ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประเพณีการเล่นละครรำ, ประเพณีการเล่นละครรำ หมายถึง, ประเพณีการเล่นละครรำ คือ, ประเพณีการเล่นละครรำ ความหมาย, ประเพณีการเล่นละครรำ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ประเพณีการเล่นละครรำ

          การฟ้อนรำเป็นหลักของวิชาละคร (รำ) ฉะนั้น ผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนจึงคิดแบบรำเป็นท่าต่างๆ และตั้งชื่อบัญญัติไว้ให้เรียกเป็นตำรา แล้วคิดร้อยกรองท่ารำต่างๆ นั้นเข้ากระบวนสำหรับรำเข้ากับเพลงปี่พาทย์ เรียกว่า "รำเพลง" อย่าง ๑ อีกอย่างหนึ่งสำหรับรำเข้ากับบทร้อง เรียกว่า "รำใช้บท" บรรดาผู้ที่จะฝึกหัดเป็นละครมักหัดตั้งแต่เด็กๆ โดยครูจะให้หัดรำเพลงก่อนแล้วจึงหัดรำใช้บท เมื่อรำได้แล้ว ครูจึง "ครอบ" ให้ คือ อนุญาตให้เล่นละคร แต่นั้นไปจึงนับว่าเป็นละคร การอันนี้เป็นประเพณีดั้งเดิม ยังมีเค้ามูลเหมือนกันทั้งละครโนราปักษ์ใต้ และละครนอกละครในที่เล่นในกรุงเทพมหานครนี้ แต่กระบวนการฝึกหัดและวิธีการเล่นของละครโนราชาตรี และละครนอกละครในแตกต่างผิดกันในข้อสำคัญหลายอย่าง          การฝึกหัดละครโนราชาตรีนั้น เมื่อหัดรำเพลงครูได้แล้ว ครูจึงสอนให้ท่องบท เพราะละครโนราชาตรียังใช้ร้องกลอนสด ไม่มีหนังสือบทอย่างละครในกรุงเทพฯ แล้วสอนให้ร้องและรำจำบท ผู้ที่เป็นครูหัดจึงพาไปให้ครูใหญ่ครอบเรียกว่า "เข้าครู" อันเป็นลักษณะครอบละครโนราชาตรี ในการทำพิธี ครูใหญ่เอาเทริดแขวนไว้ที่กลางโรงพิธี ตรงใต้เทริดนั้นตั้งขันสาครลายสิบสองนักษัตรไว้ และปูหนังสือไว้บนก้นขัน วิธีการครอบ ครูใหญ่จะให้เด็กขึ้นนั่งบนก้นขันแล้วปลดเอาเทริดลงมาครอบศีรษะให้ แล้วให้เด็กลุกขึ้นรำเพลงครูเข้ากับปี่พาทย์จนจบเพลงแล้วเอาเทริดกลับไปแขวนไว้อย่างเดิม ทำอย่างนั้นทีละคนไปจนครบจำนวนผู้ที่จะเป็นตัวละครก็เป็นอันเสร็จพิธีครอบ ส่วนตัวจำอวดนั้น ครูเพียงแต่เอาหน้ากากใส่ให้แทนการครอบด้วยเทริดไม่ต้องรำเพราะตัวจำอวดมักจะเคยเป็นพวกปี่พาทย์ หรือลูกคู่ที่ชอบเล่นเป็นจำอวด ได้เห็นการเล่นละครจนเคยชิน ก็เลยเป็นตัวละครไปเองโดยไม่ได้หัดรำมาแต่เดิม
          จากตำนานเรื่องโนรา ในหนังสือมโนห์รานิบาต ฉบับวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา ได้เล่าสืบต่อกันมาโดยมีเรื่องย่อตอนหนึ่งว่า เมื่อพระยาสายฟ้าฟาดซึ่งเป็นพระบิดาของนางนวลสำลีให้มารับนางนวลสำลีพระธิดาและอจิตกุมารกลับเมืองปัญจาเมื่อวันพุธเวลาบ่าย ด้วยเหตุนี้ โนราจึงถือกันเป็นประเพณีสืบมาว่า การรำโรงครู รำแก้บน การเชิญครูโนรามาแก้บน ต้องเริ่มทำในวันพุธทุกครั้งไป ซึ่งภาษาโนราเรียกกันว่า "วันเข้าโรงครู" เมื่ออจิตกุมารทราบว่า พระเจ้าตา (พระยาสายฟ้าฟาด) ขับไล่นางนวลสำลีโดยให้ลอยแพไป จึงทูลถามว่า ที่ขับไล่นางนวลสำลีไปนั้น ชาวเมืองพอใจหรือไม่พอใจ พระยาสายฟ้าฟาดตอบว่าไม่รู้ได้ แต่น่าจะไม่พอใจเพราะเห็นได้จากที่พระยาหงส์ทอง (ทหารเอกฝ่ายขวา) และพระยาหงส์เหมราช (ทหารเอกฝ่ายซ้าย) ของพระยาสายฟ้าฟาดได้หนีไป คงโกรธเคืองเรื่องนี้ อจิตกุมารจึงถามว่า ถ้าพระยาทั้งสองที่หนีไปนั้นกลับคืนมา จะโกรธแค้นหรือจะชุบเลี้ยงอีก พระยาสายฟ้าฟาดตอบว่า จะชุบเลี้ยง จิตกุมารจึงว่า ถ้าเช่นนั้นเขาจะทำพิธีเชิญพระยาทั้งสองให้กลับมา ซึ่งต่อมาเรียกพิธีนั้นว่า พิธีโรงครู

ประเพณีการเล่นละครรำ, ประเพณีการเล่นละครรำ หมายถึง, ประเพณีการเล่นละครรำ คือ, ประเพณีการเล่นละครรำ ความหมาย, ประเพณีการเล่นละครรำ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 23

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu