ความหมาย
"การให้" หรือเรียกตามศัพท์ทางวิชาการว่า "การสงเคราะห์" การสงเคราะห์เกิดมานานแล้วควบคู่ไปกับการเกิดของปัญหาและความต้องการถ้าพิจารณาดูสิ่งใกล้ตัวโดยเฉพาะครอบครัว จะพบว่า บิดามารดาจะปรึกษาหารือกันเมื่อมีปัญหาเช่นเดียวกับบุตรจะปรึกษาหารือกับบิดามารดาเมื่อมีปัญหา เพื่อนบ้านจะให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา รวมทั้งคนในชาติจะช่วยเหลือคนในชุมชนเมื่อมีปัญหา เป็นต้น
ปัญหาอาจจะเกิดกับบุคคล กลุ่ม ชุมชนหรือสังคมก็ได้
ปัญหาเกิดจากสาเหตุหลายด้านคือ สุขภาพอนามัย สังคม เศรษฐกิจการเมือง และอื่นๆ
ปัญหาปัญหาหนึ่งอาจมีสาเหตุจากหลายๆด้าน ซึ่งสามารถพูดได้ว่าสาเหตุของปัญหาผูกพันกันแบบลูกโซ่ เช่น เด็กหนีโรงเรียน มีสาเหตุจากการไม่มีเงินค่าอาหาร สาเหตุที่ไม่มีเงินค่าอาหารเพราะบิดาไม่ให้ บิดามารดาไม่ให้เงินลูกเพราะไม่มีเงิน บิดาไม่มีเงินเพราะถูกไล่ออกจากงาน เนื่องจากชอบดื่มเหล้า เล่นการพนัน มีหนี้สินมากมาย ที่บิดาชอบดื่มเหล้า เพราะไม่มีความสุขในบ้าน แม่บ้านเจ็บออดๆ แอดๆ ต้องเข้าโรงพยาบาลเสมอๆ ประกอบกับบิดามีบุตรหลายคนที่ต้องหาเงินมาให้เรียนหนังสือ บิดาชอบเล่นการพนัน เพราะคิดว่าจะเอาเงินที่ได้จากการพนันมาเลี้ยงครอบครัว พอเล่นการพนันเสียก็ต้องขอยืมเงินเพื่อน ทำให้มีหนี้สินรุงรัง เป็นต้น จากปัญหานี้ จะเห็นว่ามีสาเหตุทั้งปัญหาทางด้านสังคม ด้านสุขภาพอนามัย และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกันแบบลูกโซ่ การแก้ไขปัญหาควรจะทำได้ในหลายๆ วิธี ผู้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาแล้วโดยใช้หลักทางวิชาการ เรียกว่า "นักสังคมสงเคราะห์" และผู้ที่จะรับบริการเรียกว่า "ผู้รับบริการ" "การสงเคราะห์" หรือ "การสังคมสงเคราะห์" มีผู้ให้ความหมายต่างๆ กัน โดยความเข้าใจทั่วๆ ไปแล้ว เข้าใจว่าเป็นการช่วยเหลือ การสงเคราะห์เพื่อให้คนในสังคมมีความร่มเย็นเป็นสุขเป็นการแบ่งปันระหว่างผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้ได้รับความสบายใจและผู้รับก็ได้รับประโยชน์มีหลายคนเข้าใจว่า การสังคมสงเคราะห์ คือ การแจกเงิน แจกสิ่งของ การสังคมสงเคราะห์ คือ การกุศล ซึ่งความจริงแล้ว การสังคมสงเคราะห์มีรากฐานมาจากการกุศล แต่การกุศลไม่ใช่การสังคมสงเคราะห์ การสังคมสงเคราะห์กับการกุศลมีข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดดังตารางข้างล่างนี้ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางานสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ให้ความหมายไว้ว่า การสังคมสงเคราะห์ หมายถึงศาสตร์และศิลป์ในการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และพัฒนาบุคคล กลุ่ม และชุมชน ทั้งที่ประสบและไม่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระราชดำรัสในพิธีเปิดการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๐๕ ความว่า"...การสังคมสงเคราะห์นั้น มีความหมายกว้างขวางมาก กินความถึงการดำเนินการทุกอย่างที่จะช่วยเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ หรือกลุ่มชนที่ร่วมกันเป็นสังคม เป็นชาติ และผู้ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ให้มีความสุขทั้งทางกายและจิตใจให้ได้มีปัจจัยอันจำเป็นแก่การครองชีพคือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ ได้รับการศึกษาอบรมตามควร ตลอดจน มีความรู้ที่จะนำมาเลี้ยงชีพโดยสุจริต เพื่อความเรียบร้อยและความเป็นปึกแผ่นของสังคม..." ฉะนั้น จะเห็นว่า การสังคมสงเคราะห์เป็นกิจกรรมที่ทำกับคนทั้งที่มีและไม่มีปัญหา โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน
ตารางเปรียบเทียบลักษณะของการสังคมสงเคราะห์และการกุศล
การสังคมสงเคราะห์
การกุศล
๑. เป็นการช่วยเหลือในระยะยาวจนกว่าผู้รับบริการนั้นจะสามารถช่วยตนเองได้ในที่สุด๒. การช่วยเหลือคำนึงถึงศักดิ์ศรีขิงผู้รับบริการ และถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ผู้รับจะต้องได้รับการช่วยเมื่อมีปัญหา
๓. การดำเนินงานทำเป็นกระบวนการอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์
๔. อาศัยนักวิชาการสังคมสงเคราะห์หรือคนที่ได้รับการอบรม และมีประสบการณ์การทำงานด้านนี้ ๑. เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า โดยไม่สนใจว่าผู้รับจะสามารถช่วยตนเองได้หรือไม่
๒. เป็นการทำบุญทำกุศล มีผู้ให้ผู้รับ
๓. การดำเนินงานไม่เป็นกระบวนการ ไม่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์
๔. คนทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่ต้องอาศัยนักวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ๑. เพื่อการสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนที่ช่วยตนเองไม่ได้ให้สามารถช่วยตนเองได้ การให้การสงเคราะห์นี้รวมความถึงการบรรเทาและแก้ไขปัญหา การป้องกันและขจัดปัญหา การฟื้นฟู และปรับสภาพของบุคคลครอบครัว กลุ่ม และชุมชน
๒. เพื่อการแก้ไขปัญหาสังคม เป็นการแก้ไขปัญหาสังคมให้ลดน้อยหรือหมดไป ปัญหาสังคมที่สำคัญซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางานสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ระบุไว้มี ๙ ปัญหาด้วยกัน ได้แก่ ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหายาเสพติด ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาการใช้แรงงานเด็กและแรงงานสตรี ปัญหาคนพิการ ปัญหาการ ขาดแคลนบริการและสวัสดิการในสังคมชนบทปัญหาครอบครัว ปัญหาศีลธรรม วัฒนธรรมและปัญหาสุขภาพจิต
๓. เพื่อการพัฒนาสังคม หมายถึงการพัฒนาคนเพื่อให้ช่วยพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าสำหรับประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ถือว่าการสังคมสงเคราะห์มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาสังคม กล่าวคือ การสังคมสงเคราะห์จะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถช่วยตนเองได้ เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติในที่สุด