ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง, การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง หมายถึง, การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง คือ, การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง ความหมาย, การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง

          โครงการหลวงกับการพัฒนาที่สูง
          ประเทศไทยทางตอนเหนือ  เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน  นั้นจะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและหุบเขาเป็นส่วนมาก โดยจะมีทิวเขาเป็นแนวยาวขนานกันจากเหนือมาใต้  เริ่มตั้งแต่ทิวเขาแดนลาวทางทิศตะวันตก ถัดมาเป็นทิวเขาขุนตาล ทิวเขาผีปันน้ำ และทิวเขาหลวงพระบางทางทิศตะวันออก  จากทิวเขาแดนลาวจะมีทิวเขาถนนธงชัยทอดตัวลงมาทางใต้  และมีทิวเขาจอมทองเป็นสาขาอีกด้วยที่ราบระหว่างหุบเขาเช่นในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่นั้น  จะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ  ๓๐๐ ถึง ๕๐๐ เมตร ส่วนภูเขาต่างๆ จะมีความสูงแตกต่างกันไป และส่วนใหญ่จะสูงประมาณ ๑,๐๐๐ ถึง ๒,๕๐๐ เมตร ยอดเขาหรือดอยที่สูงที่สุดคือดอยอินทนนท์ของทิวเขาจอมทองซึ่งสูงถึง ๒,๕๖๕ เมตร
          จากลักษณะของภูมิประเทศดังกล่าวนี้  ได้มีการนิยามว่าพื้นที่ในระดับความสูง ๗๐๐ เมตรขึ้นไปนั้นจะเรียกว่า "ที่สูง" ซึ่งจะหมายถึงพื้นที่เชิงเขาขึ้นไปจนถึงยอดเขานั่นเอง  พื้นที่สูงนี้มีลักษณะอากาศแตกต่างไปจากพื้นที่อื่นคือ  จะมีอากาศหนาวเย็นมากกว่า และในที่สูงบางแห่งจะมีอากาศหนาวเย็นมากในฤดูหนาวจนกระทั่งน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง ที่สูงของไทยมีเนื้อที่มากถึง ๓๖ ล้านไร่

          ถ้าที่สูงถูกปล่อยไว้เฉยๆ  ความเสียหายจะเพิ่มขึ้นโดยทวีคูณ และคุณประโยชน์ที่อาจจะกระทำให้เกิดขึ้นได้ก็จะไม่ปรากฏ
          ชาวเขา
         
เป็นเวลานานแล้วที่มีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตภูเขาหรือ "ที่สูง" จนเรารู้จักกันดีในชื่อของ  "ชาวเขา"  ซึ่งภาษาราชการเรียกว่า "ชาวไทยภูเขา" ชนชาวเขานี้มีอยู่มากมายหลายเผ่าและอาศัยอยู่ในที่สูงทางภาคเหนือเป็นจำนวนมากมีชาวเขาหลายเผ่าที่ชอบอาศัยอยู่ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก คือ ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป และในพื้นที่เช่นนี้พืชที่ชอบอากาศเย็นจะมีการเจริญเติบโตได้ดีมาก ชาวเขาในประเทศไทยมีประมาณ ๑๐ เผ่า๕๐๐,๐๐๐ คน คือ ลัวะ กะเหรี่ยง แม้ว เย้ามูเซอ อีก้อ ถิ่น ว้า และปะหล่อง ยกเว้นเผ่าลัวะและกะเหรี่ยง  ชาวเขาทำไร่เลื่อนลอย  กล่าวคือ เมื่อเพาะปลูกซ้ำที่จนกระทั่งผลิตผลต่ำ  เพราะดินหมดความอุดมสมบูรณ์ และหญ้าขึ้นรกแล้วก็จะย้ายไร่  เคลื่อนหมู่บ้านไปตัด   ฟันป่าเพื่อทำไร่ในบริเวณอื่นการเคลื่อนย้าย เช่นนี้เริ่มต้นที่จีน  พม่า  ลาว  จนถึงประเทศไทยซึ่งถัดไปก็เป็นทะเลเผ่าลัวะและกะเหรี่ยงผิดแปลกจากเผ่าอื่น ๓ ประการ คือ
          ๑. ตามธรรมดาไม่ปลูกฝิ่น
          ๒. ตั้งภูมิลำเนาในประเทศไทยมาก่อนคนไทยเอง
          ๓. ตั้งหมู่บ้านอยู่อย่างถาวร เพราะใช้ระบบทำไร่หมุนเวียน

