ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เต่าทะเล (Sea Turtle), เต่าทะเล (Sea Turtle) หมายถึง, เต่าทะเล (Sea Turtle) คือ, เต่าทะเล (Sea Turtle) ความหมาย, เต่าทะเล (Sea Turtle) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เต่าทะเล (Sea Turtle)

          เต่าทะเล สัตว์เลื้อยคลานเลือดเย็น ที่มีกระดูกสันหลัง และมีปอดที่ใช้ในการหายใจ ซึ่งเกิดขึ้นในโลกตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มีการดำรงชีวิตในน้ำเป็นส่วนใหญ่ และจะขึ้นบกที่มีหาดทรายเพื่อวางไข่เท่านั้น เต่าทะเลที่พบในโลกมีเพียง 2 วงศ์ รวม 5 สกุล และมีอยู่ 8 ชนิด คือ

         1. เต่ากระ
         2. เต่าตนุ
         3. เต่าตนุหลังแบน
         4. เต่าตนุดำ
         5. เต่าหญ้า
         6. เต่าหญ้าแอตแลนติก
         7. เต่าหัวฆ้อน
         8. เต่ามะเฟือง

          ซึ่งเต่าตนุหลังแบน (Flatback tutle) ไม่ได้รับการบันทึกจาก USDI และ IUCN เนื่องจากพบที่ประเทศออสเตรเลียเพียงประเทศเดียวและยังไม่สามารถพิสูจนได้ ฉะนั้นจึงมีเต่าทะเลที่ได้รับการบันทึกเพียง 7 ชนิดทั่วโลก

          และจากเต่าจำนวน 7 ชนิดทั่วโลก จะสามารถพบได้ที่ประเทศไทยถึง 5 ชนิด นั่นก็คือ

          เต่ามะเฟือง  (Leatherback : Dermochelys coriacea) 
          เต่าตนุ (Green turtle : Chelonia mydas)
          เต่ากระ (Hawksbill : Eretmo chelys imbricate) 
          เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี (Olive ridley : Lepidochelys olivacea)
          เต่าหัวฆ้อน (Loggerhead turtle)(ไม่พบการวางไข่ในประเทศไทย และมีจำนวนน้อยมาก)

          - เต่ามะเฟือง เป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวกระดองประมาณ 2 เมตร น้ำหนัก 600 กิโลกรัม กระดองนุ่มและดูคล้ายกลีบมะเฟือง สีน้ำตาลแก่มีจุดสีขาวและสีน้ำตาล ว่ายน้ำได้ไกลเป็นพันกิโลเมตร กินแมงกะพรุนเป็นอาหาร พบเฉพาะแถบทะเลอันดามัน
          - เต่าตนุ มีขนาดใหญ่รองจากเต่ามะเฟือง ความยาวประมาณ 1.5 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ 200 กิโลกรัม กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร พบทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
          - เต่ากระ มีลักษณะปากงุ้มคล้ายนก เกล็ดซ้อนทับกัน เมื่อโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม กระดองมีสีสันสวยงาม เป็นลายสีเหลือง น้ำตาลและดำ จึงมีผู้นิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับ เต่ากระกินทั้งสัตว์และพืชเป็นอาหาร พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
          - เต่าหญ้า เป็นเต่าที่มีขนาดเล็กที่สุด เมื่อโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 45 กิโลกรัม กระดองดูคล้ายสังกะสี กินทั้งสัตว์และพืชเป็นอาหาร พบบริเวณทะเลเปิด

          เต่าทะเลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและประโยชน์มากมายหลายประการ อีกทั้งเต่าทะเลยังมีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจอีกด้วย และจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้ในปัจจุบัน จำนวนของเต่าทะเลในธรรมชาติได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนอยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ก็ได้หน่วยที่เห็นความสำคัญของเต่าทะเลจึงได้มีการริเริ่มการอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้น

          จึงเชื่อได้แน่ว่าในอนาคตเต่าทะเลจะมีจำนวนมากขึ้นในธรรมชาติและพอเพียงกับความต้องการที่จะนำเต่าทะเลมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่าและประโยชน์ในอยู่คู่โลกเราตลอดไป

          จะเห็นได้จากการแจกแจงเต่าทะเลชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก มีจำนวนทั้งหมด 8 ชนิด แต่ 1 ชนิดไม่ได้รับการบันทึกว่าเป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่งของโลก จึงทำให้เต่าทะเลได้รับการบันทึกว่ามีในโลกเพียง 7 ชนิดเท่านั้น

          แต่ในปัจจุบันมีเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่บนชายหาดไทยเพียง 4 ชนิด ดังที่กล่าวมา ยกเว้นเต่าหัวฆ้อนที่มีการวางไข่ในชายหาดของประเทศไทย

