ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา, การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา หมายถึง, การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา คือ, การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา ความหมาย, การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา

          “ฮาลา-บาลา” เป็นป่าดิบชื้นติดชายแดนภาคใต้ บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี มีพื้นที่ครอบคลุม จ. นราธิวาส และ จ.ยะลา มีแนวป่าติดกับป่าเบลุ่ม รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำที่สำคัญ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำโกลก ลักษณะพื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีพันธุ์ไม้สำรวจพบใหม่และพบที่เดียวในโลก เช่น ใบไม้สีทอง และเป็นแหล่งกำเนิดของดาหลาดอกขาว  “ฮาลา-บาลา” จึงเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญในการศึกษาวิจัยด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน


หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้น ฮาลา-บาลา จ. นราธิวาส

          ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดย โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับป่าภาคใต้ และสถานีวิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา รวมทั้ง ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร จัดตั้ง “หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้น ฮาลา-บาลา จ. นราธิวาส” ในพื้นที่ป่าฮาลา-บาลา เพื่อสนับสนุนการวิจัย และสร้างเครือข่ายในการทำงาน กับหน่วยงานภายในและภายนอกพื้นที่ ได้แก่ โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับป่าภาคใต้ สถานีวิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา   ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร และมหาวิทยาลัยเครือข่าย รวมทั้งองค์กรชุมชน เช่น เครือข่ายรักษ์ป่าบาลา เพื่อนชาวพรุ รักษ์นกเงือก ประกอบด้วย โรงเรียนสังกัดตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          ทั้งนี้เพื่อพัฒนาพื้นที่ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ที่นำไปใช้ในงานด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร รวมทั้งนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่นๆ เช่น ด้านสาธารณสุข และด้านเกษตรกรรม การดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่ด้านหนึ่งคือ การพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา โดยการนำทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น สนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพร พืชอาหาร ไม้ตัดดอก เช่นดาหลาดอกขาว ดาหลาดอกแดง โดยจัดตั้งห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ทำการขยายพันธุ์ ส่งมอบให้ชุมชนทดลองปลูก และขยายในพื้นที่ของชาวบ้าน



เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้

          ปัจจุบันมีการปลูกดาหลาในแปลงขนาดใหญ่ 3 ราย และกระจายในสวนยางพารา สวนผลไม้ ของชาวบ้าน บ.บาลา บ.เจ๊ะเด็ง ผลผลิตจำหน่ายในชุมชนราคาดอกละ 3-5 บาท และส่งให้กับตลาดไม้ตัดดอก โดยตัดดอกดาหลาขาวและแดง ดอกกระทือเหลือง ให้กับบริษัทเอกชนส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ในระยะแรกประเทศญี่ปุ่นต้องการดอกกระทือเหลือง 100 ดอกต่อสัปดาห์ จากการพัฒนาอาชีพปลูกไม้ตัดดอก ชุมชนได้เรียนรู้เทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาดอกไม้ และคัดเลือกดอกคุณภาพดี ทำให้ราคาต่อดอกสูงขึ้น ชุมชนได้รวบรวมดอกดาหลาสายพันธุ์ต่างๆ เป็นฐานพันธุกรรม และมีงานวิจัยในการผสมพันธุ์ เพื่อปรับปรุงให้ได้พันธุ์ที่หลากหลายมากขึ้น และจากการค้นพบกระชายป่า ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ใหม่ของโลก มีกลิ่นหอม และชาวบ้านใช้แก้ไข้ตัวร้อน จึงมีการขยายพันธุ์ และพัฒนาเป็นชาสมุนไพร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)


การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา, การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา หมายถึง, การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา คือ, การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา ความหมาย, การพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนรอบป่าฮาลา-บาลา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu