ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย, ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย หมายถึง, ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย คือ, ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย ความหมาย, ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย

          ชาวจีนเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองจีนหลายระลอก นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมานับเป็นกลุ่มคนจำนวนมากที่สุดที่อพยพมาจากประเทศอื่น และยังคงรักษาความเชื่อและประเพณีของตนไว้ได้อย่างมีเอกลักษณ์ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะปรับตัวหรือถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย

          ลักษณะความเชื่อทางศาสนาของชาวจีนในประเทศไทยผสมผสานความเชื่อของพุทธศาสนาการบูชาบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อ และการนับถือเทพเจ้า ชาวจีนจะนิยมไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษ ในขณะเดียวกันก็ทำบุญตักบาตรหรือให้ลูกบวชเรียนในพุทธศาสนา โดยไม่ถือว่ามีความขัดแย้งกัน

          ความเชื่อดั้งเดิมที่ชาวจีนรับมาจากบรรพบุรุษที่สำคัญ คือ

          ๑. ลัทธิขงจื้อ
  เป็นคำสอนที่มีความสำคัญ ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมไว้อย่างชัดเจน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกหลาน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง หรือผู้ใหญ่กับผู้เยาว์ ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับครอบครัว  นอกนั้นยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผู้คนในระดับต่างๆ ที่สำคัญ คือ การเน้นความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ

          ๒. ลัทธิเต๋า
เป็นคำสอนทางปรัชญาที่ว่าด้วยชีวิตกับธรรมชาติ สอนให้บุคคลดำเนินชีวิตโดยไม่ฝืนธรรมชาติ รู้จักตนเอง เอาชนะตนเองรู้จักพอ สอนให้รู้จักสันโดษ สอนว่าการปกครองที่ดีนั้นไม่ควรใช้อำนาจมาก  ไม่ควรมีกฎระเบียบมาก ให้เป็นไปโดยธรรมชาติเหมือนชีวิตในครอบครัวเดียวกัน  ต่อมาเต๋าได้ปรับตัวผสมผสานกับพุทธศาสนานิกายมหายานในจีนทำให้เกิดมีซั่มเมง (ไตรสุทธิ) หรือพระผู้บริสุทธิ์ทั้งสาม คือ เล่าจื๊อ พ่อนโกสี (เทพผู้สร้างโลก) และ เง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นต้น

          ๓. พุทธศาสนามหายาน
  นอกจากจะชี้ทางเพื่อการพ้นทุกข์เหมือนคำสอนของพุทธ-ศาสนาฝ่ายเถรวาท ยังมีการผสมผสานกับความเชื่ออื่นๆ  มีพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาย  พระพุทธเจ้าองค์สำคัญที่สุด คือ พระอมิตาภะ และพระโพธิสัตว์องค์สำคัญที่สุด คือพระอวโลกิเตศวร หรือกวนอิม หัวใจการปฏิบัติธรรม คือ ต้องมีทั้งปัญญาและกรุณาควบคู่กันไปเน้นการละความเห็นแก่ตัวและทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ซึ่งเป็นที่มาขององค์กรการกุศลต่างๆ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว ถนนศาลา โรงธรรม เป็นต้น

          ๔. การนับถือเทพเจ้า
  เป็นความเชื่อที่เก่าแก่ที่สุดที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดมา มีเทพเจ้าประจำสถานที่ ทะเล ภูเขา ป่า แม่น้ำ บ้านเรือน ประจำอาชีพ เทพเจ้าชั้นสูงที่มีคุณธรรมเป็นเลิศ ได้แก่ เทพเจ้ากวนอู เจ้าแม่ทับทิม เป็นต้น เทพเจ้าชั้นสูงสุด ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าที่ถือว่าเป็นเซียนต่างๆ เช่น โป๊ยเซียน เป็นต้น จะมีศาลเจ้าขนาดต่างๆสร้างไว้ในชุมชนหรือสถานที่ต่างๆ เพื่อการสักการะ

          ประเพณีสำคัญของชาวจีนที่ยังเหลืออยู่และได้รับการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในประเทศไทยมีหลายประเพณีด้วยกัน เช่น ตรุษจีน สารทจีน เช็งเม้ง เทศกาลกินเจ เป็นต้น พิธีกรรมสำคัญในแต่ละช่วงชีวิต ได้แก่ พิธีรับขวัญเด็ก  พิธีแต่งงาน  พิธีแซยิด ครบรอบปีเกิดสำคัญ เช่น ครบห้ารอบ หรืออายุ ๖๐ ปี พิธีกงเต็ก หรือพิธีศพให้ผู้ล่วงลับโดยจัดเครื่อง ในพิธีที่ประกอบด้วยกระดาษรูปทรงสมบัติในบ้านเครื่องใช้ต่างๆ เพื่ออุทิศให้ผู้ตาย

ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย, ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย หมายถึง, ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย คือ, ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย ความหมาย, ความเชื่อของชาวจีนในประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 20

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu