ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย, ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย หมายถึง, ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย คือ, ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย ความหมาย, ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย


          ในบรรดางานพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ    เพื่อนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการด้านต่างๆ นั้น การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน จัดว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประ-โยชน์มากด้านหนึ่ง ในการช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้  ยังเป็นการช่วยให้เกษตรกร ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้มีหลักประกันในเรื่องน้ำ สำหรับทำการเพาะปลูกอย่างไม่ขาดแคลน

          ปัจจุบันยังมีพื้นที่เพาะปลูกอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องอาศัยน้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำลำธารเป็นหลัก เพราะยังไม่มีงานด้านชลประทานเข้าไปช่วยเหลือ     การเพาะปลูกซึ่งได้อาศัยน้ำธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้พืชไม่อาจได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอตามจำนวนที่พืชต้องการได้  กล่าวคือ  ในปีใดที่ฝนตกโดยเฉลี่ยดีตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ก็จะทำให้การเพาะปลูกในปีนั้นได้รับผลดีตามไปด้วย  แต่ถ้าหากปีใดมีฝนตกน้อยหรือไม่มีฝนตกในเวลาที่พืชต้องการ ก็จะทำให้การเพาะปลูกในปีนั้นได้รับความเสียหายหรือไม่ได้รับผลผลิตดีเท่าที่ควร  จึงเป็นเหตุให้เกษตรกรจำนวนมากที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ในเขตโครงการชลประทาน   ต้องได้รับความเดือนร้อนในเวลาที่ไม่มีน้ำสำหรับทำนาและปลูกพืชไร่อยู่เสมอเกือบทุกปี

          สภาพของฝนในประเทศไทย  ฝนที่ตกส่วนใหญ่จะมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้   และจากพายุหมุน   ซึ่งเป็นพายุจรพัดมาทางทิศตะวันออก ได้แก่ พายุไต้ฝุ่น  พายุโซนร้อน  และพายุดีเปรสชัน โดยฝนจะตกในระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม  เป็นระยะเวลาถึง  ๖ เดือน นอกจากช่วงเวลาดังกล่าวนี้    บางเดือนอาจมีฝนตกบ้างเล็กน้อยหรือไม่มีฝนตกเลยก็ได้   เว้นแต่ทางภาคใต้  จะมีฝนตกชุกในระหว่างเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมกราคม

          โดยปกติ ฝนที่มาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเริ่มตกประมาณเดือนพฤษภาคม  และจะตกปกคลุมเกือบทั่วประ-เทศตามทิศทางที่ลมพัดผ่าน  จนถึงเดือนกันยายนจึงเริ่มน้อยลง และหมดไปประมาณเดือนตุลาคม  สำหรับฝนจากลมมรสุมที่ตกระหว่างเดือนพฤษภาคม  และเดือนมิถุนายน  เป็นฝนต้นฤดูกาลเพาะปลูกข้าวประจำปีซึ่งชาวนาจะเตรียมเพาะกล้าแล้วเริ่มปักดำ   ในบางปีที่เป็นปีฝนแล้ง อาจไม่มีฝนตกหรืออาจจะตกน้อยมาก จึงเป็นเหตุให้การเพาะปลูกได้รับความเสียหายอยู่บ่อยๆ ส่วนฝนที่เกิดจากพายุจร  ส่วนใหญ่มักมีปริมาณไม่ค่อยแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแรงและจำนวนของพายุที่จะพัดผ่านเข้ามา บางปีอาจมีฝนจากพายุประเภทนี้น้อย แต่บางปีอาจมีมากเกินไปจนถึงกับเกิดอุทกภัยทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูกได้

          ฝนที่เกิดจากพายุจรมักเริ่มตกในภาคกลาง  ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณเดือนมิถุนายน  ครั้นถึงเดือนกรกฎาคม  แนวทางของพายุจะเลื่อนไปอยู่ในแนวเหนือประเทศไทย  ดังนั้น ในช่วงเดือนนี้จึงมักจะมีฝนตกน้อยหรืออาจไม่มีเลยก็ได้ ทำให้เกิดสภาวะฝนแล้งในระหว่างฤดูฝนซึ่งฝนไม่ตกหรือตกทิ้งช่วงเป็นเวลานานเป็นประจำเกือบทุกปีโดยสภาพฝนแล้งหรือทิ้งช่วงดังกล่าว  อาจจะเกิดขึ้นประมาณ๒-๔ สัปดาห์ ทำให้พืชไร่และต้นข้าวเล็กๆในบางท้องที่ ซึ่งอยู่นอกเขตโครงการชลประทานได้รับความเสียหาย

          ครั้นถึงเดือนสิงหาคม พายุจรจะมีแนวพัดผ่านเข้ามาในประเทศไทยอีก แล้วจะมีแนวร่นต่ำลงมาทางภาคกลางและภาคใต้ตามลำดับ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน  สำหรับใน ภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคกลาง จะมีฝนตกหนักมากเกินความต้องการจนเหลือน้ำไหลลงสู่ลำธารและแม่น้ำจนบางปีถึงกับเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรง  ครั้นถึงเดือนตุลาคมฝนซึ่งเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมจะหมดไป และแนวของพายุจรที่พัดผ่านประเทศไทยจึงจะร่นต่ำลงไปทางทิศใต้มากขึ้นทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีฝนตกอีก  แต่ภาคกลางอาจจะยังมีฝนตกบ้างเล็กน้อย  ส่วนภาคกลางตอนล่างลงไปจะเริ่มมีฝนตกหนักขึ้นแล้วตกมากขึ้นร่นไปทางภาคใต้จนถึงเดือนมกราคม  ฝนทางแถบภาคใต้จึงเริ่มน้อยลง

          จากสถิติน้ำฝนของแต่ละปีที่วัดได้ทั่วประเทศ  แสดงว่าเวลาและปริมาณฝนที่ตกในระหว่างฤดูฝน  ซึ่งเป็นฤดูกาลเพาะปลูกประจำปีของแต่ละท้องถิ่นนั้น  มักจะมีความแตกต่างกันไปบางท้องที่อาจจะมีจำนวนฝนและเวลาที่ฝนตกพอเหมาะกับความต้องการของพืชเสมอ   ก็ไม่จำเป็นต้องมีการชลประทานช่วยเหลือเช่น บางจังหวัดในภาคใต้ และภาคตะวันออกของอ่าวไทย ส่วนพื้นที่เพาะปลูกของภาคอื่น  โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีปริมาณฝนรวมในช่วงฤดูฝนมากเช่นกัน  แต่จำนวนฝนที่ตกในแต่ละครั้งระยะเวลาของฝนที่ตก และการแพร่กระจายของฝนไปให้ทั่วบริเวณพื้นที่เพาะปลูกนั้น มักจะไม่ค่อยมีความเหมาะสมกับความต้องการของพืชที่ปลูกนัก เช่น อาจมีฝนครั้งหนึ่ง  แล้วเว้นระยะไม่ตกไปอีกนาน หลังจากนั้นฝนอาจตกติดต่อกันหลายวัน  จนมีน้ำมากเกินกว่าพื้นที่เพาะปลูกต้องการ  ทำให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากขาดแคลนน้ำในตอนแรก  แล้วมีน้ำมากเกินไปติดตามมาด้วย ในท้องที่เช่นนี้ เมื่อมีการชลประทานแล้วก็จะแก้ไขปัญหาต่างๆให้หมดไปได้


ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย, ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย หมายถึง, ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย คือ, ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย ความหมาย, ทำไมจึงต้องมีการชลประทานในประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu