JTEPA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น คืออะไร?
JTEPA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น คืออะไร และจะมีผลดี ผลเสียต่อไทยอย่างไรบ้าง nbsp nbsp nbsp nbsp
JTEPA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น คืออะไร และจะมีผลดี ผลเสียต่อไทยอย่างไรบ้าง nbsp nbsp nbsp nbsp
JTEPA ย่อมาจากคำว่า Japan ndash Thai Economic partnership Agreement หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจของไทยและญี่ปุ่น ซึ่งก็คือการที่ประเทศไทยได้มีการตกลงกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกให้แก่การค้าสินค้า และบริการระหว่างกัน โดยการทำ JTEPA จะประกอบด้วย การเปิดเสรีสินค้า บริการ และการลงทุน ให้แก่กันและกัน ในระดับที่ต่างฝ่ายต่างรับได้ โดยมีกลไกแก้ปัญหาหากการเปิดเสรีส่งผลกระทบรุนแรง และสำหรับสินค้า บริการ การลงทุนที่ฝ่ายใดยังไม่พร้อมเปิดในขณะนี้ก็สามารถเปิดเจรจาทบทวนเพิ่มเติมใหม่ได้ในอนาคต ความร่วมมือระหว่างกันใน 9 สาขา คือ เกษตร ป่าไม้ และประมง การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ บริการการเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs การท่องเที่ยว การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ซึ่งมีเรื่องครัวไทยสู่โลก อุตสาหกรรมเหล็ก ยานยนต์ สิ่งทอ และการประหยัดพลังงานเป็นหลัก โดยในแง่ของข้อดีที่ไทยจะได้รับจากการเปิด FTA ระหว่างกันนั้น ข้อดีอันดับแรก สิทธิประโยชน์ที่อุตสาหกรรมจะได้รับจากการลดภาษีการส่งออกสินค้า โดยเมื่อมีการเปิดเสรีสินค้าระห่างกัน และความตกลงมีผลบังคับใช้สินค้าของไทยบางตัวจะสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้โดยมีอัตราภาษีลดลงเหลือ 0 ทันทีซึ่งได้แก่ - สินค้าประมง ได้แก่ กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งแปรรูป ซึ่งเดิมเสียภาษีในอัตรา 5 - สินค้าผัก และผลไม้ ได้แก่ ผักสดแช่เย็น แช่แข็ง เช่นถั่วต่างๆ กระเจี๊ยบ ภาษีเดิม 2 5-12 ผลไม้เมืองร้อนสด แช่เย็น แช่แข็ง เช่นทุเรียน มะละกอ มะม่วง ภาษีเดิม 10-12 - เครื่องดื่มที่ได้จากการหมัก เช่นไวน์ที่ทำจากผลไม้ ซึ่งต้องมีใบรับรองจากหน่วยงานรัฐบาล จากเดิมซึ่งมีอัตราภาษี 42 40 เยน ลิตร - ผลิตภัณฑ์จากไม้ และป่าไม้ อัตราภาษีเดิม 2-7 - สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จากอัตราภาษีเดิม 2 7-13 4 และ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์พลาสติก ภาษีเดิม 2 5-21 3 สารเคมี และเคมีภัณฑ์ ภาษีเดิม 2 5 รวมถึงอัญมณี และเครื่องประดับ ซึ่งอัตราภาษีเดิม 2 7-10 นอกจานี้ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับการลงทุนของไทย โดยเป็นการส่งสัญญาณให้นักลงทุนญี่ปุ่นมั่นใจและเพิ่มการลงทุนในไทย จะส่งสัญญาณให้นักลงทุนชาติอื่นๆ ลงทุนในไทยมากขึ้นเพื่อได้ตลาดญี่ปุ่น และในส่วนของการค้าบริการ ซึ่งไทยเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเพิ่มเติมจาก WTO จำนวน 14 สาขา ในขณะที่ญี่ปุ่นเปิดให้ไทยเพิ่มเติมหรือเปิดกว้างขึ้นจาก WTO ถึงกว่า 135 สาขา การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีโดยทั่วไป ญี่ปุ่นยอมรับที่จะพิจารณาเทียบวุฒิปริญญาตรีที่ได้รับในประเทศไทยเทียบเท่ากับวุฒิปริญญาที่ได้ในญี่ปุ่น ทำให้คนไทยสามารถเข้าไปตั้งกิจการให้บริการในญี่ปุ่นได้หลายสาขา อาทิ สาขาโฆษณา โรงแรม ร้านอาหาร จัดเลี้ยง จัดการประชุม จัดทัวร์ รักษาความปลอดภัย ล่ามแปล บริการดูแลคนสูงอายุ สอนภาษา รำไทย ฯลฯ และสำหรับพ่อครัว-แม่ครัวไทย ซึ่งไม่ต้องจบปริญญาตรี ญี่ปุ่นยอมลดเงื่อนไขการเข้าเมืองเรื่องประสบการณ์ทำงานจาก 10 ปีเหลือ 5 ปี รวมเวลาศึกษาด้วย เช่น ปวส 3 ปี ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นโอกาสดีของคนไทยที่จะได้มีเข้าไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ ของญี่ปุ่นเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมต่อไป และญี่ปุ่นยังมีความร่วมมือกับไทยในสาขาต่าง ๆ ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือดังกล่าว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ที่จะต้องใช้ประโยชน์จากกลไกที่วางไว้ให้เต็มที่ อย่างไรก็ตามในแง่ของผลเสียที่อาจเกิดขึ้น คืออุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งไทยก็ได้มีการลดภาษีนำเข้ารถยนต์ให้กับญี่ปุ่น ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าวก็ต้องปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการเหล่านี้ก็ยังพอมีเวลาปรับตัวระหว่าง 5-11 ปี ซึ่งการลดภาษีนำเข้าให้กับสินค้าญี่ปุ่นนั้น ก็ต้องยอมรับว่าจะทำให้รายได้จากภาษีศุลกากรลดลงทำให้รัฐบาลขาดรายได้บางส่วนที่เกิดจากที่ผู้ผลิตประหยัดได้จากการนำเข้าวัตถุดิบ นอกจากนี้เนื่องจากไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมดังนั้นสินค้าที่ไทยจะส่งเข้าไปขายส่วนใหญ่จึงเป็นสินค้าเกษตร ดังนั้นการทำ FTA จะทำให้ไทยสามารถส่งสินค้าเกษตรเข้าไปจำหน่ายได้มากขึ้น ซึ่งก็ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรมาขยายการผลิตด้วยเช่นกัน ดังนั้นไทยอาจจะขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่น ข้อมูลจาก www logisticsclinic com
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!