 



วงจรชีวิตของเต่าทะเล

          ในแต่ละปีเต่าทะเลที่โตถึงวัยเจริญพันธุ์จะว่ายน้ำกลับถิ่นกำเนิดเพื่อผสมพันธุ์ ในบริเวณรัศมีไม่เกิน 10 กิโลเมตรจากชายฝั่งทะเลหน้าหาดทรายที่จะใช้เป็นแหล่งวางไข่ และจะว่ายวนเวียนอยู่บริเวณนั้นจนระยะเวลาไข่ในท้องสุก แล้วจึงมุ่งเข้าไปยังหาดทรายเพื่อการวางไข่ การวางไข่องเต่าทะเลนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่เต่าทะเลวางไข่มากที่สุดในอ่าวไทย คือ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม ส่วนทางฝั่งอันดามันพบว่า เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่มากตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม เมื่อเต่าทะเลตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์กับตัวผู้แล้ว ก็จะว่ายน้ำขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายในเวลากลางคืน

          ตามข้อเท็จจริงนั้นเต่าทะเลแต่ละตัวจะขึ้นมาวางไข่ได้หลายครั้ง เมื่อวางไข่ครั้งแรกประมาณ 50-150 ฟองแล้ว ก็จะคลานลงทะเลอาศัยอยู่ในทะเลบริเวณนั้นอีกประมาณ 2 สัปดาห์ จนเชื้อตัวผู้ที่สะสมอยู่ในเต่าทะเลตัวเมียผสมกับไข่ที่เหลือ ก็จะขึ้นมาวางไข่อีก ก่อนวางไข่เต่าทะเลจะเลือกหาดทรายที่มืดและเงียบสงบแล้วจึงขุดหลุม ณ บริเวณที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึงมีความลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร แล้วจึงทำการวางไข่ ไข่ของเต่าทะเลในหลุมจะเพาะพักตามธรรมชาติ คือ อาศัยอุณหภูมิและความชื้นในทรายเป็นเวลาประมาณ 7-12 สัปดาห์ ลูกเต่าทะเลก็จะออกจากไข่ สังเกตได้จากการที่ทรายบริเวณหลุมยุบตัวลงไป ในขั้นตอนนี้ลูกเต่าทะเลจะใช้เวลาอีก 2-3 วัน จึงจะคลานขึ้นถึงปากหลุมในเวลากลางคืน แล้วคลานต่อไปยังผืนน้ำทะเล โดยใช้แสงสะท้อนเส้นขอบฟ้าในทะเลเป็นเครื่องนำทาง เมื่อถึงน้ำทะเลก็จะว่ายออกจากฝั่งไปยังทะเลลึกอย่างสุดชีวิตอีกหลายวัน โดยจะใช้อาหารที่สะสมในตัวเองเป็นแหล่งพลังงาน ลูกเต่าทะเลนี้คาดว่าดำรงชีวิตโดยขึ้นมาหาอาหารพวกแพลงค์ตอน สาหร่าย หรือสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนผิวมหาสมุทร แต่จะมีอาณาเขตการหาอาหารกว้างใหญ่แค่ไหนและข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น ยังเป็นเรื่องที่ลึกลับอยู่

          การศึกษาวงจรชีวิตของเต่าทะเลที่ผ่านมานั้น ส่วนใหญ่ได้ทำการศึกษาจากเต่าทะเลที่มีอายุมากกว่า 5-10 ปี (ขนาดกระดอง 35-40 เซนติเมตร) และพบว่าเต่าทะเลกลุ่มนี้ ยกเว้นเต่ามะเฟืองดำรงชีวิตบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีน้ำตื้น มีพืชและสัตว์หน้าดินสมบูรณ์ โดยเต่าตนุจะกินวัชพืชทะเล หญ้าทะเล และผลไม้ในป่าโกงกางที่ลอยในน้ำ เต่ากระกินฟองน้ำในแหล่งปะการัง เต่าหญ้าจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งในบางครั้งเต่าทะเลข้างต้นก็กินแมงกะกรุนเป็นอาหารด้วย ส่วนเต่ามะเฟือง เป็นเต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลชนิดเดียวที่ดำรงชีวิตในท้องทะเลลึกตลอดชีวิต และกินแมงกะพรุนเป็นอาหาร โดยธรรมชาติศัตรูของเต่าทะเลในท้องทะเล คือ สัตว์ผู้ล่าต่าง ๆ เช่น ปลาฉลาม จระเข้ และปลาวาฬเพชณฆาต อัตราการรอดชีวิตของลูกเต่าทะเลนั้นปรากฎว่ามีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์



การอนุรักษ์เต่าทะเล

          อันเนื่องมาจากจำนวนเต่าทะเลที่ลดน้อยลง ในปี พ.ศ.2512 จึงได้มีการจัดตั้ง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญศึกษาเรื่องเต่าทะเลขึ้น เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของ สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (The World Conservation Union : IUCN)

          ต่อมาในปี พ.ศ.2518 อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention of International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ได้ประกาศให้เต่าทะเลทุกชนิดพันธุ์เป็นสัตว์สงวนในบัญชีที่ 1

          นักวิชาการและนักอนุรักษ์ในประเทศต่าง ๆ ริเริ่มวิธีการต่าง ๆ ที่จะศึกษาให้เข้าใจ ในวิธีการอนุรักษ์และป้องกันการลดจำนวนลงของเต่าทะเล โครงการนำร่องที่ริเริ่มดำเนินการในขั้นตอนแรก คือ การเพาะเลี้ยงและอนุบาล แล้วปล่อยลงทะเลเมื่อเต่าทะเลมีอายุหลายเดือนและแข็งแรงพอ แม้ว่าจะมีการใช้วิธีอนุรักษ์ในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ก็ยังปรากฎว่า จำนวนของเต่าทะเลก็ยังคงลดจำนวนลงอยู่เรื่อย ๆ จนถึงจุดวิกฤติ อันตรายที่เกิดขึ้นนั้น มีเหตุเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นข้อใหญ่ ทั้งจากการกระทำโดยเจตนา และเป็นอุบัติเหตุ เช่น การวางอวน การลักลอบขุดไข่เต่าทะเล เกิดจากมลภาวะ และการสูญเสียแหล่งวางไข่ ดังนั้น วิธีการเพาะเลี้ยงแล้วนำมาอนุบาลก่อนปล่อยนั้น เป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการ สำหรับเต่ามะเฟือง ซึ่งยังต้องมีการศึกษาอีกมาก และที่สำคัญ คือ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของเต่าทะเลทุกชนิดในช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่ในท้องทะเล ส่วนการเพาะเลี้ยงแล้วปล่อยนั้นก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่า สามารถเพิ่มจำนวนการอยู่รอดได้ ปัจจุบันทั่วโลก ยังสนับสนุนโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลที่ปล่อยลูกเต่าทันทีที่ออกจากรัง

          ในประเทศไทย เต่าทะเลมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น ที่บริเวณหาดท้ายเหมือง อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ของเต่ามะเฟืองและเต่าหญ้า ในปี พ.ศ. 2513-2515 มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ปีละมากกว่า 400 รัง แต่ปัจจุบันพบว่า มีเต่ามะเฟืองและเต่าหญ้าขึ้นวางไข่เพียงปีละ 10-40 รังเท่านั้น จะเห็นว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาจำนวนการวางไข่ของเต่าทะเลลดลงถึง 10 เท่า จากรายงานของอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งต่าง ๆ ที่มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ และสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต พบว่า จำนวนการวางไข่ของเต่าทะเลเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ลดจำนวนลง

          สำหรับในพื้นที่อนุรักษ์โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ได้มีกิจกรรมอนุรักษ์เต่าทะเลอย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ มีกิจกรรมป้องกันการลักลอบขโมยขุดไข่เต่าทะเล ควบคู่กับกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ การขอความร่วมมือ และการศึกษาปัจจัยด้านกายภาพต่าง ๆ ไข่เต่าทะเลที่ถูกวางไว้ในที่ห่างไกลการดูแลจะถูกนำเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณเพาะฟักที่ปลอดภัย และง่ายแก่การควบคุมดูแล เมื่อลูกเต่าฟักเป็นตัวก็ปล่อยให้ลงทะเลทันทีตามธรรมชาติ กิจกรรมต่อไป คือ การดูแลรักษาท้องทะเล ชายหาด และแหล่งหญ้าทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์และไม่เปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิมตามธรรมชาติและมุ่งเน้นให้ไม่มีกิจกรรมเคลื่อนย้ายไข่เต่าทะเลไปเพาะฟักอีก แต่จะปล่อยให้เต่าทะเลเพาะฟักตรงจุดที่ขึ้นมาวางไข่ตามธรรมชาติดังเดิม และที่จะละเลยไม่ได้ ก็คือ การบันทึกข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการพัฒนาการอนุรักษ์เต่าทะเลต่อไป

ที่มา www.phangngacity.com
 


เต่าทะเล (Sea Turtle), เต่าทะเล (Sea Turtle) หมายถึง, เต่าทะเล (Sea Turtle) คือ, เต่าทะเล (Sea Turtle) ความหมาย, เต่าทะเล (Sea Turtle) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu