การระวังรักษาอนามัยของลูกนก
การระวังรักษาอนามัยของลูกนก, การระวังรักษาอนามัยของลูกนก หมายถึง, การระวังรักษาอนามัยของลูกนก คือ, การระวังรักษาอนามัยของลูกนก ความหมาย, การระวังรักษาอนามัยของลูกนก คืออะไร
เมื่อลูกนกแตกออกมาจากไข่ พ่อนกและแม่นกต่างก็ช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อนตามกฎของธรรมชาติ เมื่อลูกนกกินอาหารเข้าไปก็ย่อมมีการถ่ายของเสียออกมา ของเสียของลูกนกนั้นแปลกและแตกต่างจากพ่อแม่นก คือ มันถ่ายออกมาเป็นถุงขาวๆ แข็งแต่นิ่มเพื่อเป็นการรักษาความสะอาดของรัง พ่อนก แม่นกจะคาบถุงนี้ออกมาจากก้นของลูกนกเลยทีเดียว แล้วนำออกไปทิ้งให้ห่างจากรัง แต่ก็มีบางครั้งที่พ่อนกและแม่นกจะกินถุงถ่ายเหล่านั้น ลูกนกจะถ่ายมากน้อย ขึ้นกับปริมาณอาหารที่ถูกป้อน ที่น่าสังเกตก็คือ เมื่อลูกนกโตมากขึ้น พ่อแม่ก็จะคาบถุงถ่ายไปทิ้งน้อยลงไปตามลำดับ มีนกหลายชนิด เช่น นกการางหัวขวาน (hoopoes) นกหัวขวาน(wood pecker) ต่างๆ ซึ่งขุดรูทำรัง เป็นต้น มิได้คาบถุงถ่ายของลูกนกไปทิ้งนอกรัง คงปล่อยให้เลอะเทอะส่งกลิ่นเหม็น
ตามปกติ ประชาชนในแถบบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเข้าใจกันว่า นกเงือกซึ่งทำรัง วางไข่ กกไข่ ในโพรงไม้นั้น ตัวผู้เป็นตัวกกไข่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ได้มีนักธรรมชาติวิทยาหลายคนสนใจกับข้อมูลอันนี้ ได้ทำการสำรวจอย่างละเอียด และได้พบความจริงว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนในถิ่นนี้ผิดไปอย่างสิ้นเชิง ความจริงแล้ว นักธรรมชาติวิทยาได้พบว่า นกเงือกตัวเมียเท่านั้นที่เข้าทำรัง วางไข่ กกไข่ โดยตัวเมียจะเข้าไปนั่งอยู่ในโพรงไม้ โดยการเจาะโพรงไม้เป็นรูก่อนวางไข่ ๒-๓ วัน แล้วปิดปากโพรงด้วยขี้ของมันเอง ผสมด้วยขุยไม้ที่นกพยายามขุดโดยใช้ปากและเท้า ออกมาจากต้นไม้ขี้ของนกชนิดนี้จะเหนียวคล้ายกาว และพอแห้งก็จะแข็งคล้ายซีเมนต์ แม่นกจะใช้เวลา ๒-๓ วันแรก เข้าไปนั่งทำรังในโพรงเช่นนี้ โดยมีตัวผู้ช่วยอยู่ข้างนอก ตัวผู้จะช่วยปิดปากโพรงโดยใช้ดินเหนียวมาพอก ใช้หงอนของนกที่แข็งมาก และแบน ลูบไล้ไปมาคล้ายช่างปูนใช้เกรียงละเลงปูน พอพอกปากโพรงเสร็จก็จะเหลือรูเล็กๆ กว้างประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร และยาวราวๆ ๗-๑๐ เซนติเมตร ตอนนี้แม่นกก็ถูกขังอยู่ในโพรงและเริ่มต้นวางไข่ กกไข่โดยมีตัวผู้คอยบินหาอาหารมาป้อนแม่นกในโพรง จนกว่าลูกนกจะออกจากไข่และพร้อมที่จะบินออกไปหากินได้ ในระหว่างที่อยู่ในโพรงไม้นั้น แม่นกจะคาบเอาขี้ของตัวเองและของลูกนกทิ้งออกมานอกรังผ่านรูเล็กๆ เหล่านี้ทุกวันเวลารับอาหารจากตัวผู้ ตัวเมียจะโผล่เฉพาะจะงอยปากออกมารับอาหารเท่านั้น ในระยะนี้ตัวเมียจะอ้วนท้วนมากขึ้นและสกปรกมากขึ้น เมื่อออกจากโพรงไม้ได้ ตัวเมียแทบจะบินไม่ไหวในวันแรกๆ
