ดื่มเหล้า?
ดื่มเหล้ามากๆแล้วมีอาการบวม ที่ใบหน้าสาเหตุเกิดจากอารัย
ดื่มเหล้ามากๆแล้วมีอาการบวม ที่ใบหน้าสาเหตุเกิดจากอารัย
การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ว่า ตับต้องทำงานหนักเพื่อขจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ลมหายใจ รวมทั้งขับสารอาหารสำคัญออกมาด้วยเช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 วิตามินซี ที่ ส่งผลให้ร่างกายทรุดโทรม อ่อนเพลียหมดเรี่ยวแรง ปวดร้าวในศีรษะแทบระเบิดที่เราเรียกว่า เมาค้าง มีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่คือ ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลให้เสียสมดุลของฮอร์โมน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท อาการทั่วไปที่พบคือ ปวดศีรษะ คอแห้ง ผิวหน้าแห้ง ริมฝีปากแห้ง หน้าบวม หน้าซีดเซียว คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ถ่ายเหลว มือสั่น เหนื่อย ตัวเย็น กล้ามเนื้อเกร็ง ความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นเร็ว คนที่เป็นโรคหัวใจจึงมีอัตราเสี่ยงเสียชีวิตจากการเมาค้างได้ง่าย เพราะเป็นการเพิ่มการทำงานของหัวใจ เกิดภาวะขาดน้ำ ขาดสารอาหาร วิธีแก้เมาค้างให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ ดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ผลไม้รสเปรี้ยว น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะมีวิตามินซีสูง กระตุ้นปลายประสาททำงานเป็นปกติ อาหารควรเป็นอาหารอ่อนข้าวต้มปลา ไม่ใช่ข้าวต้มหมู และโจ๊กย่อยง่าย ซีเรียลที่ย่อยง่าย เลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม ขนมหวาน ให้ดื่มน้ำสะอาดมากๆ เครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น นมร้อน ผู้ที่เมาค้างไม่ควรดื่มกาแฟเพื่อบรรเทาอาการเมาค้าง เพราะกาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะยิ่งทำให้เสียสมดุลของของเหลวในร่างกาย ควรดื่มน้ำมากๆ ก่อนนอนเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และหากจำเป็นต้องหยุดภารกิจทุกอย่างพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มเหล้ามากตับแข็ง ลักษณะทั่วไป ตับแข็ง เป็นโรคตับเรื้อรัง ที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวร จนกลายเป็นเยื่อพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ร่างกายสร้างตามธรรมชาติ เป็นเหตุทำให้มีอาการฝ่ามือแดง จุดแดงรูปแมงมุม นมโตและอัณฑะฝ่อในผู้ชาย การคั่งของสารบิลิรูบิน ทำให้ดีซ่าน การสังเคราะห์สารที่ช่วยห้ามเลือดได้น้อยลง มีภาวะเลือดออกง่าย มีภาวะความดันในหลอดเลือดดำของตับสูง ทำให้ท้องมาน หรือมีน้ำคั่งในช่องท้อง เส้นเลือดขอดที่หลอดอาหาร ริดสีดวงทวาร ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ อาการเริ่มแรก มักเกิดในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี แต่ถ้าพบในคนอายุน้อย อาจเกิดจากโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดรุนแรง หรือเกิดจากการใช้ยาผิด หรือสารเคมีบางชนิด สาเหตุ เซลล์ตับถูกทำลาย มักมีสาเหตุจากการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี การดื่มเหล้าจัด มากกว่าวันละ 80 กรัม นาน 5-10 ปีขึ้นไป หรือการใช้ยาเกินขนาด เช่น พาราเซตามอลเตตราไซคลีน ยารักษาวัณโรคบางชนิด หรือสารเคมีบางชนิด เช่น คลอโรฟอร์ม คาร์บอนเตตราคลอไรด์ สารโลหะหนัก นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะขาดอาหาร หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทาลัสซีเมีย ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ภาวะทางเดินน้ำดีอุดกั้น เป็นต้น บางคนอาจไม่มีประวัติเหล่านี้ชัดเจน อาจเนื่องจากเป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือ เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี มานาน โดยไม่รู้ตัวก็ได้ ลักษณะอาการ ระยะเริ่มแรก อาจไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน อาจมีเพียงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อยต่อมาเป็นแรมปี อาจเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นบางครั้ง น้ำหนักลด เท้าบวม อาจรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงขวาเล็กน้อย ตาเหลือง คันตามผิวหนัง ความรู้สึกทางเพศลดลง ในผู้หญิงอาจมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรือมีเสียงแหบแห้งคล้ายผู้ชาย ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ gynecomastia อัณฑะฝ่อตัว บางคนอาจสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอก หน้าท้อง ในระยะท้ายของโรค หลังเป็นอยู่หลายปี หรือยังดื่มเหล้าจัด จะมีอาการท้องมาน เท้าบวม เส้นเลือดขอดที่ขา เส้นเลือดพองที่หน้าท้อง อาจอาเจียนเป็นเลือดสด ๆ เนื่องจากเส้นเลือดที่หลอดอาหารขอดแล้วแตก ซึ่งอาจถึงช็อกและตายได้ ผู้ป่วยมักจะลงเอยด้วยอาการซึม เพ้อ มือสั่น และค่อย ๆ ไม่รู้สึกตัว จนกระทั่งหมดสติ การรักษา 1 หากสงสัย ควรแนะนำไปตรวจพิสูจน์เพิ่มเติม อาจต้องตรวจเลือด ทดสอบการทำงานของตับและหาเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบีและซี อาจต้องตรวจอัลตราซาวนด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเจาะเอาเนื้อตับไปพิสูจน์ถ้าเป็นตับแข็งในระยะเริ่มแรก อาจให้การรักษาตามอาการ ให้วิตามินรวม และกรดโฟลิกเสริมบำรุงข้อสำคัญ ผู้ป่วยที่ดื่มเหล้าต้องงดเหล้าโดยเด็ดขาด และหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการใช้ยาที่อาจมีผลกระทบต่อตับ ถ้ามีอาการบวม หรือท้องมาน มีน้ำในท้อง ก็ให้ยาขับปัสสาวะ สไปโรโนแล็กโทน spironolactone หรือ ฟูโรซีไมด์ งดอาหารเค็ม จำกัดปริมาณน้ำที่ดื่ม ถ้ามีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ก็ให้ยาเม็ดบำรุงโลหิต 2 ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือด ซึม เพ้อ ไม่ค่อยรู้ตัว หรือมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ ควรรีบส่งโรงพยาบาล อาจต้องให้เลือด และรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยอาจต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลเป็นประจำ จนในที่สุดเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ตกเลือด ภาวะตับวายโรคติดเชื้อ เป็นต้น
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!