ประเทศเราโชคดีที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระประมุขของชาติ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ และเข้าพระราชหฤทัยประโยชน์ของทรัพยากรทุกประเภทอย่างลึกซึ้งจนเกิดโครงการ "พัฒนา" ในพระราชดำริเป็นตัวอย่างให้หน่วยงานรัฐบาลและเอกชนดำเนินตามจนบรรลุความสำเร็จมากมาย
ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรวัฒนธรรมประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุไว้ด้วย เพื่อให้ช่วยกันอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าไว้ถึง ๒ ครั้งด้วยกัน
ครั้งแรกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม๒๕๐๔ มีความดังนี้
"โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นของมีคุณค่าและจำเป็นแก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและโบราณคดี เป็นเครื่องแสดงความรุ่งเรืองของชาติไทยที่มีมาแต่ในอดีตกาล สมควรจะสงวนรักษาให้คงถาวร เป็นสมบัติส่วนรวมของชาติไว้ตลอดกาล
มีผู้กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีผู้สนใจและหาซื้อโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ส่งออกไปต่างประเทศกันมาก ถ้าต่อไปภายหน้าเราจะต้องไปศึกษาหรือชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของไทยเราเองในต่างประเทศ ก็คงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและน่าอับอายมาก เราจึงควรจะขวนขวาย และช่วยกันหาทางรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของเรา แล้วจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาไว้จะเป็นการดีที่สุด"
กระแสพระราชดำรัสครั้งที่ ๒ เป็นผลจากเหตุการณ์ระคายพระราชหฤทัยในวโรกาสเสด็จประพาสอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่ง ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น เขียนไว้ในวารสาร "จันทรเกษม"ฉบับที่ ๕๔ ประจำเดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๐๖ว่า
"...ได้ทอดพระเนตรเห็นอาคารสมัยใหม่หลังหนึ่ง สร้างขึ้นบนที่ซึ่งเคยเป็นซากโบราณสถาน มีพระราชดำรัสว่า
การสร้างอาคารสมัยนี้ คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยาและกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย"
ม.ล. ปิ่น กล่าวต่อไปว่า
"...เมื่อได้ยินกระแสพระราชดำรัสนั้นก็รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงเตือนสติคนไทยที่นิยมความเจริญทางวัตถุยิ่งกว่าความเจริญทางจิตใจ โบราณวัตถุสถานเหล่านี้ มีคุณค่าล้นเหลือ ถ้าไม่มีให้เราเห็นแล้ว ทำอย่างไรเราจึงจะเข้าใจแจ่มแจ้งว่าบรรพบุรุษของเราเคยทำอะไร อย่างไร และอยู่ที่ไหน ซึ่งสรุปได้ว่าการสร้างชาติประกอบด้วยคุณธรรม ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงเราในทุกวันนี้ ถ้าโบราณวัตถุสถานเหล่านั้นสูญสิ้นไปหมด ความรู้สึกอย่างที่ข้าพเจ้ารู้สึกก็จะเลือนลางลง เมื่อคนเราไม่มีอะไรผูกมัดทางจิตใจแล้ว ก็ย่อมจะนึกถึงประโยชน์ส่วนตนหรือเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่เอง"
"...ในการที่มีโบราณวัตถุสถาน และปูชนียสถานอยู่เป็นอันมาก ถ้าเรารู้จักวิธีนำมาใช้เกี่ยวกับการอบรมจิตใจของเยาวชน ก็จะเป็นประโยชน์มาก..."
กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง, กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ, กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความหมาย, กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คืออะไร
กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง, กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ, กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความหมาย, กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!