การเลี้ยงปศุสัตว์
ปศุสัตว์หมายถึงสัตว์เศรษฐกิจที่มนุษย์นำมาเลี้ยงเพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น เพื่อใช้งานและเป็นอาหาร เป็นต้นสัตว์เศรษฐกิจมีทั้งสัตว์สี่เท้า เช่น โค กระบือ ม้า แพะ แกะ สุกร และสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน ไก่งวง เป็นต้น การเลี้ยงสัตว์นับว่าเป็นอาชีพที่ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกร สามารถเลี้ยงเป็นจำนวนมากเพื่อใช้เป็นอาชีพหลัก หรือเลี้ยงจำนวนไม่มากเพื่อเป็นอาชีพเสริมก็ได้
ในโครงการพระราชดำริเกือบทุกโครงการทั่วประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้นำโครงการปศุสัตว์เข้าร่วมด้วยเพราะได้ทรงพิจารณาเห็นว่า การเลี้ยงสัตว์จะมีส่วนสนับสนุนที่สำคัญในการทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น โดยเฉพาะจะเป็นหลักประกันให้เกษตรกรมีรายได้สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว หากทำการเพาะปลูกแล้วไม่ได้ผล หรือได้รับความเสียหายจากภาวะฝนแล้งหรือน้ำท่วม และแม้ว่าจะไม่เป็นรายได้มากนัก แต่ก็ยังพอบรรเทาความเดือดร้อนลงได้ อย่างน้อยก็มีไว้บริโภคในครอบครัว และถ้าเลี้ยงไว้จำนวนมากก็จะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้รับความเพลิดเพลินจากการเจริญเติบโต การให้ลูก และการให้ผลิตผลของสัตว์เลี้ยง เช่น ในส่วนของผู้ที่ทำการเพาะปลูกหรือทำไร่ทำนา จะได้มูลสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน ทำให้ได้รับผลิตผลจากการเพาะปลูกมากขึ้นโดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาใช้
โครงการปศุสัตว์ตามพระราชดำริมีหลายโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ โครงการโคนม โครงการเลี้ยงวัวเนื้อ โครงการเลี้ยงแพะ โครงการเลี้ยงแกะ โครงการเลี้ยงสุกร โครงการเลี้ยงไก่ โครงการเลี้ยงเป็ด โครงการเลี้ยงนกกระทา โครงการเลี้ยงปศุสัตว์กับเกษตรกรยากจน และโครงการเลี้ยงสัตว์กับทหารทุพพลภาพ เป็นต้น
การพัฒนาการเกษตรในชนบท
การพัฒนาการเกษตรในชนบท, การพัฒนาการเกษตรในชนบท หมายถึง, การพัฒนาการเกษตรในชนบท คือ, การพัฒนาการเกษตรในชนบท ความหมาย, การพัฒนาการเกษตรในชนบท คืออะไร
การพัฒนาการเกษตรในชนบท, การพัฒนาการเกษตรในชนบท หมายถึง, การพัฒนาการเกษตรในชนบท คือ, การพัฒนาการเกษตรในชนบท ความหมาย, การพัฒนาการเกษตรในชนบท คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!