ที่มาของวันเต่าโลก
องค์กรที่มีชื่อว่า American Tortoise Rescue ซึ่งเป็นองค์ที่มีภารกิจเพื่ออนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล ตั้งอยู่ในรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นถึงการให้ความรู้ต่อประชาชนเกี่ยวกับ และอยากปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า จึงได้กำหนดให้วันที่ 23 พฤษภาคมของทุกปีเป็น วันเต่าโลก (World Turtle Day) เนื่องจากในทุกวันนี้เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
สำหรับในประเทศไทยถือเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่งที่ต้องหันมาร่วมมือกันอนุรักษ์เต่าทะเลด้วยเช่นกัน ซึ่งในน่าน้ำประเทศเราก็มีเต่าทะเลถึง 4 ชนิดอาศัยอยู่ ได้แก่ เต่ากระ , เต่าตะนุ , เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า โดยในทุกๆ เต่าทะเลเหล่านี้ก็จะล้มตายด้วยหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงเข้าไปบุกรุกที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลมากเกินไป ทำให้ถูกใบพัดเรือฟันกระดองจนตลาด ตลอดจนที่ที่เต่าทะเลใช้สำหรับวางไข่ก็ได้ถูกทำลายและแปรสภาพเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เต่าไม่สามารถที่จะขึ้นวางไข่ได้ตามปกติ หรือหากวางแล้วลูกๆ เต่าโอกาสที่จะรอดชีวิตก็มีน้อย
อีกหนึ่งปัญหาที่บรรดาเต่าทะเลต้องเผชิญคือเรื่องของขยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำอึ้งเมื่อประเทศติดอยู่ในอันดับ 5 ที่มีการทิ้งขยะลงไปในทะเลมากที่สุด มีการพบเศษพลาสติก ซากอวนเก่าๆ ที่กลายเป็นขยะ เป็นสาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลเสียชีวิตในอันดับต้นๆ อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเต่าทะเลนั้นกินแมงกะพรุนเป็นอาหาร ถึงแม้ในแมงกะพรุนเองจะมีพิษอยู่ก็ตาม แต่เต่าทะเลมีความสามารถในการสะสมพิษในร่างกายได้อย่างไม่เป็นอันตราย ถึงแม้ว่าเต่าทะเลจะกินแมงกะพรุนตามห่วงโซ่อาหาร แต่ด้วยจำนวนของเต่าที่มีลดน้อยลง แมงกะพรุนจึงยังมีมาก และเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวอยู่เช่นเดิม
การอนุรักษ์เต่าทะเลประเทศไทย
ประเทศไทยได้มีการรณรงค์ร่วมกันอนุรักษ์เต่าทะเล โดยประกาศให้เต่าทะเลเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง มีกฎหมายห้ามล่า ห้ามครอบครอง ห้ามค้า หรือห้ามน้ำเข้า - ส่งออก ตลอดจนยังมีนักวิชาการได้ออกมาแนะนำว่าให่มีการอนุรักษ์ชายหาดไว้บางส่วนเพื่อเก็บเป็นพื้นที่ให้เต่าได้วางไข่ ไม่จำเป็นที่จะต้องโปรโมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง อีกทั้งก็ไม่แนะนำให้ทำการประมงที่ทำร้ายเต่า อย่าง การใช้อวนลาก อวนลอย หรือเบ็ดราวที่บริเวณชายฝั่งหน้าแหล่งวางไข่เต่าทะเล เนื่องจากเต่าทะเลเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอด เมื่อติดอวน หรือเบ็ดอยู่ใต้น้ำนานๆ ก็อาจจมน้ำตายได้ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการเพาะพันธุ์ลูกเต่าเพื่อปล่อยสู่ทะเล และสร้างเป็นศูนย์รักษาเต่าทะเลที่บาดเจ็บอีกด้วย
ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นนักอนุรักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแลเต่าทะเลเพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนก็สามารถช่วยกันดูแลได้ เริ่มต้นง่ายๆ ที่ตัวเอง อย่าง ลดการใช้ถุงพลาสติก , ทิ้งขยะพลาสติกให้เป็นที่ ไม่ทิ้งลงบนชายหาด , ช่วยกันเก็บขยะที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์ อย่าง เศษแก้ว และหมั่นเตือนคนรอบข้างอยู่เสมอว่าให้ตระหนักถึงเรื่องการทิ้งขยะลงในทะเลจะเป็นการไปทำร้ายเต่าทะเลและสัตว์ทะเลอื่นๆ มากขนาดไหน อย่ามองข้ามพฤติกรรมเล็กๆ เพราะอย่างไรสิ่งเหล่านี้ก็จะมีผลต่อโลกของเราโดยรวมสืบไป