เมื่อเริ่มแรกมนุษย์คิดสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อช่วยในการคิดเลข แต่เมื่อได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ได้แล้ว นอกจากจะใช้คิดคำนวณเลข แก้สมการทำการคำนวณที่ยุ่งยากและขั้นสูงได้แล้ว ก็ยังสามารถใช้ทำบัญชีควบคุมจำนวนสินค้าที่เก็บไว้ในคลัง คิดค่าแรงงานและทำบัญชีจ่ายเงินเดือน ออกใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ ดังได้กล่าวไว้ในตอนต่างๆ ข้างต้น
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางโซลิดสเตตได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากประกอบเป็นวงจร รวมลงบนแผ่นเล็กๆ ของสารกึ่งตัวนำเรียกว่า วงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี (IC; integrated circuits)ซึ่งสามารถบรรจุตัวทรานซิสเตอร์ และเกต (gate) ต่างๆ ไว้ได้เป็นจำนวนหมื่น และในอนาคต คาดว่าจะสามารถบรรจุตัวทรานซิสเตอร์และเกตต่างๆ ได้เป็นจำนวนล้าน เทคโนโลยีนี้เรียกว่า วงจรเบ็ดเสร็จชนิดใหญ่หรือแอลเอสไอ และชนิดใหญ่มากหรือวีแอลเอสไอ ทำให้สามารถสร้างส่วนควบคุมกลางหรือซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ลงบนแผ่นเล็กๆ เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ บริษัทอินเทล คอร์ปอเรชัน (Intel Corporation) แห่งสหรัฐอเมริกา สามารถประดิษฐ์ไมโครโพรเซสเซอร์ได้เป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการทางเทคนิคหลายอย่างบริษัทอื่นๆ อีกหลายบริษัทได้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ออกมาอีกหลายแบบหลายชนิด ซึ่งอาจบรรจุวงจรเพิ่มเติม เช่น แรม วงจรควบคุม และวงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา เป็นต้น รวมไว้ด้วย ไมโครโพรเซสเซอร์เหล่านี้มีขนาดเล็กมากน้ำหนักเบา สิ้นเปลืองพลังงานน้อย ทำงานด้วยความแน่นอน รวดเร็ว เชื่อถือได้มาก ราคาถูก และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากนัก ข้อดีที่สำคัญที่สุดคือ สามารถปรับปรุงแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบควบคุมต่างๆ ได้ง่ายมาก เพียงเปลี่ยนคำสั่งที่ป้อนให้กับเครื่องเท่านั้น ไมโครโพรเซสเซอร์ทำให้สามารถลดขนาดคอมพิวเตอร์ลงได้มาก ราคาถูกลง และสามารถนำไปใช้ในกิจการอื่นๆ หลายประการ นอกเหนือจากการคิดเลข การทำบัญชี ฯลฯ เช่น ในงานด้านอุตสาหกรรม ด้านการสื่อสาร ด้านการขนส่ง ด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย ด้านการแพทย์ ด้านการไฟฟ้ากำลัง และด้านการไฟฟ้า เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์เข้ามาควบคุมการทำงานส่วนใหญ่แบ่งออกได้เป็น ๓ ส่วนคือ
๑. ตัวไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้ในการควบคุมการทำงาน
๒. ส่วนความจำ ใช้เป็นส่วนจำข้อมูลและคำสั่ง
๓. ส่วนอุปกรณ์บัฟเฟอร์ (buffer) ใช้สำหรับพักข้อมูลชั่วคราวทั้งรับและส่ง เพื่อการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆ ในการทำงานของระบบดังกล่าวโดยอาศัยบัสไลน์ (busline)
ไมโครโพรเซสเซอร์ทำงานตามคำสั่งที่เก็บไว้ในส่วนความจำ และควบคุมการทำงานในการรับส่งข้อมูลของส่วนต่างๆ ตามคำสั่งที่ได้รับมา ระบบการทำงานในลักษณะนี้คือคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว หรือคอมพิวเตอร์
การที่คอมพิวเตอร์จะติดต่อสื่อสารกับส่วนรับส่งข้อมูลและแสดงผลได้ จะต้องมีเครื่องอินเทอร์เฟซ (interface) เข้ามาช่วยรับสัญญาณที่ส่งจากส่วนรับส่งข้อมูล ซึ่งเป็นรหัสสัญญาณคนละชนิดกัน แล้วเปลี่ยนแปลงสัญญาณให้เป็นรหัสใหม่ที่เครื่องนั้นๆ รับได้ นอกจากนี้เครื่องอินเทอร์เฟซยังช่วยเปลี่ยนแปลงรหัสแสดงผล ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าขนาดเล็กให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องต่างๆ เช่น หมุนมอเตอร์ ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ควบคุมเครื่องปิดเปิดไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องอินเทอร์เฟซจะมีรหัสบอกให้ทราบด้วยว่าเมื่อไรคอมพิวเตอร์จะต้องติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกตัวใด
การติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับส่วนรับส่งข้อมูลจะทำได้ด้วยการเขียนชุดคำสั่งสั่งคอมพิวเตอร์ทำการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ภายนอก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ แบบ คือ
๑. การติดต่อสื่อสารแบบธรรมดา (direct memory access) เป็นการติดต่อสื่อสารข้อมูลแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ภายนอกทันที และอุปกรณ์ภายนอกจะต้องพร้อมอยู่เสมอที่จะทำตามสัญญาณคำสั่งนั้น
๒. การติดต่อสื่อสารแบบมีเงื่อนไข (conditionalmemory access) การติดต่อสื่อสารแบบนี้ คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณทำการตรวจสอบอุปกรณ์ภายนอกว่าอยู่ในสภาวะพร้อมหรือไม่ ถ้าพร้อมแล้วจะส่งสัญญาณให้อุปกรณ์นั้นๆ ทำงาน วิธีการติดต่อสื่อสารแบบนี้มีข้อเสียที่คอมพิวเตอร์ต้องเสียเวลารอคอยไปในการตรวจสอบ
๓. การติดต่อสื่อสารแบบอินเทอร์รัพต์คำสั่ง(interrupt program) เป็นการติดต่อสื่อสารโดยที่อุปกรณ์ภายนอกจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้คอมพิวเตอร์หยุดชั่วคราวเพื่อทำตามคำสั่งย่อยที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ภายนอกนั้น เมื่อทำเสร็จและส่งสัญญาณไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กลับมาทำตามคำสั่งที่ค้างอยู่
วิธีการติดต่อแบบนี้มีประสิทธิภาพสูง สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้จำนวนมากในคราวเดียวกัน และทำงานสัมพันธ์กันได้เป็นอย่างดี
การเขียนชุดคำสั่งสำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ จะใช้ภาษาระดับต่ำ
สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์
สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์, สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ หมายถึง, สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ คือ, สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ ความหมาย, สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ คืออะไร
สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์, สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ หมายถึง, สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ คือ, สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ ความหมาย, สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!