ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย, การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย หมายถึง, การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย คือ, การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย ความหมาย, การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย

          เรื่องการเพาะเลี้ยงเต่าทะเลนี้ จะกล่าวถึงการเลี้ยงเต่าทะเลในด้านการเปรียบเทียบการเพาะฟักไข่ของเต่าตนุด้วยวิธีการต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิที่ใช้ในการเพาะฟักไข่เต่าทะเล กับจำนวนวันทีใช้ในการเพาะฟักไข่เต่าทะเล การอนุบาลเต่าตนุ ปริมาณอาหารที่พอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของเต่าหญ้า การคำนวณหาขนาดความยาวของกระดองในอายุต่างๆ ของเต่าหญ้า การทดลองขนย้ายลูกเต่าทะเลแรกเกิด และพ่อแม่พันธุ์ ดังนี้ คือ


การเพาะเลี้ยงเต่าทะเล

(1) การเพาะฟักโดยวิธีธรรมชาติ

          จะเป็นการเพาะฟักไข่เต่าทะเลจากหลุมที่แม่เต่าได้เลือกและวางไข่ไว้ จะกระทำการโดย เฝ้าดูแม่เต่าขณะที่ขึ้นมาวางไข่ และทำการสังเกตลักษณะของหลุมที่แม่เต่าใช้วางไข่ ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่เจ้าหน้าที่จะสามารถมองเห็นได้สะดวก น้ำทะเลไม่ท่วมถึง และไม่มีศัตรูที่จะมากินไข่ เมื่อได้แล้วจึงนำสุ่ม ครอบปากหลุมเพื่อป้องกันลูกเต่าจะคลานลงทะเลเมื่อออจากไข่ และเพื่อป้องกันศัตรูหรือสัตว์อื่นที่จะมาทำอันตรายต่อไข่เต่าและลูกเต่าทะเล การเพาะฟักโดยวิธีธรรมชาตินี้จำเป็นที่จะต้องมีการคัดเลือหลุมไว้หลายหลุมเพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบกับการเพาะฟักด้วยวิธีอื่น ๆ และในแต่ละวันจะต้องมีการวัดอุณหภูมิตลอดเวลาโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์ชนิดยาวปักลงในหลุมเพาะฟัก และวัดอุณหภูมิของอากาศทุก ๆวัน วันละ 6 ครั้ง คือ 6.00 9.00 12.00 15.00 18.00 และ 21.00 ตามลำดับ และเมื่อลูกเต่าแต่ละหลุมฟักออกเป็นตัวหมดแล้ว ต้องนับจำนวนไข่ที่ไม่ฟักตัว และจำนวนลูกเต่าทั้งหมดที่ได้ เพื่อหาจำนวนไข่ทั้งหมดที่ทำการฟัก

(2) การเพาะฟักโดยวิธีธรรมชาติแต่ใช้การย้ายหลุม

          จะกระทำโดยย้ายหลุมที่แม่เต่าได้เลือกและวางไข่เอาไว้ ไปเพาะฟักในหลุมที่มีการขุดขึ้นใหม่บริเวณ เกาะคราม จังหวัดชลบุรี และที่เกาะมันใน จังหวัดระยอง ซึ่งได้มีการขุดหลุมเตรียมไว้ ขนาดของหลุมขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ที่จะทำการเพาะฟักในแต่ละหลุม แต่ต้องมีขนาดความกว้างไม่กว้างกว่าขนาดของสุ่มที่จะใช้ครอบ เมื่อได้ขนาดหลุมตามที่ต้องการแล้ว จึงนำไข่ที่ได้มาจากหลุมตามธรรมชาติวางเรียงเป็นแถวในหลุมที่ขุดใหม่มีระยะห่าง 2-3 ซม. เมื่อวางเรียงกันเต็มชั้นแรกของก้นหลุมแล้ว ให้เอาทรายกลบให้หนาประมาณ 2-3 ซม. แล้วการเรียงไข่ต่อไปจนหมด และในชั้นสุดท้ายหรือชั้นบนสุดของไข่ในหลุมให้เอาทรายกลบให้หนา 20-30 ซม. จากผิวทรายแล้วเอาสุ่มครอบหลุมเพาะฟักและตลอดเวลาที่ทำการเพาะฟักต้องวัดอุณหภูมิในหลุมและอากาศทุกวันเช่นเดียวกับการเพาะฟักโดยธรรมชาติ

(3) การเพาะฟักในถังโฟม

          เป็นการทำการเพาะฟักไข่เต่าในกล่องโฟมทีมีขนาด กว้าง x ยาว x สูงประมาณ 34.5 x 46.5 x 30 ซม. โดยนำไข่มาใส่เรียงในถังโฟมที่มีทรายอยู่ก้นถังหนาประมาณ 10 ซม. เรียงให้เป็นแถว เว้นระยะไข่ประมาณ 2-3 ซม. จนเต็มก้นกล่องโฟม เอาทรายกลบหนาประมาณ 1-2 ซม. แล้วเรียงชั้นที่ 2 และ 3 เช่นเดียวกับชั้นแรก และเมื่อกลบทรายชั้นที่ 3 ระดับผิวบนทรายจะต้องต่ำกว่าปากถังโฟมประมาณ 10 ซม. เพื่อ ป้องกันลูกเต่าหนีออกไป นำถังโฟมไปตั้งให้ถูกแดดและละอองฝน แต่ต้องปิดฝาถังเมื่อฝนตก มิฉะนั้นน้ำจะขังที่ก้นถัง ตลอดการทำการเพาะฟักในถังโฟมต้องคอยสังเกตทราย ถ้าแห้งจนเกินไปต้องประพรหมน้ำให้ทรายมีความชื้นบ้าง และทำการวัดอุณหภูมิในถังโฟมและอากาศทุกวัน เช่นเดียวกับการเพาะฟักแบบธรรมชาติและการย้ายหลุมเพาะฟัก

(4) การเพาะฟักในตู้อบ

          เป็นการเพาะฟักที่ใช้ตู้อบที่เปิดไฟให้ความร้อน โดยนำไข่ที่ได้จากหลุมที่แม่เต่าได้วางไข่ไว้ แล้วนำไข่ย้ายลงถังโฟม แบ่งไข่เป็น 2 ส่วนโดยส่วนที่ 1 ทำการเพาะฟักเช่นเดียวกับ (3) เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับการเพาะฟักในตู้อบที่มีท่อออกซิเจนเป่าอากาศเข้าในถังโฟมที่อยู่ในตู้เพาะฟัก และคอยประพรมทรายในถังโฟมให้ชื้นอยู่ตลอดเวลาและทำการวัดอุณหภูมิในถังโฟม อากาศ และห้องทุกวันในเวลา 9.00 น. และ 16.00 น. หาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ และจำนวนวันที่ใช้ในการเพาะฟัก โดยนำอุณหภูมิและจำนวนที่ใช้ในการเพาะฟักด้วยวิธีต่างๆ มหาความสัมพันธ์ โดยใช้สูตรสมการเส้นตรง



การอนุบาลลูกเต่าทะเล

          เป็นการนำลูกเต่าแรกเกิดที่ได้ทำการเพาะฟักที่เกาะมันใน จังหวัดระยอง และที่เกาะคราม จังหวัดชลบุรี แล้วนำมาทำการอนุบาลที่ สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะมันใน จังหวัดระยอง โดยการนำลูกเต่าลงอนุบาลที่บ่ออนุบาลกลมใหญ่ที่ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 เมตร บ่อเรียงกันเป็นแถวคู่ ตรงกลางมีรางส่งน้ำ ก้นมีท่อระบายน้ำและท่อปรับระดับน้ำ เวลาที่จะเปลี่ยนน้ำต้องใช้เครื่องสูบน้ำจากทะเลเข้ารางส่งน้ำ และจากรางส่งน้ำจึงจ่ายไปยังบ่อต่าง ๆ ที่มีจำนวนถึง 100 บ่อ

          ส่วนจำนวนลูกเต่าที่อนุบาลในแต่ละบ่อมีจำนวน 25-30 ตัว มีระดับน้ำสูงจากก้นบ่อประมาณ 30 เซนติเมตร หรือเลี้ยงลูกเต่าทะเลให้มีความหนาแน่นประมาณ 100 ตัว ต่อปริมาณน้ำ 1 คิวบิกเมตร โดยมีการแยกลูกเต่าที่เพาะฟักที่เกาะมันในลงเลี้ยงในแถวขวาส่วนที่ลูกเต่าที่เพาะฟักที่เกาะครามลงเลี้ยงในบ่อแถวซ้าย เมื่อลูกเต่าโตขึ้นต้องมีการเพิ่มระดับน้ำในบ่อให้มากขึ้น และลดจำนวนลูกเต่าในบ่อให้น้อยลง เพื่อให้มีปริมาณที่หนาแน่นจนเกินไป บ่อและน้ำทะเลที่ใช้ในการอนุบาลลูกเต่าทะเลจะต้องมีการทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำทุกวัน
การเตรียมอาหารสำหรับลูกเต่าทะเล

