ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หลักการบริหารราชการแผ่นดิน, หลักการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง, หลักการบริหารราชการแผ่นดิน คือ, หลักการบริหารราชการแผ่นดิน ความหมาย, หลักการบริหารราชการแผ่นดิน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
หลักการบริหารราชการแผ่นดิน

          นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีจะต้องบริหารประเทศให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย นโยบายของคณะรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี  โดยสรุป การบริหารราชการ แผ่นดินจะต้องเป็นไปตามหลักดังนี้ 
          ๑. ต้องชอบด้วยกฎหมาย 
          ๒. ต้องไม่ลำเอียงหรือเลือกปฏิบัติ 
          ๓. ต้องไม่กำหนดสิ่งใดเกินเลยไปจากที่กฎหมายกำหนด 
          ๔. ต้องไม่กระทำโดยทุจริต 
          ๕. ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราษฎรโดยไม่จำเป็นหรือไม่เป็นธรรม 
          ๖. ต้องเป็นไปตามหลักการปกครอง ที่ดี หรือธรรมาภิบาล (good governance)  กล่าวคือ ชอบด้วยกฎหมาย โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มีเหตุผลอธิบายได้ และมีการรับฟังความคิดเห็น หรือการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องหรือผู้รับผลกระทบตามสมควร 
          การบริหารราชการแผ่นดินที่ไม่เป็นไป ตามหลักข้างต้น นอกจากผู้บริหารอาจต้องรับผิดชอบตามกฎหมายในทางแพ่ง ทาง อาญา หรือทางปกครองแล้ว ในทางการเมือง ผู้บริหารอาจต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น มีการตั้งกระทู้ถามจากสมาชิกรัฐสภา  มีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ  หรืออาจมีการเข้าชื่อขอให้พิจารณาถอดถอนผู้บริหารนั้นจากตำแหน่ง

ดูเพิ่มเติมเรื่อง กฎหมายกับสังคมไทย เล่ม ๑๘

หลักการบริหารราชการแผ่นดิน, หลักการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง, หลักการบริหารราชการแผ่นดิน คือ, หลักการบริหารราชการแผ่นดิน ความหมาย, หลักการบริหารราชการแผ่นดิน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu