร แล้วปล่อยให้เมล็ดที่เพาะงอกเป็นกล้าไม้และเจริญเติบโตเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี จากนั้นถึงถอนขึ้นมาตัดแต่งให้เป็นเหง้า โดยตัดส่วนของลำต้นและรากแขนงของกล้าสักออก เหลือแต่ส่วนของรากแก้วที่มีลักษณะคล้ายหัวแครอต หรือ หัวผักกาดขาวที่ปลายเรียว ซึ่งในทางการป่าไม้เรียกว่า "เหง้าสัก" แล้วจึงนำไปปลูกในพื้นที่ที่ได้เตรียมไว้
การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก, การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก หมายถึง, การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก คือ, การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก ความหมาย, การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!