การจ่ายเงินตามมาตรา 39?, การจ่ายเงินตามมาตรา 39? หมายถึง, การจ่ายเงินตามมาตรา 39? คือ, การจ่ายเงินตามมาตรา 39? ความหมาย, การจ่ายเงินตามมาตรา 39? คืออะไร
การจ่ายเงินตามมาตรา 39?
อยากสอบถามว่า การจ่ายเงินให้กับทางประกันสังคม ตามมาตรา 39 nbsp ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง และต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าใด ในกรณีนี้ -- หมายถึง nbsp คือ ดิฉันได้ทำการกับทางบริษัทฯ แห่งหนึ่ง แต่ได้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 กพ 50 จะต้องเสีย เบี้ยตามมาตรา 39 เท่าใด nbsp ใช้เอกสารอะไรบ้างที่จะไปติดต่องานที่สำนักงาน nbsp nbsp nbsp nbsp
1 เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ลาออกจากงานลูกจ้างยังคงได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย จากการประกันสังคมต่อไป อีก 6 เดือน 2 หากลูกจ้างมีความประสงค์จะประกันตนต่อ หลังจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง คุณสมบัติของผู้สมัคร 1 เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน 2 ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม การยื่นใบสม้คร 1 ต้องยื่นใบสมัคร ตามแบบแสดงความจำนง แบบ สปส 1-20 ด้วยตนเองภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง 2 สถานที่ยื่นใบสมัคร กทม ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ภูมิภาค ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา หลักฐานการสมัคร 1 แบบแสดงความจำนง สปส 1-20 2 บัตรประกันสังคมพร้อมสำเนา 3 บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้พร้อมสำเนา 4 สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย สาขาใดก็ได้ทั่วประเทศ วันเริ่มต้นการเป็นผู้ประกันตน ตามาตรา 39 ผู้สมัครจะเริ่มต้นการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในวันที่ 1 ของเดือน ถัดจากเดือนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคม ตัวอย่างเช่น นาย ก ยื่นใบสมัครเมื่อวันที่ 5 ม ค 47 ได้รับอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคม วันที่ 5 ม ค 47 นาย ก จะมีผลเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ในวันที่ 1 ก พ 47 เป็นต้นไป เงินสมทบ ที่ต้องนำส่ง - คำนวณเงินสมทบจากฐานค่าจ้างเดือนละ 4 800 บาท อัตราเดียวเท่ากันทุกคน - ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องออกเงินสมทบเป็น 2 เท่า ของอัตราเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนแต่ละกรณีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง - ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องนำส่งเงินสมทบ 6 กรณี เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ในอัตราเดือนละ 432 9 X 4 800 หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 1 ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากนำส่งเงินสมทบเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือน 2 แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ให้สำนักงานประกันสังคมทราบ ดังนี้ - กรณีย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนสถานที่นำส่งเงินสมทบ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน - กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันที พร้อมแนบสำเนาหลักฐาน - กรณีประสงค์ลาออก หรือกลับเข้าทำงานและมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันที ณ สำนักงานประกันสังคมที่จ่ายเงินสมทบ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ 1 ได้รับความคุ้มครอง กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 2 การใช้การบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วย จะได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งได้ระบุสถานพยาบาลตามที่ได้เลือกไว้ เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 สิ้นสภาพ 1 ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือน ติดต่อกัน สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ 2 ลาออก 3 กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 4 ตาย 5 ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน สิทธิประโยชน์ ที่ได้รับภายหลับจากการสิ้นสภาพ - การสิ้นสภาพตามข้อ 1 2 และ 5 จะได้รับการคุ้มครองเฉพาะกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย ต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ต่อเมื่อผู้ประกันตน ได้นำส่งเงินสมทบจนครบเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิ - การสิ้นสภาพตามข้อ 3 สามารถนับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องได้ทุกกรณี - การสิ้นสภาพตามข้อ 4 และมีบุตรที่อยู่ระหว่างการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์ต่อเนื่องจนบุตรอายุครบเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง 6 ปีบริบูรณ์ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน 88 28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506
การจ่ายเงินตามมาตรา 39, การจ่ายเงินตามมาตรา 39 หมายถึง, การจ่ายเงินตามมาตรา 39 คือ, การจ่ายเงินตามมาตรา 39 ความหมาย, การจ่ายเงินตามมาตรา 39 คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!