          ไร่หมุนเวียน

          ลัวะและกะเหรี่ยงจะแบ่งเนื้อที่เพาะปลูกออกเป็น  ๘ แปลง (บางทีอาจถึง  ๑๐ แปลง) ซึ่งแต่ละแปลงจะใช้เพาะปลูกเพียงปีเดียว แล้วย้ายไปแปลงที่ ๒ ต่อไป ดังนั้นแต่ละแปลงจะได้พักคือเว้นการเพาะปลูก ๗ ปีระหว่างที่พัก  แต่ละแปลงจะมีเมล็ดของต้นไม้ป่าที่ขึ้นอยู่โดยรอบปลิวลงมา  เมื่อฝนตกเมล็ดเหล่านี้ก็จะงอก  และโดยที่ชาวบ้านคอยระวังเป็นอย่างมากไม่ให้เกิดไฟไหม้ ต้นไม้เล็กๆ เหล่านี้ก็จะเติบโตจนกระทั่งกลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ในปีที่ ๘ ในปีที่จะใช้พื้นที่เพาะปลูก  ต้นไม้จะถูกโค่นล้มและเผา  เถ้าถ่านของต้นไม้ที่ดูดแร่ธาตุจากใต้ดินจะเป็นปุ๋ยที่ดีของพืชที่จะปลูก การปลูกใช้วิธีเอาไม้จิ้มดินให้เป็นหลุม แล้วหยอดเมล็ดลงไป การที่ไร่ถูกใช้ครั้งเดียว  และไม่มีการไถพรวน  หน้าดินจึงไม่ถูกชะล้าง ความอุดมสมบูรณ์จะคงอยู่ตลอดไป กับทั้งจะป้องกันไม่ให้วัชพืช เช่น หญ้าขึ้นรกจนปราบไม่ไหว แต่ระบบหมุนเวียนมีข้อเสียที่ว่าจะต้องมีเนื้อที่ถึง ๘ เท่า ของไร่ที่จะใช้แต่ละปี ซึ่งขณะนี้เป็นปัญหาเพราะมีที่ดินไม่เพียงพอ

          ปัญหาเรื่องฝิ่น
          ฝิ่นต้องการอากาศเย็น และในประเทศไทยต้องปลูกบนที่สูงอย่างน้อย ๑,๐๐๐ เมตร ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๒ แม้ว เย้า มูเซอ และอีก้อ ปลูกฝิ่นเพียงอย่างเดียวเอาไว้ขาย เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตขึ้นไปซื้อเพื่อนำไปขายให้โรงยาฝิ่นสำหรับให้ผู้ติดฝิ่นที่มีใบอนุญาตเท่านั้นเข้าไปสูบสมัยนั้นมีผู้ติดฝิ่นน้อยมาก เพราะผู้สูบผอมแห้งแรงน้อย และถูกประณามว่าเป็น "ขี้ยา" พ.ศ. ๒๕๐๒ รัฐบาลออกกฎหมายห้ามปลูกและค้าฝิ่น  จวบจนปัจจุบันนี้ (พ.ศ. ๒๕๓๕) เราทราบว่ากฎหมายนั้นทำให้ฝิ่นซึ่งยังคงมีอยู่บนดอยกลายสภาพเป็นเฮโรอีนบนพื้นราบ  สาเหตุเพราะรัฐบาลไม่ได้จัดการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล รัฐบาลเพียงแต่ตั้งกองสงเคราะห์ขาวเขากรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ขึ้นเพื่อช่วยชาวเขาที่จะไม่มีรายได้ถ้าไม่ปลูกฝิ่น กองสงเคราะห์ชาวเขาขาดพืชที่จะให้ชาวเขาปลูกแทนฝิ่น เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตรทำการทดลองค้นคว้า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เองก็ไม่ทราบเพราะไม่ได้ขึ้นไปทำงานบนที่สูงนั้นในขณะที่ชาวเขาต้องมีรายได้ จึงยังคงปลูกฝิ่นอยู่จนทุกวันนี้

          สามเหลี่ยมยากจน

          ชาวต่างประเทศริเริ่ม (และคนไทยเอาอย่าง) เรียกบริเวณที่ปลูกฝิ่นในประเทศพม่า  ลาว  และไทยว่า  "สามเหลี่ยมทองคำ" ซึ่งหมายความว่าประชาชนในแถบนั้นร่ำรวย เพราะรายได้จากฝิ่นสูงมาก แต่ผู้ที่พบปะชาวเขาบนดอยทราบดีว่า ชาว
เขายากจน ขาดแคลนเสื้อผ้า อนามัยไม่ดี  อาหารไม่เพียงพอ คุณภาพชีวิตต่ำ รายได้จากฝิ่นน่าจะน้อยกว่าที่ทุกคนคิด และสามเหลี่ยมเห็นจะไม่ใช่เป็นทองคำเสียแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่าๆกับที่ได้จากท้อพันธุ์พื้นเมือง  ซึ่งโดยวิธีติดตาต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง  ก็ควรจะได้ผลใหญ่  หวานฉ่ำ ทำรายได้สูงกว่าฝิ่นเป็นแน่ ดังนั้น จึงทรงตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์เพื่อดำเนินการซึ่งก็กลายเป็นโครงการแรกของโลกที่กำจัดฝิ่นโดยปลูกพืชที่มีรายได้ดีกว่าแทน

การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง, การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง หมายถึง, การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง คือ, การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง ความหมาย, การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu