ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

บทความภาษาไทย?, บทความภาษาไทย? หมายถึง, บทความภาษาไทย? คือ, บทความภาษาไทย? ความหมาย, บทความภาษาไทย? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

บทความภาษาไทย?

บทความเกี่ยวกับภาษาไทยที่มีการใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษา nbsp

คำตอบ

อวัจนภาษาในภาษาหนังสือพิมพ์   ผศ สุภิตร อนุศาสน์                       ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารจะใช้เสียง ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ก็ได้ แต่จะต้องมีระบบกฎเกณฑ์ที่เข้าใจ ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ภาษาที่ใช้สื่อสารกันเป็นปกติในชีวิตประจำวันแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ หรือวัจนภาษาและภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา                   ถ้อยคำหรือวัจนภาษา เป็นภาษาที่มนุษย์กำหนดใช้และตกลงร่วมกันเพื่อแทนมโนภาพของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย                   ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา คือ กิริยาอาการต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้สื่ออารมณ์ความรู้สึกความต้องการ ฯลฯ บางท่านเรียกภาษาประเภทนี้ว่าภาษากาย body language   อวัจนภาษา ของผู้ใดส่วนใหญ่จะบ่งบอกถึงความรู้สึกและบุคลิกภาพของผู้นั้น                   วัจนภาษา และ อวัจนภาษา มีความสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะในขณะที่บุคคลสื่อสารกันใน ลักษณะที่เห็นหน้าเห็นตากัน ย่อมต้องใช้ทั้งวัจนภาษา และ อวัจนภาษา เช่น ถ้าพูดว่า quot ฉันต้องการหนังสือเล่มนั้น quot และชี้มือไปที่หนังสือเล่มที่ต้องการ ผู้รับสารก็สามารถหยิบหนังสือได้ถูกต้อง                     การสื่อสาร โดยใช้วัจนภาษา ในรูปแบบการเขียนนั้น หากสังเกตให้ดีจะพบว่าถ้อยคำที่เขียนนั้นมีอวัจนภาษาปนอยู่ด้วย เช่น                   quot เขยิบ เขยิบ เขยิบ เขยิบ เข้ามาซิ กระแซะ กระแซะ กระแซะ เข้ามาซิ quot                   quot ใกล้ ๆ เข้าไปอีกนิด ชิด ๆ เข้าไปอีกหน่อย สวรรค์น้อยน้อย อยู่ในวงฟ้อนรำ quot                   คำว่า เขยิบ กระแซะ หรือใกล้ ๆ ชิด ๆ ช่วยให้ผู้รับสารเห็นกิริยาอาการ หรือบทชมปลาในกาพร์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร   quot ชะแวงแฝงฝั่งแนบ   วาดแอบแปบปนปลอม   เหมือนพี่แอบแนบถนอม   จอมสวาทนาฎบังอร quot                     คำว่า แฝง แนบ แอบ เป็นคำที่ช่วยผู้อ่านมองเห็นภาพตามที่กวีบรรยายได้อย่างชัดเจน อวัจนภาษา แบ่ง เป็น 7 ประเภท สวนิต ยมาภัย 2538 36 - 41 ดังนี้                   1 เทศภาษา proxemics เป็นภาษาที่ปรากฎจากลักษณะของสถานที่ที่บุคคลทำการสื่อสาร กันอยู่รวมทั้ง ช่องระยะที่บุคคลทำการสื่อสารห่างจากกัน สถานที่และช่วงระยะ จะสื่อความหมายที่อยู่ในจิตสำนึกของผู้ที่กำลังสื่อสารกันได้ เช่น บุคคลต่างเพศสองคนนั่งชิดกันอยู่บนม้านั่งตัวเดียวกันย่อมเป็นที่เข้าใจว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษ                   2 กาลภาษา chonemics การใช้เวลาเป็นการสื่อสารเชิงอวัจนะ เพื่อแสดงเจตนาของผู้รับสาร เช่น การ ไปตรงเวลานัดหมาย แสดงถึง ความเคารพ การให้เกียรติ และเห็นความสำคัญของผู้ส่งสาร หรือการรอคอยด้วยความอดทน แสดงว่า ธุระของผู้รอคอยมีความสำคัญมาก                   3 เนตรภาษา oculesics เป็นอวัจนภาษาที่ใช้ดวงตาสื่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความประสงค์ และ ทัศนคติบางประการในตัวผู้ส่งสาร                   4 สัมผัสภาษา haptics หมายถึงอวัจนภาษาที่ใช้อาการสัมผัส เพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึก ตลอดจน ความ ปรารถนา ที่ฝังลึกอยู่ในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร                   5 อาการภาษา kinesics เป็นอวัจนภาษาที่อยู่ในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อการสื่อสาร เช่น ศีรษะ แขน ขา ลำตัว เป็นต้น                   6 วัตถุภาษา objectics เป็นอวัจนภาษาที่เกิดจากการใช้และการเลือกวัตถุ มาใช้ เพื่อแสดงความหมาย บางประการ เช่น การแต่งกายของคน ก็สามารถสื่อสารบอกกิจกรรม ภารกิจ สถานภาพ รสนิยม ตลอดจนอุปนิสัยของบุคคลนั้น ๆ ได้                   7 ปริภาษา vocalics หมายถึงอวัจนภาษา ที่เกิดจากการใช้น้ำเสียงประกอบถ้อยคำที่พูดออกไป น้ำ เสียงจะมีความสำคัญมากในการสื่อความหมายนั้น                   ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษา นอกจากจะเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลกระทำการสื่อสาร เฉพาะหน้ากันแล้ว ในภาษาถ้อยคำหรือในวัจนภาษา เราจะสังเกตเห็นอวัจนภาษาแฝงอยู่ด้วยตัวอย่างที่เห็นอย่างสม่ำเสมอคือ การพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพราะนักหนังสือพิมพ์ใช้ กลวิธีเขียนข่าวให้มีสีสันหรือวาดให้เห็นภาพ illustration ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการแสดงเรื่องให้ผู้อ่านดูมากกว่า การเล่าเรื่องหรือการรายงานข่าว การพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ จึงเป็นภาษาที่เขียนขึ้นเพื่อให้ผลทางอารมณ์ แก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น speeial objects เช่น                   quot สำนักงบฯ ตีปี๊บ โครงการเงินกู้เจ๋ง quot                   quot ฆ่าโหด 20 ศพ ฝังทั้งเป็น quot ถ้าเปลี่ยน เป็น                   quot สำนักงบประมาณแถลงข่าวเรื่องโครงการเงินกู้ว่าประสบความสำเร็จ quot                   quot ชาย 20 คน ถูกฆ่าโดยวิธีการฝังทั้งเป็น quot                   จะพบว่า ภาษาเป็นทางการ ขาดสีสัน ไม่เร้าอารมณ์ ให้ติดตามรายละเอียดในเนื้อข่าว เมื่อนำภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ มาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษาแล้วพบว่า   อวัจนภาษาที่พบมากในภาษาพาดหัวข่าวมี 3 ประเภท คือ   1 อาการภาษา อวัจนภาษา ประเภทนี้จะพบมากที่สุด เพราะเป็นอวัจนภาษาที่เสริมให้วัจนภาษามีความ หมายชัดเจน เช่น ให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ เช่น                   3 โจรบุกปล้นเรือนมยุรา                   รวบ คาโรงแรม โจ๋มัธยมมั่วยา                   คนกรมศาสนาลุย ปิดแล้วสำนักเพี้ยน                   สุรศักดิ์ได้ประกัน หอบ 18 ล้านค้ำ                   4 งูเห่าซบ ชพ คึก ยึดนนท์ - ลุยปทุมฯ เปิดทีมหักหาญสวัสดิ์     2 สัมผัสภาษา อวัจนภาษาประเภทนี้พบไม่มากนัก เป็นกริยาที่คนสองคนร่วมกันทำกิจกรรม หรือเป็น กิจกรรมของคนคนเดียวที่สัมผัสกับผู้อื่น เช่น                   กก แคชเชียร์ ผจก ดับบริศนา                   หลุยส์ ควง สนั่น ไหว้ครูรามฯ                   มีกริยาบางคำที่เป็นสัมผัสภาษา แต่สื่อมวลชน นำมาใช้ในความหมายแฝง คำเหล่านี้ ไม่จัดเป็นสัมผัสภาษา เช่น                   รัฐควัก 300 ล เน้น สิบล้อ                   คำว่า quot อุ้ม quot ในที่นี้หมายถึง ช่วยเหลือ จึงไม่จัดเป็นสัมผัสภาษา                   3 ปริภาษา อวัจนภาษา ประเภทนี้มีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการใช้คำเลียนเสียง เพื่อแสดงอารมณ์หรือ กระตุ้นให้ผู้อ่านแปลความหมายจากเสียงที่ได้ยินว่า เป็นอารมณ์อย่างไร เช่น แท็กซี่                   ฮื่ม - ประมง ปิดอ่าว ครม ไม่ลดแวต                   เสรีธรรม เฮ ลั่นรับอีดี้                   คำว่า ฮื่ม เป็นน้ำเสียงแสดงอารมณ์ไม่พอใจ เฮ แสดงอารมณ์พอใจ ส่วน บิ้ม เป็นเสียงวัตถุระเบิด   สำหรับอวัจนภาษาประเภท เทศภาษา กาลภาษา วัตถุภาษา เนตรภาษา เท่าที่ศึกษายังไม่พบแต่อาจจะปรากฎใน ภาพข่าว หรือ การ์ตูน ซึ่ง เป็นอวัจนาภาษาที่ช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาของสารมากขึ้น เช่น                   ภาษาหนังสือพิมพ์ เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ และมีอิทธิพลมากกว่าสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เพราะหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนทุกระดับ การที่หนังสือพิมพ์มีภาษาเฉพาะใช้ในวงการ และโดยเฉพาะการพาดหัวข่าวและหัวข่าวรองที่มีเนื้อที่กระดาษ จำกัด จำเป็นต้องใช้คำกระชับสะดุดตา   สะดุดใจคนอ่านซึ่งนับเป็นการสร้างสรรค์ทางภาษาที่น่าสนใจ และนักศึกษาอย่างยิ่ง  

บทความภาษาไทย, บทความภาษาไทย หมายถึง, บทความภาษาไทย คือ, บทความภาษาไทย ความหมาย, บทความภาษาไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu