ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง”?, ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง”? หมายถึง, ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง”? คือ, ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง”? ความหมาย, ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง”? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง”?

มีคำถามคาใจว่า ทำไมจึงเรียก นักเต้นหญิง ประจำวงดนตรีลูกทุ่งว่า “หางเครื่อง”

คำตอบ

คำตอบเดิมในซองคำถาม
เอ&hellip ยังไงไม่ทราบ ใครรู้ช่วยบอกที

&“ ซองคำถาม&” รู้เพียงว่า สำนวน &“ หางเครื่อง&” เดิมเป็น สำนวนที่ใช้เฉพาะกับ วงดนตรีไทยเดิม เป็นคำเรียก เพลงที่เล่นต่อท้ายจาก เพลงสามชั้น หรือเพลงเถา ต่อมา มีผู้นำสำนวน &“ หางเครื่อง&” ไปใช้กับ วงดนตรีลูกทุ่ง ซึ่งผู้จัดการวง คิดว่า การมีนักร้อง ออกมาร้องเพลงเฉย ๆ ไม่ดึงดูด ความสนใจเท่าที่ควร จึงคิดให้มี ผู้หญิงแต่งตัวสวย ๆ ออกมาเต้น ตามจังหวะเพลง คล้าย ๆ กับ รีวิวประกอบเพลง เป็นชุด ๆ ไป บางครั้ง ก็มีผู้ชาย ร่วมเต้นด้วย ปัจจุบัน วงดนตรีลูกทุ่ง ต้องมีหางเครื่องทุกวง ไม่เช่นนั้น คนดูไม่ชอบ

อ้อ ถ้าเป็นนักเต้น สำหรับนักร้อง เพลงไทยสากล หรือ &“ ไทยพ็อป&” เขาไม่เรียก หางเครื่อง แต่เรียกทับศัพท์ว่า &“ แดนเซอร์&”

คำตอบเพิ่มเติมจาก นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 246 สิงหาคม 2548

ก่อนที่คำว่า &“ หางเครื่อง&” จะถูกนำมาใช้เรียกคนที่ออกมาเต้นประกอบการแสดงดนตรีลูกทุ่ง หางเครื่องในความเข้าใจของคนไทยเมื่อ ๔๐ ปีก่อน หมายถึงเครื่องดนตรีพวกฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง ลูกแซ็ก ไม้แต๊ก ที่ใช้เคาะให้จังหวะอยู่ข้างหลังวงดนตรี ไม่ใช่ผู้หญิงสาวๆ นุ่งน้อยห่มนิด ออกมายักย้ายส่ายสะโพก ให้บรรดาขี้เมาลวนลามด้วยสายตาและท่าทางอย่างทุกวันนี้

กล่าวกันว่าการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่งในสมัยแรกๆ นั้นใช้เวลา ๓-๔ ชั่วโมง และรีวิวประกอบเพลงก็มีไม่มากนัก จึงมีการให้คนในวงที่ว่างงานอยู่ออกมาช่วยตีเครื่องเคาะเครื่องให้จังหวะต่างๆ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ ไม้แต๊ก แทมบูรีน ประกอบการร้องของนักร้องบนเวที ช่วยให้จังหวะเพลงเด่นชัดขึ้น มีความไพเราะน่าฟังขึ้น เรียกกันว่า &“ เขย่าเครื่องเสียง&” หรือ &“ เขย่าหางเครื่อง&”

ส่วน &“ หางเครื่อง&” ในความหมายอย่างปัจจุบันนั้น ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าถือกำเนิดขึ้นเมื่อไร แต่ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เขียนถึงสาวที่ออกมาเต้นประกอบเพลงลูกทุ่งไว้ใน เรื่องของละครและเพลง ว่า ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อเริ่มมีวงดนตรีลูกทุ่งเกิดขึ้นนั้น นักร้องเพลงลูกทุ่งทั้งหญิงและชายแต่งตัวอย่างบ้านนอกบอกลักษณะลูกทุ่งแท้ๆ ต่อมาจึงค่อยปรากฏวิวัฒนาการเรื่องเครื่องแต่งกายเป็นแบบตะวันตก กล่าวคือ นักร้องชายสวมชุดสากล ส่วนนักร้องหญิงก็สวมกระโปรงแบบชาวตะวันตก ด้านหลังนักร้องมีหญิงสาวยืนเต้นไปมาตามจังหวะเพลง

&“ &hellip บางวงมีสาวๆ แต่งสมัยใหม่มายืนเข้าแถวหมุนไปหมุนมา (&hellip ) ดูคล้ายกับจะเป็นระบำ (&hellip ) สมัยนั้นมีระบำสาวอยู่สองคนเท่านั้น แล้วก็ไม่เห็นมีอีก ต่อมาจึงมีระบำหญิงเป็นคณะเกิดขึ้น เป็นระบำหมู่ของนายหรั่งหัวแดง เรียกกันว่า &“ ระบำนายหรั่ง&” เต้นเป็นแถวเข้ากับเพลงดนตรีสากล มักเต้นตามงานวัด และมีโรงเล่นที่ตลาดบำเพ็ญบุญ ซึ่งชั้นบนเป็นโรงละครอยู่ริมถนนเจริญกรุง ตรงข้ามศาลาเฉลิมกรุง ระบำนายหรั่งหัวแดง (ผมแดงคล้ายฝรั่ง) มีชื่ออยู่นาน วงลูกทุ่งเวลานี้ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน&”

อาจเป็นไปได้ว่าหางเครื่องได้รับอิทธิพลมาจากระบำนายหรั่งอย่างที่ขุนวิจิตรมาตราเขียนไว้ แต่คนเก่าคนแก่ที่คลุกคลีอยู่ในวงการลูกทุ่งมาตั้งแต่ยังไม่มีหางเครื่องเกิดขึ้น ให้ความเห็นไปทำนองเดียวกันว่า หางเครื่องน่าจะวิวัฒนาการมาจาก &“ รำวง&” ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านของไทยมากกว่า

ในหนังสือ กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค ๒ รศ. ดร. จินตนา ดำรงค์เลิศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนบทความว่าด้วยวิวัฒนาการและองค์ประกอบของเพลงลูกทุ่ง และได้กล่าวถึงหางเครื่องไว้ตอนหนึ่งว่า

&“ ในตอนแรก ผู้ที่ออกมาเขย่าหางเครื่องมีทั้งหญิงและชาย ไม่ได้เป็นคณะหรือมีรูปแบบตายตัว บางครั้งก็เป็นตัวตลกประจำวง บางครั้งก็เป็นนักร้อง ต่อมาจึงวิวัฒนาการขึ้น ใช้ผู้หญิงสวยๆ ออกมาเขย่าหางเครื่อง แต่ก็ยังไม่ออกลีลาเต้น เพียงเดินให้เข้ากับจังหวะเพลงเท่านั้น เพลงส่วนใหญ่จะมีจังหวะบีกิน ช่าช่าช่า (สามช่า) โบเลโร่ และรำวง การแต่งกายก็ไม่เหมือนกัน บางคนสวมชุดกระโปรงยาว บางคนสวมชุดกระโปรงสั้น สุดแล้วแต่เจ้าตัวจะซื้อหามาใส่กันเอง

&“ ต่อมาช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๐ ผู้ที่ออกมาเขย่าหางเครื่องประกอบจังหวะการร้องเพลงลูกทุ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น ๔-๗ คน จะแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม โดยแต่งชุดเดียวกันตลอดการแสดง ไม่เปลี่ยนหลายชุดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน วงดนตรีที่มีการเต้นเขย่าหางเครื่องประกอบที่เป็นที่กล่าวขวัญถึงกันในยุคนี้ได้แก่วงของ สุรพล สมบัติเจริญ และวงของ สมานมิตร เกิดกำแพง

&“ วงดนตรีของ ศรีนวล สมบัติเจริญ ซึ่งดำเนินกิจการต่อจากสามี (สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๑) ปรากฏว่าจัดผู้เต้นระบำประกอบเพลงโดยใช้ผู้เต้นประมาณ ๑๐ คน และลีลาการเต้นก็เป็นแบบระบำฮาวายของตะวันตก

&“ ลีลาการเต้นและการแต่งกายของผู้เต้นประกอบจังหวะเพลงฟู่ฟ่ามากขึ้นทุกที โดยพัฒนามาจากการเต้นระบำฝรั่งเศสของ ฟอลลี แบร์แช (Folies Bergeres) และการเต้นโมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) หลังจากนั้น การแข่งขันด้านหางเครื่องระหว่างวงดนตรีลูกทุ่งก็เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง การแสดงดนตรีของวงใหญ่ๆ จะมีหางเครื่องเต้นประกอบทุกเพลงและเปลี่ยนชุดแต่งกายทุกเพลง จำนวนผู้เต้นแต่ละเพลงมีประมาณ ๑๕-๑๖ คน แต่ถ้าเป็นเพลงเด่นจะมีถึง ๓๐-๓๕ คน&”

"ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี"

ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง”, ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง” หมายถึง, ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง” คือ, ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง” ความหมาย, ทำไมเรียกพวกหล่อนว่า “หางเครื่อง” คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu