ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

Boycott และ คว่ำบาตร?, Boycott และ คว่ำบาตร? หมายถึง, Boycott และ คว่ำบาตร? คือ, Boycott และ คว่ำบาตร? ความหมาย, Boycott และ คว่ำบาตร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

Boycott และ คว่ำบาตร?

คำว่า “คว่ำบาตร” หรือ boycott มีที่มาและความหมายว่ากระไร

(ภาคย์ / จ.อุดรธานี)

คำตอบ

วิทยากร เชียงกูล อธิบายคำว่า การคว่ำบาตร(boycott) ไว้ในพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์การเมือง ดังนี้

การคว่ำบาตร มาตรการทางด้านแรงงานสัมพันธ์หรือการเมืองในการสั่งห้ามการติดต่อทางเศรษฐกิจกับบุคคล บริษัท สถาบัน หรือประเทศที่ผู้สั่งห้ามไม่เห็นด้วย คำนี้มีกำเนิดมาจากไอร์แลนด์ เมื่อชาวนาและพ่อค้าใช้ยุทธวิธีต่อต้านนายร้อยเอก Ch. Boycott ตัวแทนของเจ้าที่ดินไอริชในปี ค.ศ.๑๘๘๐ ปัจจุบันการคว่ำบาตรอาจจะหมายถึงการที่สหภาพแรงงานใช้เป็นอาวุธในการต่อต้านนายจ้างที่ไม่ทำตามสัญญา หรือละเมิดสิทธิของคนงาน การคว่ำบาตรยังหมายถึงการประท้วงทางการเมืองต่อนโยบายของประเทศ หรือรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งด้วย เช่น การที่สหรัฐฯ ในช่วงสงครามเย็น ห้ามพ่อค้าอเมริกันสั่งสินค้าจากประเทศสังคมนิยม

&hellip &hellip &hellip &hellip &hellip &hellip &hellip &hellip &hellip &hellip &hellip ..

คุณ "ซองคำถาม" ตอบเรื่อง การคว่ำบาตร ไว้ในหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม เล่ม ๔ โดยเทียบเคียงกับคำ บอยคอต (boycott) แล้วเล่าที่มาของคำ บอยคอต แต่ไม่เห็นอธิบายเลยว่า การคว่ำบาตรนั้น มีที่มาอย่างไร ทำไมพระ ถึงต่อต้าน คนบางคน ด้วยการคว่ำบาตร

(สร้อยสลา / กรุงเทพฯ)

ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง "ซองคำถาม" มัวห่วงคำว่า boycott เลยลืมเล่าที่มาของ การคว่ำบาตรเสียสนิท

คว่ำบาตร คือการประกาศตัดสัมพันธ์ กับผู้ที่ ทำผิดทางศาสนา อย่างแรง คฤหัสถ์ ที่ถูกสงฆ์คว่ำบาตร คือผู้ทำความผิดแปดอย่าง ได้แก่ ๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแก่สงฆ์ ๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่สงฆ์ ๓. ขวนขวายเพื่อให้พระอยู่ไม่ได้ ๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย ๕. ยุยงให้สงฆ์แตกกัน ๖. ตำหนิติเตียนพระพุทธเจ้า ๗. ตำหนิติเตียนพระธรรม ๘. ตำหนิติเตียนพระสงฆ์

ผู้ใดเป็นอุบาสกอยู่แล้ว ยังทำความพยายามอย่างนี้ สงฆ์เห็นว่า หากจะติดต่ออยู่ ก็กำเริบ ทำความเสื่อมเสียแก่ พระศาสนายิ่งขึ้น ก็ทำพิธีคว่ำบาตรเสีย

พิธีคว่ำบาตรนั้น สงฆ์ทั้งหมด จะประชุมกัน รูปหนึ่ง ประกาศความผิด ของผู้ที่จะคว่ำบาตร แล้วประกาศคว่ำบาตร สองครั้ง (ญัตติทุติยกรรม) เมื่อคว่ำบาตรแล้ว ภิกษุสามเณร จะต้อง งดรับบิณฑบาตของเขา งดรับของทุกอย่าง งดการติดต่อทั้งสิ้น จนกว่าเขา จะสำนึกผิด มาขอขมาสงฆ์ สงฆ์จึงทำพิธี หงายบาตรให้ โดยมีการประชุมสงฆ์ ทำนองเดียวกับ ตอนคว่ำบาตร แต่ตอนหงายบาตร ให้อุบาสกผู้นั้น อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ด้วย

ต่อมา "คว่ำบาตร" กลายเป็นสำนวน มีความหมายถึง การตัดออกจาก สมาคม ไม่คบหาด้วย พระ จึงไม่ได้เป็นฝ่าย คว่ำบาตร ต่อคฤหัสถ์เท่านั้น คฤหัสถ์ก็สามารถ "คว่ำบาตร" ไม่ตักบาตรทำบุญ กับพระที่ตนเห็นว่า มีวัตรปฏิบัติ ไม่เหมาะไม่ควรได้

ข้อมูลนี้ได้มาจาก สารานุกรมไทย เล่มที่ ๑๔ (อนุภาค) ของ อุทัย สินธุสาร

"ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี"

Boycott และ คว่ำบาตร, Boycott และ คว่ำบาตร หมายถึง, Boycott และ คว่ำบาตร คือ, Boycott และ คว่ำบาตร ความหมาย, Boycott และ คว่ำบาตร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu