ไข้สมองอักเสบ
ไข้สมองอักเสบ, ไข้สมองอักเสบ หมายถึง, ไข้สมองอักเสบ คือ, ไข้สมองอักเสบ ความหมาย, ไข้สมองอักเสบ คืออะไร
ไข้สมองอักเสบที่พบในประเทศไทยนั้นมีสาเหตุอยู่หลายอย่าง แต่ที่พบกันในฤดูฝน คือ ไข้สมองอักเสบ "ญี่ปุ่น" ชื่อนี้แปลมาจากภาษาอังกฤษจากคำว่า "Japanese encephalitis" โรคนี้มักเป็นในเด็กเล็กและเด็กในวัยเรียน
เชื้อต้นเหตุ เป็นเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า "จาแพนีสเอนเซฟาไลทิส" (Japanese encephalitis)
ระยะฟักตัว ประมาณ ๗-๑๐ วัน หรืออาจนานถึง ๒ สัปดาห์
ลักษณะอาการ หลังจากที่โดนยุงมีเชื้อกัดแล้วเชื้อก็จะเข้าไปในตัวของเด็กและจะเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นจนกระทั่งมากพอที่จะทำให้เกิดอาการของโรค คือ ทำให้สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการของโรคจะเริ่มโดยมีอาการไข้สูงปานกลางมีอาการปวดศีรษะมาก มีอาการเวียนศีรษะ อาจมีอาเจียนด้วย รายที่มีอาการรุนแรงน้อยหรือรุนแรงปานกลางจะมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบเท่านั้น กล่าวคือ มีอาการคอแข็ง กล้ามเนื้อขาตึง ง่วงและค่อนข้างซึม แต่ไม่มีอาการหมดสติหรืออัมพาต ผู้ป่วยเหล่านี้มักจะฟื้นจากโรคแล้วหายเป็นปกติ
สำหรับกลุ่มที่มีอาการรุนแรงจะง่วงซึม และหมดสติ มักจะมีอาการอัมพาตและอาจจะถึงแก่กรรมได้ เท่าที่มีการระบาดในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของประเทศนั้นอัตราตายสูงกว่าร้อยละ ๓๐ มักจะตายภายใน ๑๐ วัน ส่วนที่รอดตายนั้นส่วนหนึ่งจะมีอาการอัมพาต และบางส่วนจะมีความพิกลพิการหลายอย่างหลงเหลืออยู่ บางคนก็มีอาการชักแบบลมบ้าหมู บางคนก็รอดตาย แต่ก็รอดอยู่แบบ "เจ้าหญิงนิทรา" คือ นอนกะพริบตาปริบๆ อยู่เฉยๆ อุจจาระและปัสสาวะไม่รู้เนื้อรู้ตัว เป็นภาระแก่ผู้ที่จะต้องดูแล
ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้แล้ว มักจะมีภูมิต้านทานโรคและไม่เป็นโรคนี้อีก
การติดต่อ โรคนี้ติดต่อโดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ยุงที่นำโรคเป็นยุงที่พบอยู่โดยทั่วไป ซึ่งคอยรบกวนกัดกินเลือดของคนและสัตว์ในเวลากลางคืนนั่นเอง ยุงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "คิวเล็กซ์ ไทรเทนิออรินคุส" (Culex tritaeniorhycus) ยุงชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ยุงอีกชนิดหนึ่งที่นำโรคนี้ได้ในบ้านเราก็คือยุง "คิวเล็กซ์ ฟัสโคเซฟาลุส" (Culex fuscocephalus) และ "คิวเล็กซ์ เจลิดุส" (Culex gelidus)
เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุจะมีแหล่งอยู่ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกสุกร ลูกสุกรที่เกิดใหม่จะมีความไวในการรับเชื้อสูง ถ้าถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสนี้ไปกัดเข้า เชื้อจะไปเพิ่มจำนวนในลูกสุกรต่อมาเมื่อยุงที่กัดลูกสุกรที่มีเชื้อ ก็จะได้รับเชื้อจากลูกสุกร เชื้อนี้จะไปเจริญและเพิ่มปริมาณในตัวยุงได้อีกหากยุงนั้นไปกัดคน ถ้าคนที่ถูกกัดมีภูมิต้านทานโรคหรือความต้านทานโรค คนนั้นก็ไม่ป่วยเป็นโรค ถ้าเป็นเด็กที่ไม่มีความต้านทานอยู่เดิม เด็กก็จะติดเชื้อ และเป็นโรคดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยุงบางตัวหากไม่ได้กัดก็กลับไปกัดลูกสุกร และเอาเชื้อไปปล่อยให้กับลูกสุกรอีก เป็นวงจรอยู่อย่างนี้
การป้องกันและควบคุมโรค นอกจากจะเลี่ยงมิให้ยุงกัดแล้ว ยังมีวัคซีนเฉพาะโรคที่ใช้ฉีดป้องกันโรคเป็นการล่วงหน้าได้
ไข้สมองอักเสบ, ไข้สมองอักเสบ หมายถึง, ไข้สมองอักเสบ คือ, ไข้สมองอักเสบ ความหมาย, ไข้สมองอักเสบ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!