เราได้กล่าวถึงการเกิดของเมฆไว้ก่อนๆ แล้ว ต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงการแบ่งประเภทของเมฆต่างๆ อีก ซึ่งแต่ละอย่างก็เป็นเครื่องบอกสัญลักษณ์ของอากาศได้ด้วย
จากการแบ่งเมฆ ๔ ชนิดในท้องฟ้า คือ ชนิดชั้นสูงชั้นกลาง ชั้นต่ำ และชนิดก่อตัวตามแนวตั้ง เราสามารถจะจัดทำตารางเกี่ยวกับเมฆได้ต่อไปนี้
ชื่อเมฆ ลักษณะย่อๆของเมฆ เซอร์รัส บางๆละเอียดสีขาวเป็นฝอยหรือปุยคล้ายขนนุ่น อาจมีวงแสง (halo) โปร่งแสง เซอร์โรสเตนตัส บางๆ โปร่งแสงเหมือนม่าน มีสีขาวหรือน้ำเงินจาง อาจมีวงแสงได้ เซอร์โรคิวมูลัส บางๆ สีขาวเป็นก้อนเล็กๆ เหมือนคลื่นและเกล็ด หรืออาจเป็นลูกกลมๆ โปร่งและมองเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้ อัลโตคิวมูลัส สีขาว บางครั้งสีเทา มีลักษณะเป็นก้อนกลมใหญ่และแบน มีการจัดตัวกันเป็นแถวๆ หรือคลื่น อาจมีแสงทรงกลด (corona) อัลโตสเตรตัส ม่านสีเทาและสีฟ้าแผ่เป็นบริเวณกว้าง มองดูเรียบเป็นปุยหรือฝอยละเอียด อาจมีแสงทรงกลด สเตรตัส เหมือนหมอกแต่อยู่สูงจากพื้นดินเป็นชั้นและแผ่น มีสีเทามองไม่เห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ สเตรโตคิวมูลัส สีเทามีลักษณะอ่อนนุ่มและนูนออกเป็นสัน เมื่อรวมกันจะเป็นคลื่น ส่วนมากไม่มีฝน นิมโบสเตรตัส สีเทาดำ ไม่เป็นรูปร่าง ฐานต่ำใกล้พื้นดิน ไม่เป็นระเบียบ คล้ายผ้าขี้ริ้ว คิวมูลัส หนา ก่อตัวในทางตั้ง ไม่เห็นแสงอาทิตย์หรือแสงจันทร์ คิวมูโลนิมบัส เป็นเมฆหนา มีฟ้าแลบฟ้าร้อง ทึบมืด มีสัญลักษณ์รูปทั่ง