ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส, การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส หมายถึง, การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส คือ, การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส ความหมาย, การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส

          ทำด้วยพลาสติกและอาบด้วยแบเรียมเพื่อให้มองเห็นจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ ห่วงนี้มีลักษณะเป็นรูปตัวเอส ๒ ตัวติดต่อกัน เอสตัวล่างมีขนาดเล็กกว่าตัวบน ทำให้ห่วงมีลักษณะเหมาะกับโพรงมดลูกพอดีปลายล่างของห่วงมีเอ็นไนลอนที่ผูกติดอยู่เพื่อสะดวกในการตรวจว่าห่วงยังอยู่หรือไม่ และใช้สำหรับดึงเอาห่วงออกด้วย ห่วงนี้มีอยู่ ๔ ขนาด คือ ขนาด เอ บี ซี ดี (A, B, C และ D) ขนาด ดี เป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุด
          ห่วงห่วงลิปปีสเมื่อใส่อยู่ในโพรงมดลูกแล้ว จะกลับคืนรูปเป็นอย่างเดิม และเอ็นไนลอนที่ผูกติดกับปลายล่างห่วงจะโผล่ออกมาทางปากมดลูกให้มองเห็นได้ในช่องคลอด เอ็นไนลอนนี้มีไว้สำหรับเป็นเครื่องหมายแสดงว่าห่วงยังไม่หลุดไป และเมื่อจะเอาห่วงออกก็ดึงเอ็นไนลอนนี้ ห่วงก็จะหลุดออกมา

          ข้อแนะนำในการใช้ห่วงลิปพีส
          ๑. ภายหลังใส่ห่วงใหม่ๆ อาจมีเลือดออกอยู่ ๒-๓ วัน แล้วจะหยุดไปเอง โดยไม่ต้องรักษา เมื่อเลือดหยุดดีแล้วก็จะอยู่ร่วมกับสามีได้ตามปกติ
          ๒. วันแรกๆ ภายหลังใส่ห่วง อาจมีปวดท้องน้อยได้บ้าง ซึ่งจะระงับได้โดยยาแก้ปวดธรรมดา เช่น แอสไพริน
          ๓. ๒-๓ เดือนแรกหลังใส่ ประจำเดือนอาจมากและนานกว่าปกติ ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาเพราะต่อไปจะดีขึ้นเอง
          ๔. อาจมีตกขาวมากกว่าปกติ ในระยะ ๒-๓ เดือนหลังใส่ และต่อไปก็จะค่อยๆ หายไปเอง
          ๕. ห่วงที่ใส่ไว้อาจจะหลุดได้ในบางราย ซึ่งมักจะหลุดใน ๒-๓ เดือนแรก และหลุดพร้อมกับประจำเดือน ทุกครั้งที่มีประจำเดือน จึงควรตรวจดูว่ามีห่วงหลุดติดออกมาด้วยหรือไม่ หากหลุดควรงดอยู่ร่วมกัน หรือคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นไปก่อน และรีบมาหาแพทย์
          ๖. ถ้าต้องการตรวจดูว่าห่วงอยู่หรือไม่   ควรล้างมือให้สะอาด แล้วสอดนิ้วชี้เข้าไปคลำดูเอ็นไนลอนที่ปากมดลูกภายหลังที่ประจำเดือนแต่ละครั้งหมดแล้ว
          ๗. ห่วงลิปพีสไม่มีการเสื่อมคุณภาพ จะใส่ไว้ในมดลูกนานเท่าไรก็ได้ ในรายที่ผู้ใส่ถึงวัยหมดประจำเดือนแล้วประมาณ ๑ ปี ก็ควรเอาออกได้
          ๘. ควรมาตรวจภายในอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อดูว่าห่วงยังอยู่เรียบร้อยดีหรือไม่ และเพื่อทำการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรกให้ด้วย

          ประสิทธิภาพของห่วงลิปพีส
          หญิงที่ใส่ห่วงอยู่อาจมีโอกาสตั้งครรภ์ได้เพียงประมาณร้อยละ ๒ ต่อปี ซึ่งนับว่าประสิทธิภาพของห่วงชนิดนี้ดีพอสมควร  
          ห่วงคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูก แต่ก็มิได้ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
          ในรายที่ตั้งครรภ์โดยมีห่วงอยู่ในมดลูก  อัตราการแท้งจะสูงขึ้นกว่าในการตั้งครรภ์ทั่วๆไปถ้ามิได้เอาห่วงออก แต่ส่วนใหญ่ก็จะตั้งครรภ์ได้จนครบกำหนดและคลอดได้ตามปกติ โดยห่วงจะหลุดออกมาพร้อมกับเด็กหรือรก ไม่เคยปรากฏมีความพิการในเด็กพวกนี้

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส, การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส หมายถึง, การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส คือ, การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส ความหมาย, การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ : ห่วงคุมกำเนิด และห่วงลิปพีส คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu