โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด
โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด, โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด หมายถึง, โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด คือ, โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด ความหมาย, โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด คืออะไร
ในปัจจุบันได้มีการตื่นตัวเป็นอย่างมากในเรื่องที่เกี่ยวกับอิทธิพลของแสงแดดที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผิวหนังเป็นด่านแรกของร่างกายที่จะปะทะหรือรับกับแสงแดด และประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนที่ต้องรับแสงแดดมากกว่าประเทศอื่น แต่เคราะห์ดีที่คนไทยมีผิวคล้ำจึงมีการต้านทานหรือทนต่อฃแสงแดดได้ดีกว่าผู้ที่มีผิวขาว
แสงแดด (จำนวนของรังสีอัลตราไวโอเลตที่จะเป็นอันตราย) จะทำให้เกิดอันตรายได้มากในภูมิประเทศที่อยู่ในละติจูดต่ำ และไม่ว่าจะอยู่ในละติจูดใดก็ตาม เวลาที่จะเกิดอันตรายมากที่สุดคือกลางฤดูร้อนระหว่าง ๑๐.๐๐-๑๔.๐๐ น. นอกเหนือไปจากปัจจัยอื่นๆ ในสภาวะแวดล้อม เช่น หาดทราย และพื้น หรือสิ่งก่อสร้างที่เป็นคอนกรีต อันเป็นสิ่งสะท้อนแสง เป็นต้น
ปฏิกิริยาไวเกินต่อแสงแดด (photosensitivity reaction) เป็นการตอบโต้ที่ผิดปกติของผิวหนังที่มีต่อแสงแดดหรือแสงอื่นๆ อาจจัดออกไปได้เป็น ๒ ชนิดด้วยกันคือ
๑. ภาวะไวเกินต่อแสงเนื่องจากสาเหตุภายนอกร่างกาย เช่น จากยา หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มาสัมผัส
ผิวหนัง หรือโดยทางอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกร่างกายภาวะเหล่านี้ ได้แก่ แสงเป็นพิษ และการแพ้แสง
ก. แสงเป็นพิษ อาการที่เกิดแสงแดดเป็นพิษขึ้นนี้ หมายถึงกรณีที่ถูกแสงแดดไหม้อย่างรุนแรงเกินควรเนื่องจากสารเคมีบางชนิด เช่น พวกยาซัลโฟนาไมด์ และกริซีโอฟุลวิน (griseofulvin) สีบางชนิด เช่น อะคริดิน (acridin) และอีโอซิน (eosin)เป็นปัจจัยสำคัญ
เมื่อผิวหนังถูกแสงแดดที่แรงๆ เข้า ก็จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน อักเสบแดง บวม หรือเป็นตุ่มพองน้ำ หรือเริ่มเป็นผื่นคล้ายลมพิษภายใน ๒-๖ ชั่วโมง
การอักเสบนี้จะทุเลาลงใน ๒-๔ วัน ทำให้ผิวหนังสีคล้ำขึ้นและลอกออก บางรายจะเกิดมีอาการรุนแรงที่สุดประมาณ ๔๘ ชั่วโมง โดยผิวหนังบวมแดงและมีตุ่มพองน้ำ แต่ไม่มีอาการปวดแสบปวดร้อน รวดเร็วเหมือนในรายที่เป็นชนิดเฉียบพลัน ปกติจะมีอาการภายหลัง ๒๔ ชั่วโมงไปแล้ว และจะเจ็บอยู่เฉพาะบริเวณที่อักเสบเท่านั้น
อาการต่างๆ มักจะทุเลาลงภายหลังใน ๗-๑๔ วัน โดยผิวหนังจะคล้ำและลอกออกเล็กน้อย
ข. การแพ้แสง ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะเกิดอาการแพ้แสงขึ้น ภายหลังได้สัมผัสกับสารเคมีบางชนิดที่มีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังไวต่อแสงมาก่อน เช่น สารเคมีที่มีอยู่ในสบู่และเครื่องสำอางนับเป็นปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่สัมพันธ์กับเซลล์ เช่นเดียวกับภาวะไวเกินในผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสธรรมดา และแตกต่างกับในรายของแสงเป็นพิษ ซึ่งในการแพ้นี้อาจเกิดขึ้นโดยพลังงานจากแสงแดดที่น้อยกว่ามากมาย
อาการแรกเริ่มทีเดียวคือคันมาก และผิวหนังอักเสบแบบเอ็กซีมา ภายใน ๒๔-๔๘ ชั่วโมง หลังจากสัมผัสกับสารเคมีและได้ถูกแดดแล้ว ผิวหนังที่อยู่ในร่มผ้าก็อาจมีการอักเสบด้วย เนื่องจากแสงอัลตร้าไวโอเลตมีขนาดคลื่นยาว สามารถจะผ่านเสื้อผ้าเข้าไปถึงผิวหนังได้
การอักเสบจะมีมากที่สุดใน ๗๒ ชั่วโมง และค่อยๆ ทุเลาลงใน ๑๐-๑๔ วันแต่ในบางรายอาจเป็นอยู่นานกว่านี้ก็ได้ เพราะผู้ป่วยยังได้รับการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นต้นเหตุอยู่เรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว
๒. ภาวะไวเกินต่อแสงเนื่องจากสาเหตุภายในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี เมแทบอลิซึม ฮอร์โมน เอนไซม์ อิมมูโนโลจี กรรมพันธุ์การอักเสบติดเชื้อ และเหตุอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย
หรือเกิดจากพยาธิสภาพที่ผิวหนังซึ่งเป็นผลมาจากโรคหรือความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกาย เช่น โรคลูพัสเอรีทีมาโทซัส (lupus erythematosus) และพอร์ฟีเรีย (porphyria) ซึ่งมิใช่โรคธรรมดาสามัญจึงมิได้นำมากล่าวโดยละเอียด ณ ที่นี้
แม้ว่าโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสดงแดดนี้จะมีสาเหตุหลายอย่าง แต่สาเหตุที่สำคัญคือ แสงอัลตราไวโอเลตในขนาดคลื่น ๒๙๐-๓๒๐ นาโนมิเตอร์ และแสงที่เห็นได้ขนาดคลื่นยาว ๓๒๐-๗๐๐ นาโนมิเตอร์
(ดูเพิ่มเติมเรื่อง โรคติดต่อและโรคเขตร้อน และ โรคภูมิแพ้)
โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด, โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด หมายถึง, โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด คือ, โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด ความหมาย, โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสงแดด คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!