ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน
ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน, ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน หมายถึง, ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน คือ, ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน ความหมาย, ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน คืออะไร
ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน เป็นประติมากรรมในดินแดนสุวรรณภูมิที่นับว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างไทยเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นราวพุทธ-ศตวรรษที่ ๑๖-๒๑ มีปรากฏแพร่หลายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือของไทย แหล่งสำคัญอยู่ที่เมืองเชียงแสน วัสดุที่นำมาสร้างงานประติมากรรมมีทั้งปูนปั้นและโลหะต่างๆ ที่มีค่าจนถึงทองคำบริสุทธิ์ ประติมากรรมเชียงแสนแบ่งได้เป็น ๒ ยุค คือ เชียงแสนยุคหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยเข้ามาปะปนรูปลักษณะโดยส่วนรวมสะโอดสะองขึ้น ไม่อวบอ้วนบึกบึน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากขึ้น พระ-รัศมีทำเป็นรูปเปลว พระศกทำเป็นเส้นละเอียดและมีไรพระศกเป็นเส้นบางๆ ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี พระพุทธรูปโดยส่วนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดและถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปยุคนี้คือ พระ-พุทธสิหิงค์ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ-สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ พระพุทธรูปเชียงแสนนี้มักหล่อด้วยโลหะทองคำ และสำริด
ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน, ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน หมายถึง, ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน คือ, ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน ความหมาย, ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!