ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การแต่งกายของสตรี, การแต่งกายของสตรี หมายถึง, การแต่งกายของสตรี คือ, การแต่งกายของสตรี ความหมาย, การแต่งกายของสตรี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การแต่งกายของสตรี

          ส่วนการแต่งกายของสตรีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการแต่งกายของผู้ชาย โดยเฉพาะข้าราชการฝ่ายในต้องแต่งกายตามพระราชนิยม เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ฝ่ายในนุ่งจีบ พอถึงรัชกาลที่ ๔ เปลี่ยนเป็นนุ่งโจง ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็มีทั้งนุ่งจีบและนุ่งโจง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ถึงเครื่องแต่งตัวผู้หญิงไว้ว่า "เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จกลับมาจากสิงคโปร์มิได้โปรดให้แก้อย่างไร นางในยังคงนุ่งจีบและห่มแพรสไบเฉียงกันตัวเปล่าอยู่อย่างเดิม จนถึงงานบรมราชาภิเษกครั้งหลัง พ.ศ. ๒๔๑๖ จึงดำรัสสั่งให้เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวผู้หญิงเป็นแบบใหม่ คือให้คงแบบนุ่งจีบอย่างเดิมไว้แต่สำหรับแต่งกับห่มตาดเมื่อเต็มยศใหญ่ โดยปรกติให้เลิกนุ่งจีบเปลี่ยนเป็นนุ่งโจงอย่างเดิม และให้ใส่เสื้อแขนยาว ชายเสื้อเพียงบั้นเอว แล้วห่มแพรสไบเฉียงบ่านอกเสื้อเป็นต้น"

          หลังจาก พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว ผู้หญิงก็ยังคงนิยมนุ่งโจงกันอยู่โดยมากจนถึงสมัยรัฐนิยมดังกล่าวนายกรัฐมนตรีจึงขอให้สตรีไทยเปลี่ยนแปลงการแต่งกายใหม่รวม ๓ ข้อ คือ

          ๑. ขอให้สตรีไทยทุกคนไว้ผมยาวตามประเพณีนิยมในสมัยโบราณหรือไว้ผมยาวตามสมัยนิยม (พ.ศ. ๒๔๘๔)

          ๒. ขอให้สตรีไทยทุกคนเลิกการใช้ผ้าโจงกระเบน เปลี่ยนเป็นการนุ่งผ้าถุงอย่างสมัยโบราณหรือตามสมัย

          ๓. ขอให้สตรีไทยทุกคน เลิกใช้ผ้าผืนเดียวปกปิดท่อนบน คือ ไม่ใช้ผ้าคาดอกหรือปล่อยเปลือยกายท่อนบน ให้ใช้เสื้อแทน

          ต่อมาสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้พิจารณาปรับปรุง และวางหลักในการแต่งกายขึ้นเมื่อ     พ.ศ. ๒๔๙๗ มีทั้งแบบเครื่องเต็มยศ เครื่องครึ่งยศ เครื่องแบบปกติเครื่องราตรีสโมสร เครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ เครื่องแต่งกายธรรมดา เครื่องแต่งกายแบบไทย และเครื่องแต่งกายแบบสากล

          ในปัจจุบัน การแต่งกายของสตรีไทยได้นิยมตามแบบที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารในพระองค์ แสดงแบบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๐๗ ณ เวทีสวนอัมพรในโอกาสครบรอบร้อยปีของกาชาดสากล และนิยมเรียกกันว่า ชุดไทยตามพระราชนิยม ต่อมาได้เพิ่มเติมขึ้นมีทั้งหมด ๘ แบบ ดังรายชื่อต่อไปนี้

           ๑. แบบไทยเรือนต้น
           ๒. แบบไทยจิตรลดา
           ๓. แบบไทยอมรินทร์
           ๔. แบบไทยบรมพิมาน
           ๕. แบบไทยจักรี
           ๖. แบบไทยดุสิต
           ๗. แบบไทยจักรพรรดิ
           ๘. แบบไทยศิวาลัย

การแต่งกายของสตรี, การแต่งกายของสตรี หมายถึง, การแต่งกายของสตรี คือ, การแต่งกายของสตรี ความหมาย, การแต่งกายของสตรี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 18

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu