ทำไมจึงมีการพิจารณาที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาใช้ในประเทศไทย??
ทำไมจึงมีการพิจารณาที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาใช้ในประเทศไทย
ทำไมจึงมีการพิจารณาที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาใช้ในประเทศไทย
ประเด็นแรก เนื่องจากการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการและปัจจุบันแหล่งพลังงานภายในประเทศ ทั้งก๊าซธรรมชาติและถ่านหินลิกไนต์ที่มีอยู่ เริ่มมีปริมาณไม่เพียงพอ ที่จะนำมาป้อนโรงไฟฟ้าที่สร้างขึ้นใหม่ ประเทศจึงต้องหันไปพึ่งพาการนำเข้าแหล่งกำเนิดพลังงานจากต่างประเทศจำนวนมาก นอกจากการนำเข้าถ่านหินและน้ำมันเพิ่มขึ้น ยังมีการซื้อก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องมีแผนการที่จะนำเข้าหากจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าแหล่งพลังงานชนิดใดชนึดหนึ่งในสัดส่วนที่มากเกินไปแล้วเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าของประเทศย่อมไปผูกติดกับราคาของแหล่งพลังงานนำเข้าเหล่านี้มากขึ้นทุกๆ ปี โดยที่ไม่มีแหล่งพลังงานอื่นมาช่วยคานให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นแหล่งพลังงานอีกชนิดหนึ่งที่จะมาช่วยเสริมการผลิตไฟฟ้าได้ ประเด็นที่สอง หากมองในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว จะเห็นว่าถ้าจะมีการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินมาช่วยเสริมในการผลิตไฟฟ้าแล้ว โรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 1 000 เมกะวัตต์ ในแต่ละปีจะมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 6 5 ล้านตัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 9 000 ตัน ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ อีก 4 500 ตัน และฝุ่นละออง 6 ตัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดมลพิษเพิ่มขึ้นที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดฝนกรดหรือการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกที่จะมีผลต่อความผันผวนของฤดูกาล ทั้งนี้ โดยไม่รวมถึง การใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ ที่มีอยู่เดิม และที่จะก่อสร้างใหม่ ซึ่งจะมีการปลดปล่อย ก๊าซมลพิษ ดังกล่าวเช่นกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้ว จะไม่มีก๊าซมลพิษ ฝุ่นละอองและเถ้าถ่านต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นปล่อยออกสู่สภาวะแวดล้อม นอกจากนี้การใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน จะเหลือเถ้าถ่านหินตกค้าง อีกประมาณ 1 500 ตัน ซึ่งต้องดำเนินการ จัดการป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหา ต่อสิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน ในขณะที่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเท่ากัน จะมีกากเชื้อเพลิงใช้แล้ว ประมาณปีละ 27-30 ตัน สามารถจัดเก็บไว้ในโรงไฟฟ้า ได้นานถึง 30 ปี ตลอดชั่วอายุ การใช้งานโรงไฟฟ้า โดยไม่เกิดปัญหาหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เชื้อเพลิงใช้แล้วดังกล่าว ยังอาจส่งไป สกัดเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ให้นำกลับมาใช้ใหม่ จนเหลือกากกัมมันตรังสีจำนวนน้อยลง เมื่อนำไปหลอมรวมกับแก้ว สามารถจัดเก็บ ไว้ได้สะดวกขึ้น โดยมีความทนทาน ต่อการสึกกร่อน ป้องกันการรั่วของกากกัมมันตรังสีในอนาคต ดังนั้น จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ประกอบกับ การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นต้องใช้เวลาดำเนินการล่วงหน้า เป็นเวลานานประมาณ 12 ปี จึงจะสามารถก่อสร้างเสร็จ เดินเครื่องจ่ายไฟฟ้า ให้ทัน ตามความต้องการได้ จึงได้มีการพิจารณา ที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาใช้ภายในประเทศ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งว่า จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อที่จะนำมาทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานอื่นได้หรือไม่ ที่มา ศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี NSTKC
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!