          อาหารที่ใช้ในการให้อาหารแก่ลูกเต่าทะเล เป็นพวก ปลาหลังเขียวหรือเป็นปลาเป็ดชนิดอื่นๆ ที่ยังสดมาตัดหัวออกแล้วสับหรือบด สำหรับลูกเต่าวัยอ่อนที่มีอายุระหว่าง 1 อาทิตย์ ถึง 3 เดือน ต้องให้ปลาบดแต่ไม่ต้องละเอียดมากนัก เพราะถ้าเนื้อปลาละเอียดมาเนื้อปลาจะไหลไปตามน้ำ ส่วนเต่าทะเลที่มีอายุประมาณ 3 เดือนขึ้นไป จะต้องหั่นเนื้อปลาเป็นชิ้นเล็กๆ ที่มีขนาด 1 x 1 ซม. ครั้นเมื่อเต่าทะเลโตและมีขนาดเล็กหรือปลาเป็ดชนิดอื่นๆ ทั้งตัว

 



ปริมาณอาหารที่พอเหมาะสำหรับเลี้ยงลูกเต่าหญ้า

          เป็นการทดลองเกี่ยวกับให้อาหารลูกเต่าหญ้า เพื่อหาประมาณอาหารที่มีพอเหมาะสำหรับที่จะใช้ในการเลี้ยงลูกเต่าในแต่ละวัน เพื่อให้มีการเจริญเติบโตดีที่สุด โดยคัดเลือกลูกเต่าอายุประมาณ 3 และ 8.5 เดือน ที่มีสภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวใกล้เคียงกันขนาดละ 12 ตัว แล้วแบ่งเป็นชุด ชุดละ 4 ตัวแล้วนำไปทดลองในตู้แก้ว ขนาดบรรจุ 20 ลิตร ตู้ละ 1 ตัว เพื่อให้เต่าเคยชินกับสภาพตู้เลี้ยงอาหาร เป็นเวลา 10 วัน มีระบบที่ให้น้ำทะเลไหลเข้า – ออกโดยปรับให้มีน้ำหมุนเวียนในระดับที่คงที่ เปิดฝาตู้ให้อากาศถ่ายเท และควบคุมความเค็ม ให้มีปริมาณ 30-32% ความเป็นกรดเป็นด่างที่ pH 8.00 อุณหภูมิ 26-30 องศาเซลเซียส และออกซิเจนมีปริมาณ 4-5 ml / 1 การทดลองนี้ได้ดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2526 ณ สถาบันชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต

          โดยเริ่มให้อาหารเต่าในตู้ที่ 1 เวลา 9.00 น ของทุกวัน โดยวิธีการป้อนอาหารเข้าปากเต่าจนลูกเต่าไม่ยอมกินอาหารต่อไป แล้วอีกประมาณ 15 นาที จึงทำการป้อนใหม่ ถ้าลูกเต่าไม่ยอมกินอาหารอีกให้นำเต่ามาหาน้ำหนักตัวทั้งหมดที่ลูกเต่ากินอาหารในวันนั้น ส่วนในตู้ที่ 2 และ 3 ให้อาหารปริมาณ 2 / 3 และ 1 / 3 ของน้ำหนักอาหารที่ให้ในตู้ที่ 1 และส่วนเต่าในตู้ที่ 4 ไม่ให้อาหารเลย เพื่อเป็นการอดอาหารในตู้ควบคุม ทำการทดลองซ้ำอีก 2 ชุด ทำการทดลองจนครบ 24 วัน วัดความยาวกระดองและชั่งน้ำหนักเต่าทะเลทุก ๆ 4 วัน ตลอดระยะเวลาทำการทดลอง แล้วคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเจริญเติบโตในแต่ละวัน และอัตราการให้อาหาร ตามสูตรของ Nuitija and Uchida (1982)

        g  = af – b
        g  = (1 / t ) (Wt-Wo) / Wt / 2 100
และ  f  = ( 1 / tO ) (F / W t / 2) 100
เมื่อ  g  = อัตราการเจริญเติบโตในแต่ละวัน คิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัวเต่าเมื่อเริ่มทำการทดลอง
         f  = ปริมาณอาหารที่จะให้เต่ากินในแต่ละวัน มีหน่วยเป็นร้อยละของน้ำหนักตัวเต่า
      Wt  = น้ำหนักตัวของเต่าเมื่อเวลา t
      Wo  = น้ำหนักตัวเต่า เมื่อเริ่มต้นการทดลอง (t = o )
       Wt / 2  = น้ำหนักตัวเต่าที่เวลา 1 / 2 ของการทดลอง
       T  = ระยะเวลาที่ทำการทดลอง มีหน่วยเป็นวัน
       F  = ปริมารอาหารทั้งหมดที่เต่ากินมีหน่วยเป็นกรัม
       A&b  = ค่าคงที่



การเจริญเติบโต

          นำลูกเต่าทะเล (เต่าหญ้า) จำนวน 20 ตัว มาทำการชั่งน้ำหนัก และความยาว ของกระดองตามแนวตรง ด้วยวอร์เนีย แคลิเปอร์ (Vernier Caliper ) ทุกตัว แล้วนำลงเลี้ยงในถังโพลีแอทเธอลีน (Polyethylene tank ) ขนาด 200 x 100 x 80 ซม. ในถังน้ำทะเลที่มีความเค็มระหว่าง 31.17-32.16 % ออกซิเจน 2.84-4.47 มิลลิเมตร / ลิตร และมีความเป็นกรดด่าง 8.11-8.20 และมีการเปลี่ยนน้ำทะเลทุกวันหลังจากได้ให้อาหารเต่าในตอนเช้า ส่วนอาหารที่ให้ลูกเต่าทะเลจะใช้เนื้อปลาสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ในปีที่ 1 และ 2 ของการทดลองได้วัดความยาวของกระดองเต่าตามแนวตรงทุกเดือน ปี่ที่ 7 และ 8 วัดความยาวกระดองเต่าจำนวน 6 ตัว ปีละครั้ง การทดลองนี้ทำในปี พ.ศ. 2516-2524 ณ สถาบันชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต

          นำค่าที่วัดได้มาหาความยาวเฉลี่ยตั้งแต่เมื่อเริ่มออกจากไข่ , อายุ 1 ปี และ 7 ปี หาความยาวกระดองที่เพิ่มขนาดขึ้นในเวลา 1 ปี ตามช่วงอายุดังกล่าว เขียนเส้นตรงแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าทั้งสอง โดยให้ค่าความยาวที่เพิ่มขึ้นอยู่บนแกน Y ส่วนค่าความยาวเฉลี่ยเมื่อเต่าออกจากไข่ อายุ 1 ปี และ 7 ปี อยู่บนแกน x ซึ่งจะได้ค่าความยาวสูงสุด และหาความสัมประสิทธ์ของการเจริญเติบโตจากความเอียงของเส้นตรงที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าทั้งสองจาก Slope = I - ek

          ส่วนในค่าอายุเมื่อความยาวของกระดองเต่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งได้มาจากเวลาที่ใช้ในการเพาะฟักเต่าหญ้า ซึ่งมีค่าประมาณ 60 วัน หรือ –0.16 ปี และจากนี้จึงนำมาคำนวณค่าความยาวของกระดอกที่อายุต่าง ๆ ตามสมการ Von Bertainffy (1938) ดังนี้

   Lt  = L ( I-e –k(t-to)
เมื่อ  Lt  = ความยาวของกระดองเต่า วัดตามแนวตรง (ไม่รวมความยาวคอและหัว) เมื่ออายุ มีหน่วยเป็น ซม.
   L  = ความยาวกระดองสูงสุด เมื่อ t- -
   K  = สัมประสิทธิ์ของการเจริญเติบโต
   T  = เวลามีหน่วยเป็นปี
   To  = อายุที่มีความยาวกระดองเป็นศูนย์ (ประมาณ 60 วันหรือ – 0.16 ปี )
 
     



การขนย้ายลูกเต่าและพ่อแม่พันธุ์เต่าทะเล

ลูกเต่าแรกเกิด

          ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการขนย้ายลูกเต่าเกิดขึ้นซึ่งเป็นลูเต่าตุ่นแรกเกิด จากจังหวัดปัตตานี อายุ 3-6 เดือน จำนวน 210 ตัว โดยวิธีการใช้ขี้เลื่อยประพรหมน้ำให้เปียก วางรองที่ก้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีความสูงประมาณ 50 ซม. แล้วจึงนำลูกเต่าวางเรียงกันเป็นชั้น แต่ละชั้นใช้ขี้เลื่อยรองก้นให้หนาประมาณ 3-5 ซม. และในชั้นบนสุดหนาประมาณ 10-15 ซม. และใช้น้ำแข็งก้อนวางทับไว้ด้านบน เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิ และเพื่อให้ขี้เลื่อยชุ่มน้ำอยู่ตลอดเวลา นำเข่งที่มีการบรรจุลูกเต่าไปวางไว้ท้ายรถกะบะหลังคาผ้าใบ เพื่อนำไปอนุบาลที่ สถาบันชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต
ลูกเต่าอายุ 3-6 เดือน

          ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ได้มีการทำการขนย้ายลูกเต่าหญ้า อายุ 3-6 เดือน จำนวน 210 ตัว จากสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต ไปทำการอนุบาลที่กรุงเทพมหานครเป็นเวลา 4-5 วัน แล้วนำไปปล่อย ที่เกาะมันใน จังหวัดระยอง เมื่อ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2522 โดยวิธีการนำลูกเต่าใส่กะละมังพลาสติกที่ไม่มีน้ำ และไม่ใส่ลูกเต่าจนแน่นทับกัน นำกะละมังที่ใส่ลูกเต่าวางใต้ที่นั่งรถตู้ขนาด 12 ที่นั่ง ภายในมีเครื่องปรับอากาศ และตลอดระยะเวลาในการเดินทางต้องมีการประพรมน้ำให้ลูกเต่ามีผิวที่เปียกชื้นตลอดเวลา
การขนย้ายพ่อแม่พันธ์เต่าทะเลโดยทางรถยนต์และเรือ

          (1) ในระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ได้มีการทำการขนย้ายพ่อแม่พันธุ์เต่าหญ้าจำนวน 52 ตัว เต่าตนุจำนวน 16 ตัว และ เต่ากระจำนวน 10 ตัว ซึ่งเป็นเต่าทะเลพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงไว้ตั้งแต่ฟักออกจากไข่ จนมีอายุ 7-10 ปี จากสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต โดยการใช้วิธีการนำกระสอบป่านมาชุบน้ำให้เปียกเย็บคลุมตัวเต่า และทำการนำเต่าลำเลียงขึ้นรถบรรทุก 10 ล้อ เพื่อไปลงเรือประมง 11 ณ ท่าเทียบเรือประมงขนอมจังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วเดินทางไปที่เกาะมันใน จังหวัดระยอง เพื่อทำการเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาด กว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 40 x 100 x 5 เมตร

          (2) เมื่อในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ได้มีการทำการขนย้ายพ่อแม่พันธุ์เต่าหญ้าที่มีอายุประมาณ 6 ปี จำนวน 4 ตัว จากศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ ด้วยวิธีการจับเต่าวางไว้ท้ายรถกระบะที่มีหลังคาผ้าใบคลุม แล้วเดินทางไปที่อ่าวมะขามป้อม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อทำการขนย้ายเต่าทะเลลงเรือและเดินทางไปที่เกะมันในเพื่อนำลงเลี้ยงในบ่อดินเช่นเดียวกัน
การขนย้ายเต่าวัยรุ่นโดยทางเครื่องบิน

          ในวันที่ 20 ตุลาคม 2534 ได้มีการขนย้ายเต่าหญ้าอายุ 3-4 ปี จำนวน 3 ตัว อายุ 6-7 ปี จำนวน 1 ตัวจากสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นขอจากรัฐบาลไทยเพื่อทำการวิจัย โดยใช้กระสอบชุบน้ำหุ้มตัวเต่าแล้วบรรจุในลังไม้อัดและเชือกรัดป้องกันลังแตกกแล้วขนย้ายไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต เพื่อเดินทางต่อไปยังกรุงเทพมหานครแล้วเปลี่ยนสายการบินเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น และเดินทางต่อไปทางรถยนต์ไปยังสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำของท่าเรือนาโกย่า เพื่อทำการศึกษาและวิจัยต่อไป

          จะเห็นได้ว่า การเพาะเลี้ยงเต่าทะเลในประเทศได้มีการพัฒนาขึ้นมาก และจากตัวอย่างในเรื่องการเพาะเลี้ยงเต่าทะเลในประเทศไทย ยิ่งทำให้ทราบว่า การเพาะเลี้ยงเต่าทะเลในประเทศไทยนั้น ได้มีการดำเนินงานกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้เชื่อได้แน่ว่าการเพาะเลี้ยงเต่าทะเลในประเทศไทยต้องประสบความสำเร็จในอนาคตอย่างแน่นอน

ที่มา www.talaythai.com

 


การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย, การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย หมายถึง, การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย คือ, การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย ความหมาย, การเพาะเลี้ยงเต่าตนุในประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu