ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การทำความเข้าใจระบบตลาด, การทำความเข้าใจระบบตลาด หมายถึง, การทำความเข้าใจระบบตลาด คือ, การทำความเข้าใจระบบตลาด ความหมาย, การทำความเข้าใจระบบตลาด คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การทำความเข้าใจระบบตลาด

          เนื่องจากระบบตลาดเป็นเรื่องสลับซับซ้อนการทำความเข้าใจภาพรวมทั้งหมดจึงเป็นเรื่องยากจะทำได้ก็แต่เฉพาะสินค้าบางสินค้า ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันดังได้อธิบายมาแล้ว  แม้กระทั่งในสินค้าแต่ละชนิดก็มีวิธีทำความเข้าใจอยู่ได้หลายวิธีดังนั้นในการทำความเข้าใจอาจจะต้องใช้หลายวิธีประกอบ เช่น

         วิธีแรก เป็นการให้ภาพกว้างๆ ว่าหลังจากที่สินค้าออกจากมือผู้ผลิตได้ผ่านขั้นตอนการตลาดไปอย่างไรกว่าจะถึงมือผู้บริโภค ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นการพิจารณาช่องทางหรือวิถีการตลาดทำให้ทราบว่าสินค้าผ่านผู้ทำหน้าที่ในการตลาดโดยเฉพาะหน้าที่ในการซื้อขาย มักจะแสดงเป็นร้อยละ คือคิดว่าสินค้าออกจากผู้ผลิต ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ผ่านใครได้บ้าง มากน้อยแค่ไหนแล้วให้ไปถึงผู้บริโภค ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เช่นกันต้องปรับเทียบให้สินค้ามีลักษณะเหมือนกันเสียก่อนที่เป็นเช่นนี้เพราะสินค้าชนิดหนึ่ง เช่น ข้าวเปลือกแต่เมื่อผู้บริโภคซื้อไปจะเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งคือข้าวสารชนิดต่างๆ จากวิถีการตลาดทำให้ทราบว่าใครทำหน้าที่ในการตลาดบ้าง
          ตัวอย่างวิถีการตลาดของสับปะรดในภาคตะวันออก  ซึ่งไม่สลับซับซ้อนเหมือนข้าวสารหรือข้าวโพด เพราะถ้าไม่ส่งโรงงานสับปะรดกระป๋องก็ต้องบริโภคสด  จะมีลักษณะง่ายๆดังแผนภาพข้างล่างนี้

          วิธีที่สอง เป็นการพิจารณาว่าหน้าที่ในการตลาดแต่ละหน้าที่มีใครทำหน้าที่ใดบ้าง ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าใด เช่น ในการขนส่งสินค้าจากเกษตรกร จนถึงนำสินค้าไปยังผู้บริโภค ต้องเสียค่าขนส่งในแต่ละระดับรวมกันมากน้อยแค่ไหนค่าเก็บรักษา ค่าจ้างแรงงาน ค่าแปรรูป ก็สามารถจะศึกษาได้เช่นกัน การพิจารณาในลักษณะนี้นอกจากจะเข้าใจว่ามีใครทำหน้าที่อะไรบ้างแล้ว จะทำให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายในการทำหน้าที่นั้นๆ ด้วยซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการทำหน้าที่ต่างๆ  และทราบผลตอบแทนของผู้ทำหน้าที่ได้แล้ว  ก็จะทราบว่าค่าใช้จ่ายในการตลาดของสินค้าแต่ละชนิดมีมากน้อยแค่ไหน มีรายการค่าใช้จ่ายใดบ้างที่ควรจะลด
          ตัวอย่างง่ายๆ เพื่อประกอบความเข้าใจ เช่นพ่อค้าที่รับซื้อหัวมันสดจากชาวไร่มันสำปะหลังแล้วขายต่อให้กับโรงงานมันเส้น ค่าใช้จ่ายต่อกิโลกรัม แยกตามหน้าที่หลักของการตลาดจะมีดังนี้

          วิธีที่สาม คือมองจากผู้ทำหน้าที่การตลาดเพื่อต้องการทราบว่าผู้ทำหน้าที่เหล่านั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง เช่น มีหน้าที่ในการรวบรวมสินค้าการซื้อขาย การขนส่ง หรือทำหน้าที่เป็นแต่เพียงนายหน้า ผู้ที่ทำหน้าที่เหล่านี้มีทั้งเอกชนรายบุคคลบริษัท สมาคม รวมทั้งหน่วยงานของรัฐ การทำความเข้าใจลักษณะนี้ทำให้ทราบว่าผู้ทำหน้าที่ในการตลาดมีใครบ้าง จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว
          การทำความเข้าใจเป็นการมองโครงสร้างของการตลาด เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่าการที่ใครเข้ามาทำหน้าที่การตลาด คิดค่าใช้จ่ายและกำไรมากน้อยแค่ไหน ทำหน้าที่แล้วมีประสิทธิภาพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของตลาดสินค้าชนิดนั้นๆ การพิจารณาโครงสร้างมักจะดูว่าผู้ที่ทำหน้าที่มีจำนวนมากน้อยแค่ไหน ถ้าจำนวนมากโอกาสที่จะกำหนดราคาหรือค่าใช้จ่ายตามใจชอบมักจะทำไม่ได้ แต่จะแข่งขันกัน ถ้าไม่มากก็ต้องพิจารณาต่อว่ามีเหตุผลอย่างไร เป็นเพราะขนาดธุรกิจมีน้อย หรือต้องใช้เงินลงทุนสูง หรือทำได้เพราะได้รับสิทธิพิเศษ การที่ไม่มีคู่แข่งทำให้การให้บริการอาจจะไม่ดีแต่คิดค่าบริการแพง การศึกษาลักษณะนี้จะทำให้เข้าใจเหตุผลดีขึ้น
          การทำความเข้าใจการตลาดอีกลักษณะหนึ่งก็คือ ดูเฉพาะตลาดในแต่ละระดับ เป็นการมองทั้งจากหน้าที่ที่ทำ และผู้ที่ทำหน้าที่การตลาดในตลาดระดับหนึ่งๆ   หน้าที่ในการตลาดจะมีมากน้อยต่างกัน เช่น ในแหล่งผลิตก็มีตลาดรับซื้อผลิตผลจากเกษตรกรรายย่อย เมื่อรวบรวมได้มากพอก็นำไปขายในตลาดกลางที่มีการซื้อขายกันมากๆ และมักจะมีโรงงานแปรรูป  เสร็จแล้วก็จะส่งสินค้าไปตลาดกลางปลายทางในเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งแจกจ่ายสินค้าไปยังผู้บริโภคทั้งประเทศรวมทั้งแจกจ่ายไปให้โรงงานอุตสาหกรรม  และ ส่งออก เช่น การตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งง่ายและไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรเมื่อขุดหัวมันขึ้นมาแล้วก็ต้องขายให้โรงงานทำมันเส้น ดังนั้น ตลาดในท้องที่ก็คือโรงงานมันเส้น ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งผลิตเมื่อทำมันเส้นเสร็จแล้ว ก็ขายต่อให้โรงงานมันอัดเม็ด ส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และในอำเภอบ้านไผ่ รวมทั้งในตัวจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา ถือได้ว่าเป็นตลาดกลางต่างจังหวัด ต่อไปก็ส่งมันอัดเม็ด หรือขายมันเส้นไปตลาดกลางปลายทาง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบางไทรและอำเภอเมือง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งในตลาดเหล่านี้อาจจะมีโรงงานมันอัดเม็ดอยู่ด้วย และพร้อมที่จะส่งออกต่างประเทศ
          ลักษณะตลาดข้างต้นอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับเส้นทางการขนส่ง และความสะดวกในการขนส่ง เช่น เมื่อก่อนสินค้าส่วนมากมาจากพระนครศรีอยุธยาลงมายังกรุงเทพฯ โดยขนส่งทางเรือต่อมาเมื่อขนส่งทางถนนสะดวกกว่าจึงใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ ต่อมาก็มีการใช้รถพ่วงทำให้ขนส่งทางถนนมากขึ้น แต่ในฤดูฝนซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำสูงประกอบกับปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงใช้การขนส่งทางเรือมากขึ้นทำให้ศูนย์กลางการค้าเปลี่ยนไปด้วย   

การทำความเข้าใจระบบตลาด, การทำความเข้าใจระบบตลาด หมายถึง, การทำความเข้าใจระบบตลาด คือ, การทำความเข้าใจระบบตลาด ความหมาย, การทำความเข้าใจระบบตลาด คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 18

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu