ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ต้นตะกู, ต้นตะกู หมายถึง, ต้นตะกู คือ, ต้นตะกู ความหมาย, ต้นตะกู คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ต้นตะกู

ต้นตะกู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น ๆ ของต้นตะกู : กระทุ่ม (มีที่มาจากคำว่า กทัมพ ในภาษาบาลี)
กรุงเทพฯ เรียก : กระทุ่ม , กระทุ่มบก
ภาคเหนือเรียก : ตุ้มหลวง , ตุ้มก้านซ้วง , ตุ้มก้านยาว
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก : ปะแด๊ะ เปอแด๊ะ สะพรั่ง
ขอนแก่น : ตุ้มพราย , ทุ่มพราย
สุโขทัย จันทบุรี นครศรีธรรมราช : ตะกู
ภาคตะวันออกเรียก : แคแสง , ตะโกส้ม , ตะโกใหญ่
ภาคใต้เรียก : ตุ้มขี้หมู , โกหว่า , กลองประหยัน

                                                 

          ไม้ตะกูพบขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศ จากเหนือสุด คือ เชียงราย เชียงใหม่ จรดใต้สุด สตูล สงขลา และจากตะวันออก คือ ตราด จันทบุรี จรดตะวันตก คือ กาญจนบุรี อุทัยธานี แต่ตะกูมักจะขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ดินเป็นดินตะกอนที่ถูกน้ำพัดพามาทับถมเป็นเวลานาน เป็นดินลึก ระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง นอกจากนี้ยังพบกลุ่มไม้ตะกูขึ้นอยู่ตามสองข้างถนนตัดใหม่ซึ้งตัดผ่านป่าดิบชื้นหรือป่าดิบแล้งที่มีความชุ่มชื้นสูงทั่วๆ ไป รวมทั้งตามริมลำธารในบริเวณไร่ร้างซึ้งป่าดิบซื้นหรือป่าดิบแล้งถูกแผ้วถางลง

          ไม้ตะกูเป็นไม้เศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมสำหรับปลูกสวนป่า เนื่องจากเป็นไม้โตเร็วมากสามารถตัดโค่นเพื่อขายหรือใช้งานได้ภายในช่วงเวลาที่ไม่ยาวนาน จึงเหมาะสำหรับการปลูกเชิงเศรษฐกิจและปลูกใช้งาน เนื้อไม้สวยแข็งแรง ทนทาน มอดปลวกไม่รบกวน ปลูกได้ทุกภาคของไทย

                                                 

          ตะกู เป็นไม้ที่โตเร็ว ต้นสูง เปลา ตรง เนื่องจากตะกูจะทำการสลัดกิ่งตลอดเวลาที่มีการเจริญเติบโต ทำให้ ง่ายต่อการแปรรูปได้ปริมาณเนื้อไม้ต่อต้นสูง ได้ขนาดและความยาวตามที่ต้องการ ทนน้ำท่วมขังและ สามารถเจริญเติบโตได้หลังน้ำลด แต่ตะกู ไม่ทนหนาว ที่อุณหภูมิลดต่ำลงจนถึงจุดเยือกแข็ง ตะกูที่มีการตัดโค่นสามารถงอกขึ้นใหม่ได้อีก ทำให้ผู้ปลูกไม่ต้อง ลงทุนซื้อ ต้นกล้าอีกในหลายรอบ

          ไม้ตะกูเป็นไม้ที่มีสีเหลืองนวล เนื้อไม้ละเอียด น้ำหนักเบามีความแข็งแรงทนทาน เนื้อไม้มีความเหนียว ไม่แตกหักง่าย มีคุณสมบัติป้องกันมอดแมลงในตัว จึงเป็นที่นิยม นำมาสร้างบ้าน ทำไม้พื้น ไม้กระดาน และอื่นๆ

                         



ประโยชน์ของต้นตะกู

          ตะกูมีเนื้อไม้ละเอียด สีเหลืองหรือขาว ใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และงานประดิษฐ์ที่ทรงคุณค่ามากมาย เนื่องจากไม้ตะกูถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง จึงถูกนำมาแกะสลักเป็นรูปเคารพต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่นิยมในหลายประเทศทั่วโลกนิยมปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการใช้สอย และปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ หรือไม้เศรษฐกิจ ในประเทศทางแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

          สาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ตะกูถูกจัดเป็นไม้มงคล เพราะในอินเดียเชื่อกันว่า เป็นต้นไม้ที่โปรดปรานของพระกฤษณะ และชาวอินเดียนิยมนำดอกตะกู ไปใช้ในการบูชาเทพเจ้า และยังนิยมนำดอกตะกูไปสกัดเพื่อเป็นส่วนประกอบของหัวน้ำหอม ในประเทศไทยการพบเห็นโดยทั่วไป มักจะพบเป็นกลุ่มอยู่ในป่า สำหรับในบ้านคนหรือตามข้างทางทั่วๆ ไปมักจะพบขึ้นเป็นคู่เสมอ โดยจะมีระยะห่างกันเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตร

          การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษ ที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปทำกระดาษเขียนหนังสือและกระดาษหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี และยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง

          นอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติดีเด่นในแง่ที่สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ โดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5-10 ปี และจากเอกสารไม้อัดไทยบางนาได้แนะนำว่า ไม้ตะกูเป็นความหวังใหม่ในอนาคตสามารถปลูกเป็นสวนป่าเอกชน เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุง

          ไม้ตะกูนับว่าเป็นไม้เศรษฐกิจยุคใหม่เพื่อตัด และแปรรูป ป้อนให้กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง



ลักษณะของไม้ตะกู

          ลักษณะของไม้ตะกู เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น เปลือกแตกเป็นร่องละเอียดตามยาว สีออกเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่

          ลักษณะดอก ดอกมีสีเขียวอมเหลืองเมื่อแก่จะกลายเป็น สีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม กลุ่มดอกลักษณะกลม ความโตประมาณ 3.5 - 7 ซม. กลุ่มดอกจะออกในตำแหน่งปลายกิ่ง ในกลุ่มดอกมี กลีบดอกอัดแน่นจำนวนมากแต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ใต้กลีบดอกมีกระเปาะเมล็ด 4 กระเปาะ มีเมล็ดข้างใน เมื่อผลแก่เต็มที่ จะร่วงลงตามธรรมชาติ

                     

          เมล็ดตะกู เมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 3 - 4 สัปดาห์หลังการเพาะแต่กว่าจะย้ายต้นกล้าลงถุงพลาสติกได้ต้องรอให้อายุ 2 - 3 เดือน แล้วเลี้ยงต้นกล้าไว้ในถุงย้ายซ้ำอีกอย่างน้อย 4 เดือน จึงจะได้ต้นกล้าที่สูงประมาณ 25 - 30 ซม.ซึ่งพร้อมที่จะนำไปปลูกได้ จากเมล็ดไม้ตะกูกว่าจะได้ต้นกล้าที่ปลูกได้ต้องใช้เวลาประมาณ 6 - 7 เดือน

                     



วิธีการปลูกต้นตะกู

          1. ขุดหลุมกว้าง 30 x 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 40 เซนติเมตร ตากแดดทิ้งไว้สักระยะ เพื่อฆ่าเชื้อโรค

                     

          2. ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม 250 - 300 กรัม แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันกับ ดินเก่า อาจจะใส่ฟูราดานเพื่อป้องกันพวกไส้เดือนฝอยด้วยก็ดี แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

          3. ปลูกต้นกล้าพันธุ์ตะกู ควรระมัดระวังการฉีกถุงไม่ให้ดินในถุงแตก หลังจากนั้น กลบดินให้แน่น โดยให้คอรากของต้นกล้าเสมอกับผิวดิน อย่าให้เป็นแอ่งน้ำขังบริเวณ หลุมปลูก แล้วรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง

          4. ควรรดน้ำสม่ำเสมอ ในช่วงเริ่มต้นปลูก 4-5 เดือนแรก เพราะจะทำให้ต้นกล้าไม่ ชะงักการเจริญเติบโต หรือจะให้น้ำตลอดยิ่งดีเพราะจะทำให้ไม้โตเร็วได้ปริมาณเนื้อไม้ดี

          5. ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคม และเดือนกันยายน-ตุลาคม ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตรา ประมาณ 400 กรัม/ต้น หรือจะเป็นปุ๋ย คอกปุ๋ยหมักก็ได้

          6. ระยะปลูก 4 x 4 เมตร (100 ต้น/ไร่) หรือ 3.5 x 3.5 เมตร (130 ต้น/ไร่) หรือ 3 x 4 ได้ ประมาณ 130 ต้น/ไร่

                     

          สำหรับการปลูกตะกูให้ได้ปริมาณเนื้อไม้ต่อต้นสูง ควรให้ตะกู มีระยะห่างในการหาอาหาร และเจริญเติบโต โดยที่ตะกูไม่แย่งอาหารกันเองในระยะที่ต้นตะกูมีขนาดใหญ่และสมบูรณ์เต็มที่ ระยะการปลูกที่แนะนำคือ ระยะ 4 x 4 เมตรหรือ 4x6 เมตร ซึ่งจะทำให้ได้ปริมาณไม้ต่อต้นสูง ในกรณีปลูกไม้ถี่เกษตรกรต้องสามารถดูแลให้น้ำและปุ๋ยแก่ตะกูได้ทั่วถึง และเมื่อถึงระยะตัดฟันแล้วหากเกษตรกรยังไม่ทำการขายไม้ เมื่อเวลาผ่านไปต้นไม้ก็จะโตขึ้นและมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม้ที่ได้จะแปรรูปได้ไม้ขนาดใหญ่ขึ้น มูลค่าไม้ก็สูงขึ้นตามขนาด ยิ่งเก็บไว้นานยิ่งทวีมูลค่า

                                       

          ช่วงเวลาการปลูกตะกูที่เหมาะสม จะเป็นช่วงต้นฤดูฝนหรือก่อนฤดูฝนเล็กน้อยเพื่อให้ตะกูได้น้ำตลอดระยะฤดูฝนการปลูกตะกูในระยะแรกจำเป็นต้องมีการให้น้ำ เพื่อให้ตะกูมีการจริญเติบโตที่ดี และควรมีการให้น้ำแก่ตะกูในช่วงที่เกิดความแห้งแล้งฝนทิ้งช่วงหรือ ในกรณีที่ปลูกตะกูนอกฤดูฝน



บริหารจัดการโครงการปลูกไม้โตเร็ว ต้นตะกู (พันธุ์ก้านแดง)

รับจ้างปลูก ดูแล บริหารจัดการโครงการปลูกไม้โตเร็ว ต้นตะกู (พันธุ์ก้านแดง)

ถ้าท่านมีที่ดิน และต้องการปลูกต้นตะกู ทางเรามีบริการปลูก และรับดูแลแทนท่าน เป็นระยะเวลา 5 ปี จนกระทั่งขายเนื้อไม้ได้

ขอบเขตงาน

*  เตรียมพื้นที่ปลูก ระยะปลูก  3 x 3 ม. (177 ต้น/ไร่ x 10 ไร่) = 1,770 ต้น

*  ปลูกต้นกล้าต้นตะกู พันธุ์ก้านแดง

*  ดูแลรักษา บริหารจัดการโครงการ เป็นระยะเวลา 5 ปี

 ประมาณเงินลงทุนปลูก และดูแลสวนป่า ไม้ตะกู (พันธุ์ก้านแดง) 10 ไร่

* ปีที่ 1 จำนวนเงิน  287,150 บาท

* ปีที่ 2 จำนวนเงิน  112,000 บาท

* ปีที่ 3 จำนวนเงิน  60,000 บาท

* ปีที่ 4 จำนวนเงิน  60,000 บาท

* ปีที่ 5 จำนวนเงิน  60,000 บาท

* รวมเงินลงทุนทั้งหมด 5 ปี เป็นเงิน  579,150  บาท

ผลตอบแทนจากการขาย  1,770 ต้น x 1,000 บาท/ต้น เป็นเงิน  1,770,000 บาท

ตาราง การปลูกและดูแลสวนไม้ตะกู 10 ไร่

รายการ

ประมาณการลงทุน

รวม

ปีที่ 1

ปีที่ 2

ปีที่ 3

ปีที่ 4

ปีที่ 5

1:เตรียมดินปลูก และค่าแรงปลูก

25,000

-

-

-

-

25,000

2.ค่าต้นกล้า พร้อมปลูกซ่อม

168,150

-

-

-

-

168,150

3ดูแลกำจัดวัชชพืช ปุ๋ย ทำแนวกันไฟ

94,000

112,000

60,000

60,000

60,000

386,000

รวม เงินลงทุน

287,150

112,000

60,000

60,000

60,000

579,150

เงินลงทุน สะสม

287,150

399,150

459,150

519,150

579,150

 

 สนใจติดต่อ

1. คุณดายุทธ  รักมะณี     โทร  081 911 1764

2. คุณวรภัทร  ทรวงแสวง  โทร  084 0123451,  086 789 8845

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

    www.agroforestrysystem.com

    www.forestryfarm.com

      

ต้นตะกู, ต้นตะกู หมายถึง, ต้นตะกู คือ, ต้นตะกู ความหมาย, ต้นตะกู คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu