การระบายน้ำ
การระบายน้ำ, การระบายน้ำ หมายถึง, การระบายน้ำ คือ, การระบายน้ำ ความหมาย, การระบายน้ำ คืออะไร
หมายถึง กิจการที่จัดทำขึ้นเพื่อระบายน้ำ ซึ่งมีมากเกินความต้องการออกจากพื้นที่เพาะปลูก ให้เหลือจำนวนที่พอเหมาะต่อการปลูกพืชเท่านั้น เพื่อพืชที่ปลูกจะได้เจริญงอกงามและให้ผลผลิตสูง
พื้นที่ในภูมิภาคที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ในเขตโครงการชลประทานที่ไม่มีระบบระบายน้ำ มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการมีน้ำมาก แล้วไม่สามารถระบายออกไปได้ทันตามเวลาที่ต้องการ จนเป็นเหตุให้น้ำฝนหรือน้ำชลประทานขังอยู่บนผิวดินหรือซึมลงไปในดิน ทำให้มีระดับน้ำใต้ผิวดินสูงใกล้ผิวดินหรือท่วมเข้าไปในเขตรากพืช รากของพืชไร่เมื่อต้องแช่น้ำอยู่นานจะเน่า และทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูก
งานระบายน้ำจะก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ซึ่งมีน้ำมากเกินไปเพื่อทำหน้าที่ควบคุมน้ำในบริเวณพื้นที่ซึ่งใช้เพาะปลูก ให้มีจำนวนที่พอเหมาะกับความต้องการของพืช เช่น พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะต้องการระบบระบายน้ำควบคู่กันไปกับระบบส่งน้ำด้วย เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้จะต้องได้รับน้ำชลประทานเพิ่มเติมนอกเหนือจากฝนอยู่เสมอ จึงมักจะมีน้ำเหลือจากความต้องการของพืชขังอยู่บนผิวดิน หรือซึมลงไปในดิน จนทำให้ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นได้ หรือพื้นที่บางแห่งซึ่งเป็นที่ลุ่ม มีน้ำขังอยู่ตามธรรมชาติตลอดเวลา เมื่อได้สร้างระบบระบายน้ำแล้ว ก็จะช่วยให้พื้นที่ดังกล่าวนั้นไม่มีน้ำขัง และลดระดับน้ำใต้ผิวดินให้อยู่ในระดับต่ำ จนสามารถใช้พื้นที่แห่งนั้นทำการเพาะปลูกพืชต่างๆได้
การระบายน้ำนอกจากจะสามารถควบคุมปริมาณน้ำของพื้นที่เพาะปลูกไม่ให้มีมากเกินไป เพื่อประโยชน์ต่อการปลูกพืชแล้ว ยังจะช่วยปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งมีเกลือสะสมอยู่มากจนไม่สามารถปลูกพืชทั่วไปได้ให้มีสภาพดีขึ้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ พื้นที่แถบชายทะเล และพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยน้ำที่ระบายออกไปจากพื้นที่เพาะปลูกนั้น จะนำเกลือทั้งที่อยู่บนผิวดินและในดินออกไปจากพื้นที่เพาะปลูกด้วยนอกจากนี้ เมื่อระบบระบายน้ำสามารถควบคุมระดับน้ำใต้ผิวดินให้อยู่ลึกลงไป จากผิวดินได้ตลอดเวลาแล้ว ยังป้องกันเกลือไม่ให้ถูกน้ำพาขึ้นมาสะสมอยู่ในเขตรากพืชอีกด้วยเช่นกัน
หมายถึง การระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำใต้ผิวดินให้ต่ำกว่าผิวดินตามต้องการ โดยที่ระดับน้ำใต้ผิวดินจะไม่สูงจนท่วมรากพืช และให้อยู่ต่ำกว่าผิวดิน ในระดับที่จะไม่สามารถชักนำเกลือที่อาจจะมีอยู่ในดินนั้นขึ้นมาสะสมไว้ในเขตรากพืช และในบริเวณใกล้ผิวดินอีกด้วย
ปกติรากของต้นไม้และพืชไร่ที่หยั่งลึกลงในดินจะต้องการน้ำในดินซึ่งมีสภาพไม่อิ่มตัว คือ มีอากาศอยู่ในช่องว่างของดินด้วย ถ้าคราวใดมีฝนตกมาก หรือมีการให้น้ำชลประทานแก่พื้นที่เพาะปลูกมากเกินไป จะทำให้มีน้ำเหลืออยู่จำนวนหนึ่งซึ่งไม่สามารถเกาะรอบเม็ดดิน และอยู่ในช่องว่างของดินได้ ก็จะไหลผ่านลงตามแนวดิ่งด้วยแรงดึงดูดของโลก ลงสู่ระดับน้ำใต้ผิวดินที่อยู่เบื้องล่าง เป็นเหตุให้ระดับน้ำใต้ผิวดินเพิ่มสูงขึ้น เมื่อระดับน้ำสูงท่วมรากพืชหรือใกล้ผิวดิน รากพืชจะแช่น้ำ และขาดอากาศในดิน ทำให้รากเน่า พืชจึงไม่เจริญงอกงามและออกดอกออกผลตามต้องการ หรือพืชอาจตายในที่สุด
ปัญหาของการมีระดับน้ำใต้ผิวดินสูงใกล้ผิวดินนั้น มักจะเกิดขึ้นแก่พื้นที่เพาะปลูกได้เสมอ โดยไม่จำกัดว่า พื้นที่นั้นจะมีดินเป็นดินทราย ดินเหนียวปนทราย หรือดินเหนียว และไม่ว่าพื้นที่ดังกล่าว จะมีลักษณะภูมิประเทศแบนราบหรือเอียงลาดเพียงใด ถ้าหากว่า พื้นที่นั้นๆ อยู่ในภูมิภาคที่มีฝนตกชุกหรืออยู่ในเขตโครงการชลประทาน ที่มีน้ำชลประทานอุดมสมบูรณ์แต่มีความสามารถในการระบายน้ำใต้ผิวดินได้เองตามธรรมชาติไม่เพียงพอ หรือไม่สมดุลกับจำนวนน้ำที่เหลือเกินความต้องการ
งานระบายน้ำใต้ผิวดินที่นิยมสร้างกันทั่วไปมีอยู่ ๒ ประเภทคือ ประเภทหนึ่งจะสร้างด้วยคูหรือคลองระบายน้ำ สำหรับนำน้ำทิ้งไปจากพื้นที่เพาะปลูก โดยน้ำที่ไหลในคลองระบายน้ำซึ่งมีระดับต่ำตลอดเวลา จะดึงน้ำในดินจากพื้นที่สองฟากของคลองให้ไหลลงมา แล้วรวบรวมทิ้งไป ระดับน้ำใต้ผิวดินก็จะลดต่ำลงได้ตามที่ต้องการ อีกประเภทหนึ่ง จะสร้างด้วยท่อคอนกรีตท่อนสั้นๆวางชิดกันโดยไม่ปิดรอยต่อ ฝังอยู่ในดินที่ต่ำกว่าผิวดิน ซึ่งเมื่อน้ำในท่อถูกระบายทิ้งไป ก็จะดึงระดับน้ำใต้ผิวดินทั่วทั้งบริเวณนั้นให้ต่ำลงมาได้เช่นกัน
ตามที่ต้องการมีอยู่ ๒ วิธี เช่นเดียวกับการระบายน้ำบนผิวดินกล่าวคือ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีส่วนลาดเทลงไปยังพื้นที่ราบลุ่ม มักจะมีระดับน้ำใต้ดินไหลเอียงไปตามความลาดเทของภูมิประเทศแล้วไหลออกสู่พื้นที่ราบลุ่มตอนล่าง โดยมากจะสร้างคูหรือคลองระบายน้ำไปตามแนวเชิงลาด เพื่อดักน้ำที่ไหลลงมาทิ้งไป ก่อนที่จะให้น้ำไหลลงไปขังแฉะในพื้นที่ทางตอนล่างนั้น ทำให้ระดับน้ำใต้ผิวดินหลังแนวคู และคลองระบายน้ำลดต่ำลง ส่วนพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบ ซึ่งมักจะมีน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นในแนวดิ่ง จะนิยมสร้างคูและคลองระบายน้ำ หรือท่อระบายน้ำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ห่างกันเป็นระยะๆทั่วพื้นที่เหล่านั้น คูและคลองระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำ จะรับน้ำในดินนำทิ้งไปจากพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ระดับน้ำใต้ผิวดินของพื้นที่บริเวณนั้นลดต่ำลงได้ จากนั้นระดับน้ำใต้ผิวดินนี้ ก็จะถูกควบคุมไว้ให้อยู่ในระดับต่ำจากผิวดินตามที่ต้องการได้ตลอดไปอีกด้วย
การระบายน้ำ, การระบายน้ำ หมายถึง, การระบายน้ำ คือ, การระบายน้ำ ความหมาย, การระบายน้ำ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!