การตั้งถิ่นฐานในชนบท
การตั้งถิ่นฐานในชนบท, การตั้งถิ่นฐานในชนบท หมายถึง, การตั้งถิ่นฐานในชนบท คือ, การตั้งถิ่นฐานในชนบท ความหมาย, การตั้งถิ่นฐานในชนบท คืออะไร
สำหรับการตั้งถิ่นฐานในชนบทนี้ การวางแผนจะกระทำได้ยาก เนื่องจากบ้านเรือนตั้งกระจาย มีเนื้อที่กว้างขวาง ในประเทศไทย รัฐจัดรูปแบบของการตั้งถิ่นฐานในชนบทเป็นหลายลักษณะหรือเป็นโครงการ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง ๓ ประเภท ได้แก่ การตั้งถิ่นฐานในนิคมสร้างตนเองภาคกลาง การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ การปฏิรูปที่ดินเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในรูปของการวางแผนการตั้งถิ่นฐานในชนบท เป็นการปรับปรุงสิทธิการถือครองที่ดินให้แก่เกษตรกรทั้งปวง รวมทั้งช่วยพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งของการดำเนินงานปฏิรูปที่ดินก็คือ การจัดตั้งโครงการปฏิรูปที่ดินสำเร็จรูปในอำเภอต่าง ๆ ที่ประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โครงการดังกล่าวจะมีบริเวณประมาณ ๑๒,๐๐๐ ไร่ โดยแบ่งเป็นเนื้อที่เกษตรกรรมของสมาชิกโครงการ ๑๐,๐๐๐ไร่ ส่วนอีก ๒,๐๐๐ ไร่ เป็นที่สำหรับสหกรณ์โรงเรียน วัด ตลาด บ้าน สถานีอนามัย โรงสีถนน คลอง คู บ่อน้ำสาธารณะ ตลอดจนป่าไม้ชุมชน และอาจมีสถานที่ที่เก็บรักษาไว้สำหรับใช้เป็นที่เกษตรกรรมในอนาคตอีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า โครงการปฏิรูปที่ดินสำเร็จรูปเปรียบเสมือนการตั้งถิ่นฐานใหม่ในชนบท จังหวัดที่ดำเนินการตามโครงการนี้ เช่น ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี เป็นต้น
การตั้งถิ่นฐานในชนบท, การตั้งถิ่นฐานในชนบท หมายถึง, การตั้งถิ่นฐานในชนบท คือ, การตั้งถิ่นฐานในชนบท ความหมาย, การตั้งถิ่นฐานในชนบท คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!