ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคเหน็บชา, โรคเหน็บชา หมายถึง, โรคเหน็บชา คือ, โรคเหน็บชา ความหมาย, โรคเหน็บชา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคเหน็บชา

          ผลจากการขาดวิตามินบี๑
          วิตามินบี๑ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตโปรตีน และไขมัน เกิดเป็นกำลังงาน ทำให้สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ช่วยในการสังเคราะห์สารเคมี ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกรดนิวคลิอิกและกรดไขมัน และมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี๑ จะทำให้การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและระบบทางเดินอาหารแปรปรวนไปจากปกติ และถ้ารุนแรงมากขึ้น จะมีอาการแสดงของโรคเหน็บชา  ซึ่งแตกต่างกันได้ตามอายุของผู้ป่วย

          โรคเหน็บชาในเด็กเล็ก

          ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด  คือ ๒-๖ เดือน มักเป็นเด็กที่กินนมแม่ และแม่ขาดวิตามินบี๑  เด็กอาจมีอาการเด่นทางหัวใจ  คือ หอบ เหนื่อย หัวใจเต้นเร็วและเขียว ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะถึงแก่กรรมได้ภายใน ๒-๓ ชั่วโมง เด็กอาจมีอาการเด่นทางระบบประสาท  คือ เสียงแหบ เวลาร้องไม่มีเสียง อาจมีหนังตาบนตกกลอกลูกตาไปมา มือเท้าเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ

          โรคเหน็บชาในเด็กโตหรือผู้ใหญ่

          เด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเหน็บชา จะมีอาการชาที่ปลายมือ  และปลายเท้า และเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง กล้ามเนื้อของแขนและขาไม่มีกำลัง  ผู้ป่วยบางราย นอกจากมีอาการชาแล้ว ยังมีอาการบวมร่วมด้วย ถ้าเป็นมากจะมีหัวใจโตและเต้นเร็ว  หอบ  เหนื่อยและเสียชิวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

          สาเหตุของโรคเหน็บชา

          สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเป็นโรคเหน็บชาเกิดจากการกินอาหารที่ให้วิตามินบี๑ ไม่พอ ชาวไทยส่วนใหญ่กินข้าวที่ขัดสีแล้วเป็นอาหารหลัก ข้าวที่ขัดสีมีวิตามินบี๑ อยู่น้อย  มิหนำซ้ำการซาวข้าว และหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ จะทำให้สูญเสียวิตามินบี๑ ไปอีกส่วนอาหารที่ให้วิตามินบี๑ มาก คือ เนื้อสัตว์และถั่วเมล็ดแห้ง  ก็กินน้อย  นอกจากนี้ ถ้ากินสารทำลายวิตามิน
บี๑ เป็นประจำ ยิ่งซ้ำเติมให้เป็นโรคเหน็บชาได้ไวขึ้นสารทำลายวิตามินบี๑ นี้ แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ พวกที่ไม่ทนต่อความร้อน ได้แก่ เอนไซม์ไทอะมิเนส (thaiaminase) ซึ่งมีอยู่ในปลาน้ำจืด หอยลายและปลาร้าส่วนอีกพวกหนึ่งเป็นสารที่ทนต่อความร้อน พบได้ทั้งในปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็มหลายชนิด ใบชา ใบเมี่ยงหมาก และผักบางชนิดเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต  หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมลูก ผู้ใช้กำลังงานมาก เช่น นักกีฬา กรรมกร ชาวนา ภาวะที่เกิดโรคติดเชื้อ ภาวะที่มีไข้สูง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ล้วนมีความต้องการวิตามินบี๑ มากขึ้น จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชาได้ง่าย  นอกจากนี้ผู้ดื่มเหล้าเป็นประจำจะขาดวิตามินบี๑ ได้ง่ายเช่นกัน

          การป้องกัน

          โรคเหน็บชาไม่ใช่โรคที่เกิดจากความอดอยากหากแต่เกิดเพราะการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนการป้องกันอาจทำได้โดยส่งเสริมให้กินอาหารที่มีวิตามินบี๑ สูง  เช่น เนื้อหมู ถั่วเหลือง ผู้ที่ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงเป็นประจำ  ถ้าเลิกได้เป็นการดีที่สุดถ้าทำไม่ได้ก็ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงให้น้อยลง และควรทำในระหว่างมื้ออาหาร ผู้ที่ชอบกินปลาร้าดิบ ควรเปลี่ยนเป็นต้มให้สุกเสียก่อน  เลิกดื่มเหล้าเป็นประจำเวลาเกิดการเจ็บป่วยก็ไม่อดของแสลง  ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การหุงต้มทุกชนิดควรใช้น้ำแต่พอประมาณ เช่น ควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือ และรัฐควรวางมาตรฐานการสีข้าวของโรงสีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินบี๑ ไว้

โรคเหน็บชา, โรคเหน็บชา หมายถึง, โรคเหน็บชา คือ, โรคเหน็บชา ความหมาย, โรคเหน็บชา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu