ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

แหล่งกำเนิดข้าวสาลี, แหล่งกำเนิดข้าวสาลี หมายถึง, แหล่งกำเนิดข้าวสาลี คือ, แหล่งกำเนิดข้าวสาลี ความหมาย, แหล่งกำเนิดข้าวสาลี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
แหล่งกำเนิดข้าวสาลี

          จากการสำรวจแหล่งพันธุกรรมของข้าวสาลี   และการขุดซากพืชจากชุมชนโบราณทำให้ทราบว่าแหล่งกำเนิดของข้าวสาลีอยู่ในเขตเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน อิรัก ตรุกี ซีเรียเลบานอน  อิสราเอล  และจอร์แดน ข้าวสาลีที่เป็นพันธุ์ป่านั้น มีลักษณะของเมล็ดและรวงที่สามารถแพร่พันธุ์ไปได้เอง คือเมล็ดมีเปลือกหุ้มและรวงเปราะเมื่อข้าวสุกเต็มที่ ส่วนพันธุ์ปลูกที่เกิดจากการคัดเลือกของมนุษย์นั้น ส่วนใหญ่มีลักษณะไม่ติดเปลือกและก้านรวงเหนียว ไม่หักออกจากกันเมื่อแก่
          ข้าวสาลีพันธุ์ที่โบราณที่สุดเป็นพวกดิพพลอยด์  มนุษย์ใช้เป็นอาหารเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยได้มีการค้นพบซากเมล็ดข้าวสาลี ชนิดนี้ในเขตซีเรียเหนือ  ซึ่งเป็นพวกมีลักษณะรวงเปราะและเมล็ดติดเปลือก มนุษย์คงเก็บข้าว
สาลีพวกนี้จากที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ  ระยะต่อมา  (ประมาณ ๙,๐๐๐ - ๙,๕๐๐ ปีมาแล้ว) ได้มีการปลูกข้าวสาลีดิพพลอยด์ที่มีลักษณะดีขึ้นกว่าเดิม คือ เมล็ดติดเปลือกและก้านรวงเหนียวข้าวสาลีชนิดนี้ได้แพร่กระจายออกไปยังแหลมบอลข่าน ลุ่มแม่น้ำดานูบ และลุ่มแม่น้ำไรน์ ครั้นถึงยุคสัมฤทธิ์และยุคเหล็กตอนต้น ข้าวสาลีชนิดนี้ได้แพร่หลายไปในยุโรปและตะวันออกใกล้
          ในยุคต่อมา ข้าวสาลีในธรรมชาติได้มีวิวัฒนาการไปเป็นพวกเตตราพลอยด์ โดยในขั้นแรกเป็นพวกเมล็ดติดเปลือก และรวงเปราะแล้วกลายเป็นชนิดเมล็ดติดเปลือกแต่ก้านรวงเหนียว ข้าวสาลีชนิดนี้แพร่หลายไปกว้างขวาง
มาก  พบว่ามีปลูกในอิรักเมื่อ  ๘,๐๐๐ ปีก่อน และขยายไปสู่อียิปต์ ยุโรป เอเชียยกลาง และอินเดีย เมื่อ ๖,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีปลูกในเอธิโอเปียเมื่อ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว  ต่อมาเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีก่อน ได้เกิดข้าวสาลีชนิดเตตราพลอยด์ ซึ่งเมล็ดไม่ติดเปลือก
          ข้าวสาลีชนิดที่เกิดขึ้นล่าสุดในวิวัฒนาการนั้น เป็นพวกเฮกซาพลอยด์ ซึ่งได้มีการขุดค้นพบซากข้าวสาลีชนิดนี้ในซีเรียเมื่อ  ๙,๐๐๐ ปีมาแล้ว ข้าวสาลีชนิดนี้มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีกว่าพวกดิพพลอยด์และเตตราพลอยด์จึงมีการปลูกแพร่หลายในส่วนต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบัน
          ข้าวสาลีที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้น อาจแบ่งออกเป็นพวก ๆ ได้ตามจำนวนโครโมโซมของพืช ได้แก่พวก
          ก. ดิพพลอยด์ (diploid) มีโครโมโซม ๗ คู่
          ข. เตตราพลอยด์ (tetraploid) มีโครโมโซม ๑๔ คู่
          ค. เฮกซาพลอยด์ (hexaploid) มีโครโมโซม ๒๑ คู่

แหล่งกำเนิดข้าวสาลี, แหล่งกำเนิดข้าวสาลี หมายถึง, แหล่งกำเนิดข้าวสาลี คือ, แหล่งกำเนิดข้าวสาลี ความหมาย, แหล่งกำเนิดข้าวสาลี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu