ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า?, หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า? หมายถึง, หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า? คือ, หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า? ความหมาย, หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า?

เป็นคนที่หัวเราะบ่อยมาก อยากจะถามว่าการหัวเราะบ่อยจะทำให้หนังหน้าเหี่ยวก่อนวัยอันควรรึป่าวค่ะ และการหัวเราะมีผลดีผลเสียอย่างไรบ้างค่ะ

คำตอบ

ข้อดีของการหัวเราะ การหัวเราะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายใน 7 ระบบได้แก่ ระบบหายใจ Breathing ในระหว่างที่หัวเราะร่างกายมีการหายใจเข้า กลั้นหายใจ และหัวเราะ หายใจออกยาวๆ ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนถ่ายออกซิเจน ฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดง จึงทำให้เซลล์ประสาทหัวใจ ปอด คอ แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้การหัวเราะยังช่วยบริหารร่างกายให้เกิดความร้อนและการเผาผลาญพลังงานสูง ช่วยฆ่าเชื้อโรคและป้องกันโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ทั้งไข้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด ไซนัส กรน ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคปอด ระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย Digestion and Gastrointestinal การหัวเราะบำบัดช่วยให้อวัยวะส่วนท้อง อาทิ ลำไส้ใหญ่ เล็ก ตับ ไต ไส้ กระเพาะ มีการเคลื่อนไหว เกิดการบริหารกระเพาะและลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายทำงานดีขึ้น ป้องกันโรคอ้วน โรคบูลิเมีย Bulimia โรคที่กินอาหารเข้าไปแล้วรู้สึกผิด จนบางครั้งต้องกินยาถ่าย หรืออาเจียนออก หน้าท้องหย่อน ท้องป่อง โรคเบื่ออาหาร กินไม่ลง ท้องผูก ท้องเสีย โรคกระเพาะ โรคลำไส้ เป็นต้น ระบบไหลเวียนโลหิต Circulation and Cardio-vascular system การหัวเราะบำบัดเป็นการออกกำลังทุกส่วนของร่างกายทำให้อวัยวะต่างๆ ได้เคลื่อนไหวเป็นจังหวะเร็วบ้าง ช้าบ้าง หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น หัวใจทำงานเป็นระบบขึ้น ป้องกันอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เหนื่อยง่าย เหนื่อยเร็ว เจ็บแน่นหน้าอก โรคขาดเลือด เส้นเลือดหัวใจตีบตัน โรคหัวใจ ตลอดจนอาการใจสั่น เสียงสั่น ตัวสั่น ตื่นตระหนกและประหม่าง่าย ระบบพักผ่อนและผิวพรรณ Rest and Skin system การหัวเราะบำบัดช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ยืดหยุ่น ไม่ตึงหรือเกร็ง ทำให้ร่างกายเกิดการพักผ่อน นอนหลับสนิท ผิวพรรณดี ไม่เหี่ยวย่น และไม่เป็นโรคทางผิวหนัง ช่วยให้ร่างกายและจิตใจเกิดความสงบ มีสมาธิมากขึ้น ระบบเจริญพันธุ์ Reproduction การหัวเราะบำบัดทำให้ร่างกายทุกส่วนขยับขับเคลื่อน ส่งผลต่อการทำงานของสมองส่วนนอก ส่วนกลาง และส่วนใน ให้ทำงานดีขึ้น เป็นระบบขึ้น ทำให้สมองคิดแง่ดี มองโลกแง่บวก อารมณ์ดี พัฒนาอารมณ์รัก และการมีเพศสัมพันธ์ และช่วยป้องกันอาการไร้อารมณ์ หงอยเหงา โดดเดี่ยว ไม่อยากเข้าสังคม การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และการเข้าสังคม ระบบทำงานของต่อมไร้ท่อ Endocrine การหัวเราะบำบัดช่วยให้เซลล์ประสาททุกส่วนได้ขยับ ทำให้ระบบต่อมไร้ท่อทำงานเป็นปกติ ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดฟิน ทำให้อารมณ์ดี มีอารมณ์ขัน มีความคิดดีและสร้างสรรค์ และช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ป้องกันโรคเบาหวาน ความดัน ดูอ่อนเยาว์ไม่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ลดอาการเครียดและความเจ็บปวดต่างๆ สัญชาติญาณการอยู่รอด Survival instinct การหัวเราะบำบัดทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว แข็งแรง ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท กระดูก กล้ามเนื้อ ร่างกายทำงานเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ป้องกันโรคไขข้อ โรคกระดูกต่างๆ ทั้งกระดูกพรุน ปวดหลัง ปวดเอว อ่อนเปลี้ยเพลียแรง โรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังช่วยทำลายสารอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย ฝึกหัวเราะบำบัดด้วยตนเอง การฝึกหัวเราะบำบัดด้วยตนเองไม่ใช่เรื่องยาก ขั้นแรก ฝึกหัวเราะโดยมีสิ่งกระตุ้น เช่น ดูภาพยนตร์ตลก และหัวเราะเสียงดัง จากนั้นฝึกหัวเราะโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น โดยแยกอารมณ์ขันออกจากการหัวเราะ หรือเข้าใจว่าการหัวเราะไม่จำเป็นต้องมาจาก ความรู้สึกตลก เสมอไป การหัวเราะโดยไม่มีเหตุผลนี้ให้เริ่มจากหัวเราะคิกคักและหัวเราะเสียงดังด้วยการเปล่งเสียงออกมาจากท้องผ่านลำคอและริมฝีปาก หากต้องการให้การหัวเราะได้ผลดียิ่งขึ้น ควรเปล่งเสียงหัวเราะ เพื่อเคลื่อนไหวอวัยวะภายใน 4 ส่วนด้วยการเปล่งเสียงต่างๆ กัน คือเสียง โอ ทำให้ภายในท้องขยับ เสียง อา ทำให้อกขยับขยาย เสียง อู เสียง เอ ทำให้ลำคอเปิดโล่ง และช่วยบริหารใบหน้า ขั้นตอนเริ่มจากหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้สักครู่ เปล่งเสียงเป็นจังหวะเช่น โอ โอ โอ โอ ยาวๆ จนกว่าจะหมดอากาศที่เก็บไว้ สูดหายใจเข้าใหม่ หัวเราะเสียงละ 3 ครั้ง เมื่อออกเสียงเป็นจังหวะแล้วให้บริหารร่างกายไปด้วย เริ่มจากเสียง โอ ให้ย่ำเท้าอยู่กับที่ เสียง อา ให้ยกแขนขึ้นสูงๆ แล้วโบกไปมา เสียง อู ให้ส่ายเอวท่าฮูลาฮูบ เสียง เอ ให้หมุนหัวไหล่ โดยทำท่าเหล่านี้ในระหว่างที่หัวเราะด้วย หากวันนี้คุณยังหาวิธีออกกำลังที่เหมาะกับตัวเองไม่ได้ลองชวนคนในครอบครัวมาหัวเราะพร้อมเคลื่อนไหวร่างกายด้วยกันสิคะ นอกจากได้ออกกำลังแล้ว ยังสร้างรอยยิ้มในครอบครัวคุณอีกด้วย

หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า, หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า หมายถึง, หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า คือ, หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า ความหมาย, หัวเราะบ่อยๆทำให้หนังหน้าเหี่ยวจริงหรือเปล่า คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu