หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย
หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย, หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย หมายถึง, หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย คือ, หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย ความหมาย, หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย คืออะไร
หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย มี ๓ ประการ คือ
ประการที่ ๑ ผู้ดำน้ำต้องมีสภาพร่างกายที่เหมาะสม มีประสบการณ์การดำน้ำ สามารถแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน มีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคที่ห้ามสำหรับงานดำน้ำ ได้แก่ โรคลมชัก โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคตับอ่อนอักเสบ โรคแก้วหูทะลุ หรือเคยผ่าตัดแก้วหู โรคระบบหมุนเวียนโลหิต โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารโรคกระดูก โรคไตไม่มีประวัติใช้สารเสพย์ติดหรือสารกระตุ้น ไม่มีอาการหรือโรค หรือมีสภาพร่างกายอื่นๆ อันเป็นปัจจัยเสริมต่อการเกิดของโรคใต้น้ำ เป็นต้นวิธีที่ดีที่สุดควรทำการตรวจสุขภาพก่อนการดำน้ำ ต้องไม่มีพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่เป็นเหตุให้สภาพร่างกายไม่เหมาะสมต่อการดำน้ำ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชอบเที่ยวเตร่ดึกๆ ติดสารเสพย์ติด
ประการที่ ๒ เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ดำน้ำ ต้องได้มาตรฐานและปลอดภัย ผู้ดำน้ำต้องมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์รู้จักวิธีการดูแล และรักษาอุปกรณ์ทุกประเภทเป็นอย่างดี ควรทำการดูแลตรวจตราอุปกรณ์ที่ใช้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตลอดเวลา อุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องให้ความเอาใจใส่ได้แก่ หน้ากาก ดำน้ำและสายส่งอากาศอัด เครื่องอัดอากาศและอากาศอัด
ประการที่ ๓ เรียนรู้และปฏิบัติตามวิธีการดำน้ำที่ปลอดภัย องค์ประกอบสำคัญเกี่ยวกับการดำน้ำอย่างปลอดภัย ได้แก่ ระดับความลึกของน้ำที่ปลอดภัยระยะเวลาที่สามารถอยู่ใต้น้ำได้ วิธีการขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพได้ทัน ดังนั้นผู้ดำน้ำจึงควรมีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญและผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติการดำน้ำมาเป็นอย่างดี ควรมีผู้ควบคุม (พี่เลี้ยงดำน้ำ)และผู้ช่วยเหลือ (เพื่อนคู่หู ผู้รักษาเวลา) ในการดำน้ำทุกครั้ง
ข้อควรทราบในการดำน้ำ
- ร่างกายต้องพร้อมสมบูรณ์ ไม่ควรลงน้ำจนกว่าจะได้รับการตรวจร่างกาย และได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุม
- ได้รับการฝึกมาอย่างดี เข้าใจสัญญาณ ในการดำน้ำที่เป็นสากลอย่างดี เช่น สัญญาณฉุกเฉิน
- อุปกรณ์ดำน้ำต้องได้มาตรฐานและมีสภาพสมบูรณ์
- การดำน้ำต้องทำงานเป็นคู่ และเพื่อนคู่หู ต้องคอยดูแลและคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันเสมอ
- รู้จักพื้นที่ลงปฏิบัติการดำน้ำ
- มีเรือช่วยชีวิตในขณะลงปฏิบัติการ
- วางแผนก่อนการดำน้ำทุกครั้ง
- เตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉิน
- หลีกเลี่ยงการกลั้นหายใจใต้น้ำขณะดำขึ้นโดยใช้ความเร็วไม่เกิน ๖๐ ฟุต/นาที หรือเร็วกว่าฟองอากาศ
- หลังการปฏิบัติการทุกครั้งควรให้แพทย์ตรวจร่างกาย
- ควรดำน้ำหลังรับประทานอาหารหนัก ๒ ชม. อาหารเบา ๑ ชม.
- อย่ารับประทานยาปฏิชีวนะก่อนดำน้ำ
- ไม่ควรดำน้ำเมื่อสภาพจิตใจไม่พร้อม
- ห้ามดำน้ำหลังการปลูกฝี ฉีดยา ถอนฟัน และหลังจากหายเจ็บป่วยใหม่ๆ รวมถึงเมื่อมีการดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ภายใน ๘ ชม.
- เมื่อดำน้ำเกิน ๑๐๐ ฟุต ไม่ควรเดินทางไกลที่ห่างแพทย์ และไม่ควรดำน้ำซ้ำอีกภายใน ๑๗ ชม. นอกจากนี้ไม่ควรเดินทางโดยเครื่องบินหลังการดำน้ำทันที
- เมื่อลงดำน้ำ ควรดำลงช้าๆ เพื่อป้องกันแรงกดของน้ำที่เกิดต่อร่างกาย ควรหยุดดำเมื่อรู้สึกปวดหู และดำต่อเมื่อไม่มีอาการ
- อย่าดำน้ำเกินขีดความสามารถของ เครื่อง ถ้าไม่จำเป็นอย่าดำลึกและนาน หากจำเป็นควรหยุดลดความกด โดยปฏิบัติตามตารางความกดอย่างเคร่งครัด
- เมื่อดำน้ำถึงพื้น อย่าแยกจากเพื่อนคู่หู ถ้าแยกจากกันให้มองหา หากไม่พบให้ขึ้นสู่ผิวน้ำทันที ในกรณีน้ำขุ่น หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความมืด ควรมีเชือกต่อกันระหว่างคู่ดำเสมอ
หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย, หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย หมายถึง, หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย คือ, หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย ความหมาย, หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!