พระราชกำหนด
พระราชกำหนด, พระราชกำหนด หมายถึง, พระราชกำหนด คือ, พระราชกำหนด ความหมาย, พระราชกำหนด คืออะไร
เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจเรียกว่า กฎหมายบริหารบัญญัติการออกกฎหมายประเภทนี้ถือว่าเป็นการออกกฎหมายในกรณีพิเศษที่ถือเป็นข้อยกเว้น เพราะโดยทั่วไปแล้ว ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจออกกฎหมายโดยตรง การออกกฎหมายเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติโดยเฉพาะ สำหรับเหตุผลพิเศษที่ฝ่ายบริหารสามารถออกพระราชกำหนดได้มีอยู่ ๒ กรณีคือ
๑. ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
๒. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วน และลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน
พระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารออกมา ถือว่ามีผลบังคับเพียงชั่วคราวเฉพาะเรื่องเท่านั้น เพราะ รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องเสนอขออนุมัติต่อรัฐสภา ถ้ารัฐสภาอนุมัติ พระราชกำหนดนั้นจะมีผลบังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไปแต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นจะตกไปแต่การที่พระราชกำหนดใช้บังคับต่อไปไม่ได้นั้นไม่มีผลกระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น
นอกจากพระราชกำหนด ซึ่งฝ่ายบริหารสามารถออกได้เองแล้ว ฝ่ายบริหารยังสามารถออก "กฎหมายลำดับรอง" ได้ ถ้าหากกฎหมายที่เป็นแม่บท คือ รัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้
กฎหมายลำดับรอง ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและคำสั่งต่างๆ กฎหมายลำดับรองนี้ ฝ่ายบริหารจะบัญญัติได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายลำดับต้นที่เป็นแม่บทให้อำนาจไว้เท่านั้น ถ้าหากฝ่ายบริหารออกมาเกินขอบเขตที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ กฎหมายลำดับรองนั้นย่อมเป็นอันใช้บังคับไม่ได้
พระราชกำหนด, พระราชกำหนด หมายถึง, พระราชกำหนด คือ, พระราชกำหนด ความหมาย, พระราชกำหนด คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!