ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม, ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม หมายถึง, ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม คือ, ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม ความหมาย, ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม

          วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างยิ่ง  ปัจจุบันวิทยาการของการสำรวจทรัพยากรจากระยะไกล  (รีโมตเซนซิง)  เป็นวิทยาการหนึ่งที่อำนวยประโยชน์มหาศาลแก่มนุษยชาติ  ประเทศต่างๆ ในโลก โดยเฉพาะประเทศที่เจริญทางวิชาการ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา  สหราชอาณาจักร  และออสเตรเลียเป็นต้น ได้นำเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว  ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวแล้ว  และได้ดำเนินการตั้งโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียมขึ้นในปี พ.ศ.  ๒๕๑๔ โดยเริ่มจากการเข้าร่วมโครงการกับนาซาแห่งสหรัฐอเมริกา  ในโครงการดาวเทียมแลนด์แซต  (LANDSAT)  และได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ  มีการขยายขอบเขตการใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมในการจัดการทรัพยากร  และติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม   การดำเนินงานมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์เป็นสำคัญและสาขาที่ได้นำเอาข้อมูลไปใช้แล้ว ได้แก่  ป่าไม้การใช้ที่ดิน  การเกษตร  ธรณีวิทยา สมุทรศาสตร์อุทกวิทยาและแหล่งน้ำ  ภูมิศาสตร์  และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น  สิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ข้อมูลทรัพยากรจากดาวเทียมที่เป็นไปในทางเพิ่มขึ้นก็เนื่องมาจากการที่ประเทศไทยมีสถานีรับข้อมูลภาคพื้นดิน  ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปลายปี  พ.ศ.๒๕๒๔  เพื่อรับข้อมูลโดยตรงจากดาวเทียมแลนด์แซต  (LANDSAT) และโนอา (NOAA) ในตอนเริ่มต้นขอบเขตการรับสัญญาณข้อมูลมีรัศมีกว้างไกลเป็นวงกลม  มีรัศมี ๒,๕๐๐ กิโลเมตร  ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๐ สถานีรับภาคพื้นดินได้พัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นตามลำดับ  ซึ่งขณะนี้สามารถรับสัญญาณข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซตดวงที่    ซึ่งมีรายละเอียดข้อมูล ๓๐ เมตร  X  ๓๐ เมตร  ข้อมูลจากดาวเทียมSPOT ของฝรั่งเศส  ซึ่งมีรายละเอียดของภาพ๒๐ เมตร X ๒๐ เมตร ในภาพสี และ ๑๐ เมตร X ๑๐ เมตร   ในภาพขาวดำ  นอกจากนี้สถานีรับฯ  ยังรับสัญญาณจากดาวเทียม MOS-๑ ของญี่ปุ่น ซึ่งมีรายละเอียดข้อมูล ๕๐ เมตร X ๕๐เมตร  และในขณะนี้สถานีรับฯ  กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้เพิ่มขีดความสามารถในการรับ-สัญญาณจากดาวเทียม  ERS-๑ ขององค์การอวกาศแห่งยุโรป (ESA) ได้อีกด้วย  ซึ่งดาวเทียมนี้จะมีเครื่องบันทึกสัญญาณแบบไมโครเวฟ(microwave) ด้วย

ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม, ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม หมายถึง, ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม คือ, ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม ความหมาย, ความเป็นมาของการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 16

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu