ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง
ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง, ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง หมายถึง, ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง คือ, ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง ความหมาย, ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง คืออะไร
เมื่อเรามีสถานที่ที่เหมาะสมแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงผึ้ง ได้แก่ หีบเลี้ยงผึ้ง คอน แผ่นรังเทียม กล่องนางพญา หมวกคลุมศีรษะ ซึ่งมีผ้าตาข่ายข้างหน้ากันผึ้งต่อย เหล็กงัดรัง มีด ค้อน ตะปู และเลื่อย เป็นต้น
ขั้นตอนสำคัญต่อมาคือ การจับผึ้งมาเลี้ยง ก่อนที่จะจับผึ้งต้องสำรวจดูว่ามีผึ้งอยู่ที่ใดบ้างและจับได้ง่าย ไม่ควรอยู่สูงจนเกินไป การจับผึ้งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑. เตรียมอุปกรณ์จับผึ้ง ได้แก่ หีบจับผึ้ง (๑๐x๑๒x๑๐ ลูกบาศก์นิ้ว) ซึ่งมีถุงตาข่ายปลาย เปิดติดอยู่ด้านล่าง หมวกตาข่ายกันผึ้งต่อย กาบมะพร้าว ไม้ขีดไฟ สิ่ว ค้อน และตะปู
๒. เมื่อพบรังผึ้งซึ่งอยู่ในโพรง สำรวจรูทางเข้าออกของผึ้ง ถ้ามี ๒ ทางให้ปิดเหลือเพียงรูเดียว จากนั้นเจาะรูทางเข้าออกให้กว้างพอสำหรับมือที่จะล้วงเข้าไปอย่างสะดวก ข้อควรระวังในขณะที่เจาะขยายทางเข้าออก ควรสวมหมวกตาข่ายและอุดรูทางเข้าออกไว้ด้วย เพราะแรงสั่นสะเทือน ขณะที่เจาะจะทำให้ผึ้งทหารที่เฝ้าหน้ารังเข้าโจมตีคนจับผึ้งได้
๓. ค่อยๆ เปิดรูทางเข้าออกที่เจาะไว้ จุดไฟที่กาบมะพร้าวให้มีแต่ควันไฟ เพื่อไล่ผึ้งให้ขึ้นไปอยู่เหนือโพรงให้หมด จากนั้นดึงรวงผึ้งออกมาพร้อมกับใช้ควันไล่ผึ้ง ถ้ามีผึ้งติดรวงรังออกมาควรตรวจดูให้ดี อย่าให้นางพญาหลุดหนีออกไปในขณะที่ดึงรวงผึ้งออกมาเป็นอันขาด ถ้านางพญาหนีหายไป การจับผึ้งรังนั้นเป็นอันไร้ผลเพราะการจับผึ้งไปโดยไม่มีนางพญาจะไม่สามารถเลี้ยงสำเร็จได้เลย ถ้าพบนางพญาให้จับใส่ในกล่องขังนางพญาทันที
๔. เมื่อดึงรวงผึ้งออกหมดแล้ว ใช้มือหรือไม้สอดเข้าไปในโพรงเพื่อวัดความสูงของโพรงแล้วเจาะรูเล็กๆ ประมาณ ๒x๒ ตารางนิ้ว ให้พอดีกับความสูงของโพรง จากนั้นเอาหีบจับผึ้งแขวนไว้เหนือรู โดยให้ถุงตาข่ายซึ่งติดอยู่ใต้หีบคลุมปิดปากรูอย่างมิดชิด
๕. ใช้ควันรมที่ปากรูใหญ่ทางด้านล่างอีกครั้ง ฝูงผึ้งจะหนีควันออกทางรูบนเข้าสู่หีบจับผึ้งตรวจดูในโพรงอีกครั้งว่าไม่มีผึ้งหลงเหลืออยู่แล้ว จึงผูกปากถุงให้แน่นโดยที่ประชากรผึ้งทั้งรังอยู่ในหีบ
๖. นำหีบจับผึ้งกลับไปเพื่อย้ายเข้าสู่หีบเลี้ยงมาตรฐาน โดยนำรวงผึ้งที่ดึงออกมาจากรังเดิมมาตัดให้พอดีกับขนาดคอน พยายามเลือกรวงผึ้งที่มีหลอดรวงตัวอ่อนของผึ้งระยะดักแด้มากๆ เมื่อวัดและตัดรวงผึ้งได้ขนาดแล้ว นำคอนมาทาบให้เส้นลวดทับรวงผึ้ง จากนั้นใช้มีดคมๆ กรีดตามรอยเส้นลวดให้ลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาของรวงผึ้งตามรอยเส้นลวดทั้งสามเส้น ใช้มือกดเส้นลวดให้ฝังลึกลงไปในรวงผึ้ง ใช้เชือกเส้นเล็กๆ ผูกรวงผึ้งให้ติดกับคอน แล้วแก้เชือกออกในวันที่สาม นำกล่องที่ขังนางพญามาผูกติดกับคอนในกรณีที่นางพญาอยู่ในหีบจับผึ้งอยู่แล้ว ให้ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย
๗. นำหีบจับผึ้งไปใส่ในหีบเลี้ยง เปิดปากถุงให้ผึ้งออกไปหานางพญาและห่อหุ้มรวงรังปิดฝาหีบเลี้ยงทิ้งไว้ ๑ คืน และเปิดปากรังตอนเช้าให้ผึ้งบินออกหาอาหารตามปกติ
อนึ่ง การจับผึ้งควรจับในตอนเย็นๆ เพราะมีประชากรผึ้งเกือบทั้งหมด เมื่อนำผึ้งไปใส่ในหีบเลี้ยงเป็นเวลามืดพอดี ตอนเช้าผึ้งก็จะออกหาอาหารตามปกติ แต่สถานที่เลี้ยงผึ้งควรห่างจากที่จับผึ้งอย่างน้อย ๓ -๕ กิโลเมตร มิฉะนั้นผึ้งจะบินกลับไปรังเดิมอีก
ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง, ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง หมายถึง, ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง คือ, ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง ความหมาย, ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!