บุคคลสำคัญในการผลิตหนังสือทางด้านความคิด ได้แก่ ผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ ซึ่งเป็นผู้ที่ถอดความนึกคิดออกเป็นตัวหนังสือ ผู้ที่จะเป็นผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์หนังสือได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะเขียนและมีความสามารถในการเขียน คุณสมบัติสองอย่างนี้ต้องอยู่ในคนๆ เดียวกันจึงจะเขียนหนังสือขึ้นมาได้ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้บางครั้งก็หาได้ยากที่จะอยู่ในบุคคลเดียว บางคนอาจมีความรอบรู้ในเรื่องราวบางเรื่องอย่างดียิ่ง แต่ไม่มีความสามารถที่จะประพันธ์เป็นหนังสือได้ คุณสมบัติในการเขียนเป็นเรื่องที่สามารถจะเล่าเรียนและฝึกฝนได้ ผู้สร้างหนัง-สือบางครั้งก็ต้องจัดให้ผู้เขียนกับผู้รู้ได้มาพบกันและร่วมมือกันจัดเขียนเป็นหนังสือขึ้น หนังสือบางเรื่องจะต้องใช้ความรู้จากผู้รู้หลายๆ คนร่วมกันเขียน หนังสือบางเล่มจะต้องใช้ผู้รวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง แล้วระดมผู้รู้ผู้เขียนร่วมมือช่วยกันเขียน การผลิตหนังสือทางด้านความคิดจึงได้มีการจัดขึ้นเป็นระบบการดำเนินการ มีผู้รับผิดชอบที่เรียกกันว่า บรรณาธิการ
การถ่ายทอดความคิดทางหนังสือนั้นนอกจากการเขียนด้วยตัวหนังสือแล้ว ก็อาจใช้ภาพถ่ายทอดความคิดให้เกิดความเข้าใจได้ดีกว่า บางครั้งควรต้องใช้ทั้งภาพและตัวหนังสือประกอบกันไป การสร้างภาพขึ้นมามีวิธีทำได้หลายอย่าง อาจเป็นภาพวาดซึ่งใช้บุคคลเป็นผู้วาดขึ้น ซึ่งเรียกว่า ผู้เขียนภาพภาพวาดมีวิธีวาดหลายแบบ เช่น วาดเป็นภาพลายเส้น ภาพการ์ตูน ภาพสีน้ำมัน ภาพวาดด้วยพู่กันลม ในปัจจุบันอาจใช้คอมพิวเตอร์วาดก็ได้ นอกจากภาพวาดแล้วอาจใช้ภาพถ่ายมาเป็นภาพประกอบในหนังสือ การถ่ายภาพเพื่อนำมาใช้ประกอบในหนังสือมีเทคนิควิธีการสร้างภาพมากมายหลายแบบ ภาพที่นำมาใช้พิมพ์นอกจากภาพขาวดำโดยทั่วไปแล้วยังสามารถนำสีมาใช้ประกอบกับภาพเพื่อเรียกความสนใจจากผู้อ่านให้มากขึ้น สามารถสร้างจินตนาการและความคิดของผู้อ่านได้กว้างไกลการสร้างภาพก็เป็นงานผลิตหนังสือทางด้านความคิด มีหน่วยงานเรียกว่าหน่วยศิลป์หรือฝ่ายศิลป์ ซึ่งมีบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ดูแลรับผิดชอบ การสร้างภาพประกอบในหนังสือแต่ละภาพจะมีบุคคลที่ทำหน้าที่ศึกษาค้นคว้าและออกความเห็นว่าควรมีภาพอะไรและมีลักษณะรายละเอียดอย่างใด เพื่อให้ช่างเขียนหรือช่างถ่ายภาพไปสร้างภาพขึ้นมาตามแนวความคิดนั้น หรือมีบุคคลที่จะคัดเลือกบรรดาภาพที่มีอยู่มาพิมพ์ก็ได้ การนำเอาภาพและตัวหนังสือมารวมกันเป็นหน้า และจัดรูปหน้าหนังสือแต่ละหน้าเข้าเป็นเล่ม ก็ต้องมีบุคคลที่จะรับผิดชอบดำเนินการ เรียกว่า ผู้ออกแบบเล่มหนังสือ(Book designer) ซึ่งเป็นงานที่รวมอยู่ในการผลิตหนังสือทางด้านความคิดเช่นกัน
การผลิตหนังสือทางด้านความคิด อาจเริ่มจากผู้ประพันธ์เป็นผู้ริเริ่มเขียน และจัดพิมพ์ออกจำหน่ายเอง ถือว่าผู้ประพันธ์เป็นทั้งผู้จัดพิมพ์และบรรณาธิการเอง บางครั้งผู้ประพันธ์เมื่อประพันธ์เรื่องขึ้นมาแล้ว ก็นำไปเสนอให้สำนักพิมพ์พิจารณา สำนักพิมพ์ก็จะมีระบบในการพิจารณารับจัดพิมพ์หนังสือเรื่องต่างๆปกติจะมอบให้ผู้อ่านได้อ่านตรวจต้นฉบับที่ผู้ประพันธ์เสนอมาโดยพิจารณาว่าเป็นหนังสือน่าสนใจเพียงใด ตรงกับวัตถุประสงค์และนโยบายของการจัดพิมพ์ของสำนักพิมพ์นั้นๆ เพียงใด จะได้รับความสนใจจากผู้อ่านผู้ซื้อมากน้อยเพียงใด ต้นฉบับหนึ่งอาจมีผู้อ่านๆ คนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยสำนักพิมพ์จะรับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่านก่อนรับจัดพิมพ์ ทั้งนี้ตามแต่ระบบที่สำนักพิมพ์แต่ละแห่งกำหนดบางครั้งผู้อ่านอาจแนะนำให้มีการปรับปรุงก่อนที่จะให้สำนักพิมพ์รับจัดพิมพ์ แต่สำหรับผู้ประพันธ์ที่รู้จักกันทั่วไป หรือผู้จัดพิมพ์ให้ความเคารพเชื่อถืออยู่แล้ว ก็อาจรับจัดพิมพ์ได้เลยโดยไม่ต้องอ่านตรวจก่อนก็ได้
ในบางกรณีผู้จัดพิมพ์เป็นผู้ริเริ่มการผลิตโดยติดต่อขอเรื่องที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้แล้วนำมาจัดพิมพ์หรือขอให้ผู้ประพันธ์เขียนเรื่องขึ้นมาเพื่อจัดพิมพ์ การพิมพ์หนังสือบางประเภท ผู้จัดพิมพ์จะตั้งบรรณาธิการขึ้นทำหน้าที่สร้างต้นฉบับเพื่อจัดพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน บรรณาธิการจะต้องจัดให้มีผู้สื่อข่าวหาข่าวในด้านต่างๆ เป็นรายวันเพื่อป้อนให้ทางกองบรรณาธิการ และจัดให้มีผู้คัดข่าวผู้เขียนข่าว จัดหาบทความและเรื่องราวประกอบ โดยให้เนื้อหาเป็นไปในแนวทางของการจัดทำหนังสือพิมพ์นั้น เพื่อให้มีต้นฉบับมาจัดพิมพ์ติดต่อกันได้ทุกวัน สำหรับหนังสือนิตยสารก็มีบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบติดต่อกับผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ และรับเรื่องราวต่างๆ มาจัดพิมพ์ตามกำหนดระยะเวลาให้นิตยสารนั้นออกวางจำหน่ายได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
โครงสร้างและระบบการผลิตหนังสือทางความคิดของหนังสือประเภทใดควรจะเป็นอย่างใด ขึ้นอยู่กับลักษณะของหนังสือที่ผลิตว่ามีลักษณะใด หนังสือบางประเภทการผลิตเป็นการระดมเอาวิชาความรู้จากบุคคลเป็นจำนวนมาก ถอดความคิดจากแต่ละบุคคลมารวบรวมเขียนเป็นหนังสือขึ้น การจัดทำหนังสือลักษณะนั้น อาจทำเป็นระบบการตั้งคณะกรรมการทางวิชาการดำเนินการเขียนหรือจัดประชุมหารายละเอียดในเนื้อหาของเรื่อง หาข้อยุติทางปัญหาต่างๆ ในทางวิชาการ และมีคณะผู้เขียนทำหน้าที่เขียนเป็นหนังสือขึ้นมา
เมื่อผู้เขียนเขียนต้นฉบับหนังสือขึ้นมาแล้วก็มักจะพิมพ์ดีดให้เป็นต้นฉบับพิมพ์ดีดก่อนแล้วมีการตรวจทานแก้ไข ถ้ามีการแก้ไขหรือปรับปรุงใดๆ ก็จะต้องแก้ไขปรับปรุงให้เป็นต้นฉบับพิมพ์ดีดที่เรียบร้อยพร้อมที่จะส่งไปเรียงพิมพ์ จะทำให้การเรียงพิมพ์ทำไปได้รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด การส่งต้นฉบับที่ไม่เรียบร้อยไปโรงพิมพ์ ถ้ามีข้อผิดพลาดการแก้ไขการเรียงพิมพ์ย่อมเสียค่าใช้จ่ายสูงและเสียเวลามาก
บรรณาธิการ
บรรณาธิการ, บรรณาธิการ หมายถึง, บรรณาธิการ คือ, บรรณาธิการ ความหมาย, บรรณาธิการ คืออะไร
บรรณาธิการ, บรรณาธิการ หมายถึง, บรรณาธิการ คือ, บรรณาธิการ ความหมาย, บรรณาธิการ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!