โรคเห็บระฆังในปลาและลักษณะของโรคคือ?
โรคเห็บระฆังในปลาและลักษณะของโรคคือ
โรคเห็บระฆังในปลาและลักษณะของโรคคือ
ลักษณะโรค โรคนี้จะทำให้ปลาเกิดอาการระเคือง เนื่องจากพยาธิในกลุ่ม Trchodinids ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียวรูปร่างกลมๆ มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์เข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและเหงือกปลา มีการเคลื่อนที่ไปมาจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดเป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวเหงือก มักพบในลูกปลาถ้าพบเป็นจำนวนมากทำให้ปลาตายได้หมดบ่อหรือหมดตู้ ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้มีหลายชนิด เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลากะพง ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาทรงเครื่อง ปลาสวาย และปลาสวยงามหลายชนิด เป็นต้น ควรรีบรักษาตั้งแต่ปลาเริ่มเป็นโรคในระยะแรกๆ จะได้ผลดีกว่าเมื่อปลาติดฌรคแบบเรื้อรังแล้ว การป้องกันและรักษา การป้องกันจะดีกว่ารักษา เพราะปรสิตชนิดนี้แพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาวัยอ่อนตายได้ในระยะอันสั้น การป้องกันทำให้โดยการตรวจปลาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงว่ามีปรสิตนี้ติดมาด้วยหรือไม่ ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทางอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ควรขังปลาไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อตรวจจนแน่ใจว่าไม่มีโรคแล้วจึงค่อยปล่อยลงเลี้ยง แต่ถ้ามีปรสิตเกิดขึ้นกำจัดได้โดยการใช้ยาหรือสารเคมี คือ ฟอร์มาลิน 25-30 ซีซี ต่อน้ำ 1 000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง ข้อมูลจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!