ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง, สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง หมายถึง, สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง คือ, สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง ความหมาย, สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง

           ก่อน  พ.ศ. ๒๓๔๗  ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง ครองราชสมบัติอยู่นั้น ได้เกิดกรณีผู้พิพากษาตัดสินคดีหย่าร้างเรื่องหนึ่งโดยไม่เป็นธรรม เรื่องมีว่านายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระองค์อ้างเหตุว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการตัดสินคดีของผู้พิพากษา โดยระบุว่าภรรยาของนายบุญศรีชื่ออำแดงป้อม  ประพฤติตนไม่สมควร โดยเป็นชู้กับนายราชาอรรถ แต่อำแดงป้อมกลับมาฟ้องหย่านายบุญศรี พระเกษมซึ่งทำหน้าที่ผู้พิพากษา กลับเข้าข้างอำแดงป้อม และยังพูดจาเกี้ยวพาราสีอำแดงป้อม แล้วพิพากษาให้อำแดงป้อมหย่าขาดจากนายบุญศรีได้ทั้งที่นายบุญศรีไม่มีความผิดคดีดังกล่าว มีการอ้างตัวบทกฎหมายว่า แม้ชายผู้เป็นสามีไม่มีความผิด หากหญิงผู้เป็นภรรยาขอหย่า ก็ให้ศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกันตามกฎหมายได้

          ในสมัยนั้นตัวบทกฎหมายจะเก็บรักษาไว้ที่ศาลหลวงฉบับหนึ่ง ที่ข้างพระที่ในพระบรมมหาราชวังอีกฉบับหนึ่ง และที่หอหลวงอีกฉบับหนึ่ง รวม ๓  แห่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำตัวบทกฎหมายที่เก็บรักษาไว้ทั้ง ๓ แห่ง  มาตรวจสอบทานกัน  ปรากฏว่ามีข้อความตรงกันทุกฉบับว่า“ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้”  

          พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงมีพระราชดำริว่าตัวบทกฎหมายเช่นนี้ไม่มีความยุติธรรม คงมีความฟั่นเฟือนวิปริตไป เหตุคงมาจากผู้ที่มีความโลภหลงไม่รู้จักละอายต่อบาปจ้องแต่จะหาประโยชน์ส่วนตัว ทำการแต่งกฎหมายตามใจชอบ มาพิพากษาคดีให้เสียความยุติธรรม โดยทรงยกตัวอย่างว่า ในทางพุทธจักรได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระสะสางพระไตรปิฎกเพื่อเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนามาแล้ว  นทางอาณาจักรนี้ก็ต้องดำเนินการเช่นกัน คดีหย่าร้างเรื่องนายบุญศรีกับอำแดงป้อมจึงเป็นเหตุให้เกิดการชำระสะสางกฎหมายครั้งใหญ่  โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งผู้ชำระกฎหมายจำนวน ๑๑ คน  ประกอบด้วยอาลักษณ์ (ผู้ทำหน้าที่ทางหนังสือในราชสำนัก) ๔  คน ลูกขุน (ปัจจุบันคือผู้พิพากษา) ๓  คน และราชบัณฑิต ๔  คน รวมเป็น ๑๑  คน นำตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมดมาตรวจสอบเนื้อความจัดเป็นหมวดหมู่  ชำระดัดแปลงเนื้อความที่วิปริตผิดความยุติธรรมออกเสีย ตัวบทกฎหมายที่นำมาชำระก็เป็นกฎหมายเก่าตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่

สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง, สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง หมายถึง, สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง คือ, สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง ความหมาย, สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu