การปั่นทอผ้าฝ้าย
การปั่นทอผ้าฝ้าย, การปั่นทอผ้าฝ้าย หมายถึง, การปั่นทอผ้าฝ้าย คือ, การปั่นทอผ้าฝ้าย ความหมาย, การปั่นทอผ้าฝ้าย คืออะไร
ก่อนที่จะป้อนปุยฝ้ายเข้าเครื่องจักรปั่นด้าย จำเป็นจะต้องทราบคุณลักษณะบางประการของเส้นใยฝ้าย เพื่อใช้ในการตั้งเครื่องจักรปั่นด้าย และเพื่อจะให้ได้เส้นด้ายมีขนาดตามความต้องการ ลักษณะสำคัญที่จำเป็นจะต้องทราบ ได้แก่ ความยาวของเส้นใย มีความสำคัญในการตั้งช่วงกว้างของลูกกลิ้งแต่ละคู่ ของเครื่องรีดเส้นใยฝ้าย (draw frame) ถ้าช่วงกว้างของลูกกลิ้งไม่เหมาะสม จะทำให้การปั่นด้ายมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนความเหนียวของเส้นใยก็มีความสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางชี้ให้ทราบว่าเส้นใยเหนียวเท่าใด ควรจะปั่นด้ายเบอร์อะไรได้ ความเหนียวของเส้นใยนี้มักจะเกี่ยวข้องกับความยาวเสมอ เส้นใยยิ่งยาวมาก จะยิ่งมีความเหนียวมากและมีความละเอียดมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น ฝ้ายอินเดียส่วนมากจะเป็นพวกเส้นใยสั้น หยาบ และมีความเหนียวต่ำ เมื่อนำมาปั่นเป็นเส้นด้ายจะปั่นได้เบอร์ต่ำ ฝ้ายอียิปต์เป็นฝ้ายที่มีเส้นใยยาวละเอียด และมีความเหนียวของเส้นใยสูง สามารถที่จะปั่นด้ายเบอร์สูง ๆ ขึ้นไปได้
สิ่งแรกที่นักปั่นด้ายมุ่งสนใจเพื่อเป็นแนวทางในการปั่นด้าย คือ ความยาวของเส้นใย ซึ่งพอจะบอกได้อย่างหยาบ ๆ ดังนี้
ด้ายเบอร์ ๔๐ ควรใช้ฝ้ายใยยาวประมาณ ๑ ๓๓๒ - ๑ ๓๘ นิ้ว ซึ่งส่วนมากใช้ฝ้ายอเมริกันอัพแลนด์ ฝ้ายแอฟริกาและฝ้ายอียิปต์เกรดต่ำ
ด้ายเบอร์ ๒๐ ควรใช้ฝ้ายเส้นใยยาวประมาณ ๑๕๑๖- ๑ ๓๑๖นิ้ว ส่วนมากเป็นฝ้ายอเมริกัน อินเดียและปากีสถาน
ด้ายเบอร์ ๑๐ ควรใช้ฝ้ายเส้นใยยาวประมาณ ๒๓๓๒ - ๒๗๓๒ นิ้ว มักจะเป็นฝ้ายอินเดียำ
ในสมัยโบราณใช้ปั่นด้ายด้วยมือ มีการปั่นด้ายโดยใช้เครื่องจักรเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๒๗๓ การเปลี่ยนแปลงในด้านโรงงานของประเทศอังกฤษนี้ เป็นแนวทางสำคัญที่ปฏิบัติกันมาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย เรียกว่า โอเพนเอ็นสปินนิง (open end spinning) ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใหม่ล่าสุด เครื่องจักรชนิดนี้ใช้แรงงานน้อยที่สุด และใช้เนื้อที่น้อยด้วย ปัจจุบันนี้ในเมืองไทยได้สั่งเครื่องจักรชนิดนี้มาใช้บ้างแล้ว
โรงงานปั่นด้าย ซื้อฝ้ายมาในลักษณะเป็นเบล ขบวนการปั่นด้ายเริ่มจากการป้อนเบลฝ้ายเข้าเครื่องจักร ฝ้ายแต่ละเบลจะถูกคลี่ออกและผสมให้เข้ากัน จากนั้นฝ้ายจะผ่านเข้าเครื่องทำความสะอาด โดยใช้ลมเป่าและตีให้เส้นใยผสมเข้าด้วยกัน เส้นใยสั้น ๆ และสิ่งสกปรกจะถูกแยกออกมา ฝ้ายที่ผสมกันดีและทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว จะถูกดูดผ่านไปยังเครื่องสางเส้นใย (card) เครื่องสางเส้นใยนี้จะทำความสะอาดเส้นใยอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งทำให้เส้นใยแต่ละเส้นแยกออกจากกัน ขั้นต่อไปนำเส้นใยที่สางเรียบร้อยแล้ว ไปผ่านเครื่องรีด (draw frame) เครื่องรีดนี้จะรีดเส้นใยให้ออกมาในลักษณะเหยียดตรง ขนานกันออกมา คล้ายเส้นเชือกที่ไม่มีเกลียว เรียกว่า สไลเวอร์ (sliver) จากนั้นนำสไลเวอร์ผ่านเข้าเครื่องโรวิง (roving) เพื่อเป็นการลดจำนวนเส้นใยให้น้อยลง พร้อมทั้งทำให้เส้นใยที่ผ่านเครื่องจักรออกมามีเกลียวเล็กน้อยคล้ายเชือก แล้วนำเชือกที่มีเกลียวเล็กน้อยนี้ไปเข้าเครื่องจักรปั่นด้าย ทำการปั่นด้ายตามความต้องการ สิ่งสำคัญในการปั่นด้ายอีกอย่าง คือ จำนวนเกลียวบนเส้นด้าย จะต้องให้เหมาะสมกับขนาดของเส้นด้าย ถ้าใช้เกลียวมากเกินไป นอกจากจะทำให้ได้ผลิตผลน้อยแล้ว บางครั้งอาจจะทำให้เส้นด้ายขาด ถ้าเกลียวน้อยเกินไป จะทำให้ความเหนียวของเส้นด้ายต่ำ เวลาปั่นเป็นเส้นด้ายจะขาดง่าย ทำให้เสียเวลาและได้ผลิตผลน้อยเช่นเดียวกัน
การทอผ้าในสมัยโบราณนั้น ใช้ทอด้วยมือเช่นเดียวกับการปั่นด้าย ได้มีการคิดค้นเครื่องจักรทอผ้า ซึ่งใช้หลักการเช่นเดียวกับแบบแรกเริ่มที่ทอด้วยมือ แต่การทอด้วยเครื่องจักรนี้ ทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น การทอผ้านี้ จะแบ่งส่วนด้ายออกเป็น ๒ พวก คือ เส้นตั้ง และเส้นขวาง ผ้าที่ทอเสร็จแล้ว เรียกว่า "ผ้าดิบ" จะถูกส่งไปทำความสะอาด โดยใช้สารเคมีเพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่ติดมากับผ้า เช่น เศษใบและเศษขยะต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำไปฟอกให้ขาว เพื่อประโยชน์ในการย้อมสีหรือพิมพ์ผ้า จะได้สีหรือลวดลายที่สดใสเป็นที่ดึงดูดใจของลูกค้า นอกจากนั้นยังมีขบวนการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงผ้าให้ดีและเหมาะสมกับสภาพที่ใช้ เช่น ผ่านสารเคมี เพื่อป้องกันการยืดหดของผ้า ในกรณีที่ต้องการผ้าไปทำเครื่องกันฝน จะมีการเคลือบผ้าด้วยยาง
ปัจจุบันได้มีการคิดค้นทำเส้นใยเทียมขึ้นมา และใช้กันแพร่หลายทั่วโลก เส้นใยเทียมบางชนิดมีคุณสมบัติคล้ายเส้นใยฝ้ายมาก เรื่องนี้สร้างความวิตกให้กับวงการฝ้ายไม่น้อย เนื่องจากการปลูกฝ้ายต้องอาศัยสภาพดินฟ้าอากาศ และมีปัญหาโรคและแมลงอีกมากมาย ผลิตผลที่ได้มักจะมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ แต่สำหรับเส้นใยเทียมนั้น สามารถที่จะผลิตให้ได้คุณสมบัติ ตามความต้องการ ทั้งในด้านความยาว ความเหนียวและความละเอียด ปัจจุบันนี้ ได้มีการใช้เส้นใยเทียมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งใช้เส้นใยเทียมล้วน ๆ บางครั้งก็ผสมกับฝ้าย เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามความต้องการ
(ดูเพิ่มเติม เรื่อง วัชพืช)
การปั่นทอผ้าฝ้าย, การปั่นทอผ้าฝ้าย หมายถึง, การปั่นทอผ้าฝ้าย คือ, การปั่นทอผ้าฝ้าย ความหมาย, การปั่นทอผ้าฝ้าย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!