หรือเรียกสั้นๆ กันว่า นกเจ้าฟ้าหรือที่ชาวบ้านในบริเวณบึงบอระเพ็ด นครสวรรค์ เรียกกันว่า นกตาพอง นั้น เป็นนกชนิดเดียวในโลกที่ค้นพบและตั้งชื่อตามหลักสัตวศาสตร์โดยคนไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑นี้เอง
นกเจ้าฟ้าเป็นนกนางแอ่นขนาดใหญ่ พบปะปนกับพวกนกนางแอ่นอื่นๆ และนกเล็กๆ อีก ๒-๓ ชนิด เกาะอาศัยตามยอดหญ้า กอสวะในบึงบอระเพ็ด
ในปัจจุบัน เรายังไม่ทราบรายละเอียดมากมายนักเกี่ยวกับนิสัยของนกชนิดนี้ นอกเสียจากว่าญาติพี่น้องของนกเจ้าฟ้านั้นอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศคองโก ทำรังโดยขุดรูอยู่ตามเกาะแก่งกลางลำน้ำกว้างๆ และอพยพเป็นระยะทางกว่า ๘๐๐กิโลเมตรในฤดูหนาว
นกเจ้าฟ้านี้ ผู้ตั้งชื่อได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตนำพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเทพรัตนสุดาฯมาเป็นชื่อของนกตัวนี้ ซึ่งนับว่าเป็นนกไทยชนิดเดียวที่ได้รับเกียรติเช่นนี้ โดยชื่อทางหลักภาษาสัตวศาสตร์ว่า Pseudochelidon sirin-tarae
อย่างไรก็ตามนกเจ้าฟ้าของเรา มีลักษณะภายนอกแตกต่างจาก Pseudochelidon eurystomina ซึ่งเป็นวงศาคณาญาติของนกเจ้าฟ้า แต่อาศัยอยู่ในประเทศคองโก ทวีปแอฟริกามากมาย จนปราชญ์ทางนกหลายคนมีความเห็นว่าควรจะแยกสกุลออกมาใหม่ เป็นอีกสกุลต่างหาก แต่บางคนก็ไม่เห็นด้วยและมีความเห็นว่าควรจัดรวมไว้ในสกุลเดิมนี้ไปก่อน จนกว่าจะหาหลักฐานมายืนยันข้อแตกต่างมากกว่านี้เสียก่อน
เท่าที่รู้จักกันในขณะนี้ นกเจ้าฟ้า เป็นนกที่ชอบอยู่เงียบๆ ไม่ใคร่ชอบกระโดดโลดเต้น มักซุกตัวเงียบๆ อยู่ตามมุมกรง กินแมลงเป็นอาหาร ตัวแก่ของนกชนิดนี้จะมีหางคู่กลางยื่นยาวออกมาเป็นหางบ่วงคล้ายนกแซงแซว (แต่นกแซงแซวหางบ่วงนั้นเป็นหางคู่นอก ไม่ใช่คู่กลางอย่างนกเจ้าฟ้า) ตัวอ่อนของนกชนิดนี้จะไม่มีหางบ่วงยื่นยาวออกมา อย่างไรก็ตาม เรายังไม่สามารถจะเรียนรู้อะไรเลยจากนกพันธุ์นี้ ยังไม่ทราบว่าทำรังที่ไหน ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร เป็นนกที่อพยพหรือจะอยู่ตามเกาะแก่งกลางน้ำหรือไม่ หวังว่าคงจะสามารถเรียนรู้ได้ต่อไปในอนาคตนี้
การระวังรักษาอนามัยของลูกนก, การระวังรักษาอนามัยของลูกนก หมายถึง, การระวังรักษาอนามัยของลูกนก คือ, การระวังรักษาอนามัยของลูกนก ความหมาย, การระวังรักษาอนามัยของลูกนก คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!