ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การุณยฆาต คืออะไร ?, การุณยฆาต คืออะไร ? หมายถึง, การุณยฆาต คืออะไร ? คือ, การุณยฆาต คืออะไร ? ความหมาย, การุณยฆาต คืออะไร ? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การุณยฆาต คืออะไร ?

การุณยฆาต (Euthanasia) เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ อาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ปรานีฆาต (Mercy Killing) เป็นศัพท์ทางแพทยศาสตร์ หรือสามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า แพทยานุเคราะหฆาต (Physician-assisted suicide) นั้นหมายถึงการกระทำอยู่ 2 อย่าง อันได้แก่

  1. การทำให้บุคคลตายโดยเจตนาด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรง หรือวิธีที่ทำให้บุคคลนั้นตายอย่างสะดวก
  2. การงดเว้นการช่วยเหลือ หรือการรักษาบุคคล โดยปล่อยให้ตายลงไปเองอย่างสงบ

การกระทำเหล่านี้ก็เพื่อเป็นการระงับความเจ็บปวดสุดแสนสาหัสของบุคคลนั้น หรืออยู่ในกรณีที่บุคคลนั้นป่วยเป็นโรคที่ไร้ซึ่งหนทางเยียวยารักษา อย่างไรก็ตาม "การการุณยฆาต" ยังคงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอยู่ในบางประเทศ ซึ่งมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าคนในวิธีดังกล่าว ทั้งยังเห็นว่าเป็นการกระทำที่เป็นบาป นอกจากนั้น การุณยฆาต ยังอาจหมายถึง การทำให้สัตว์ตายด้วยวิธีการในข้างต้นได้อีกด้วย

 

ประเภทของการุณยฆาต

จำแนกตามประเภทของเจตนา

  1. บุคคลนั้นเกิดอาการเจ็บป่วยอย่างสาหัส หรืออาจได้รับทุกขเวทนาจากความเจ็บป่วย เป็นเหตุให้สามารถแสดงเจตนาให้บุคคลอื่นกระทำการุณยฆาตแก่ตนได้ ซึ่งในการนี้จะเรียกว่า "การุณยฆาตด้วยใจสมัคร" หรือ "การุณยฆาตจงใจ" (Voluntary Euthanasia)
  2. หากเป็นกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะแสดงเจตนา เช่น มีผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งหมายถึง ทายาทโดยธรรม ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อภิบาลตามกฎหมาย ไปจนถึงศาลอาจพิจารณาใช้อำนาจตัดสินใจให้กระทำการุณยฆาตแก่บุคคลนั้นแทนได้ การนี้จะเรียกว่า "การุณยฆาตโดยไม่เจตนา" หรือ "การุณยฆาตโดยไม่สมัครใจ" (Involuntary Euthanasia)

อย่างไรก็ตาม การการุณยฆาตโดยไม่จำนงยังคงเป็นที่ถกเถียงในเรื่องของความชอบธรรมตามกฎหมาย เหตุเพราะไม่มีหนทางที่จะทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่าผู้เจ็บป่วยต้องการให้กระทำการุณยฆาตแก่ตนเองจริงๆ

จำแนกตามวิธีการที่ลงมือ

  1. "การุณยฆาตเชิงรับ" (Passive Euthanasia) คือ การการุณยฆาตที่กระทำโดยการตัดการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้ได้การยอมรับมากที่สุดและเป็นวิธีที่ปฏิบัติกันให้สถานพยาบาลหลายแห่ง
  2. "การุณยฆาตเชิงรุก" (Active Euthanasia) คือ การการุณยฆาตที่กระทำโดยการให้สาร หรือวัตถุใดๆ ที่เป็นการเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย โดยวิธีนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน
  3. "การุณยฆาตเชิงสงบ" (Non-aggressive Euthanasia) คือ การการุณยฆาตที่กระทำโดยการหยุดให้ปัจจัยในการดำรงชัวิตแก่ผู้ป่วย วิธีนี้ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน

การจำแนกแบบอื่นๆ

จากข้อมูลในพจนานุกรมกฎหมายของ เฮนรี แคมป์แบล แบล็ก (Black's Law Dictionary) เข้าได้จำแนกการกรุณยฆาตไว้คล้ายคลึงกับสองประเภทที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในข้างต้น ได้แก่

  1. "การุณยฆาตโดยตัดการรักษา" (Passive Euthanasia หรือ Negative Euthanasia) คือ การปล่อยให้ผู้ป่วยตายลงไปเอง (Letting the patient go) ซึ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติกันทั่วไปในสถานบริการสาธารณสุขโดยใช้รหัส "90" (เก้าศูนย์) บันทึกลงในข้อมูลการรักษา สื่อความหมายว่าผู้ป่วยคนนี้ไม่ต้องการให้ทำการรักษาอีกต่อไป และไม่ต้องช่วยยืดยื้อชีวิตในวาระสุดท้ายอีก ปล่อยให้นอนตายไปอย่างสบายๆ
  2. "การุณยฆาตโดยเร่งให้ตาย" (Active Euthanasia หรือ Positive Euthanasia) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่
    • "การุณฆาตโดยเจตจำนงและโดยตรง" (Voluntary and Direct Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยเลือกที่จะปลงชีวิตจองตนเอง (Chosen and Carried out by the patient) อาทิ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขวางยาที่มีปริมาณมากเกินขนาดจนทำให้ผู้ยาตัวนี้เข้าไปเกิดตายได้ หรืออาจวางยาที่เป็นพิษเอาไว้ใกล้ๆ ตัวผู้ป้วยให้ตัดสินใจหยิบทานเอง
    • "การุณยฆาตโดยเจตจำนงแต่โดยอ้อม" (Voluntary and Indirect Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตัดสินใจเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่าหากการรักษาไปได้ไม่รอด ก็จะขอให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขกระทำการุณยฆาตแก่ตนเสีย โดยอาจจะแสดงความจำนงเป็นหนังสือ หรือเป็นพินัยกรรมชีวิต (Living Will) เอาไว้ก็ได้
    • "การุณฆาตโดยไร้เจตจำนงและโดยอ้อม" (Involuntary and Indirect Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยไม่ได้ร้องขอความตาย แต่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขสงเคราะห์ให้เพราะความสงสาร

 

การุณยฆาตกับความเห็นทางด้านกฎหมาย

ประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทยนั้นยังไม่มีกฎหมายที่เข้ามารองรับเรื่องการทำการุณยฆาตซึ่งถือเป็นการเร่งความตาย การุณยฆาต จึงแตกต่างจากการทำหนังสือแสดงเจตนา (Living Will หรือ Advance Directives) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ที่เป็นการแสดงเจตนาของบุคคลเพื่อกำหนดวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต ถือเป็นการรับรองสิทธิของผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง (Right to Self-determination) ที่ต้องการความตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยเครื่องมือต่างๆ จากเทคโนโลยีต่างๆ โดยกฎหมายในหลายประเทศก็ให้การยอมรับในเรื่องนี้ อาทิ กฎหมายของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และสิงคโปร์ จึงถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงของแพทย์บางกลุ่มที่มีความเห็นว่า การใช้สิทธิตามมาตรา 12 ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นกรณีการุณยฆาต

จากข้อมูลในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแสดงเจตจำนงของผู้ป่วยที่จะไม่รับการรักษาดังต่อไปนี้ พร้อมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง

  • มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
    • "บริการสาธารณสุข" หมายความว่า บริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
    • "ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข" หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
  • มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
  • มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง

แพทยสมาคมโลก

แพทยสมาคมโลก (World Medical Association) ได้จัดทำแนวปฏิบัติในเรื่องการการุณยฆาตในชื่อ "ปฏิญญาแพทยสมาคมว่าด้วยการุณยฆาต" (World Medical Association Declaration on Euthanasia) โดยที่ความตอนหนึ่งระบุว่า การกระทำโดยตั้งใจที่จะทำลายชีวิตของผู้ป่วย ถึงแม้การกระทำนี้จะเป็นการทำตามคำร้องของผู้ป่วย หรือญาติสนิทก็ตามถือว่าผิดหลักจริยธรรม แต่ไม่รวมถึงการดูแลของแพทย์ที่เคารพต่อความปราถนาของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตซึ่งประสงค์ที่จะเสียชีวิตตามธรรมชาต

 

การุณยฆาต คืออะไร ?, การุณยฆาต คืออะไร ? หมายถึง, การุณยฆาต คืออะไร ? คือ, การุณยฆาต คืออะไร ? ความหมาย, การุณยฆาต คืออะไร ? คืออะไร

ขอบคุณข้อมูลจาก : Wikipedia

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu