ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร?, ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร? หมายถึง, ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร? คือ, ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร? ความหมาย, ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร?

ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ ร บ คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร

คำตอบ

                          สืบเนื่องจากกรมทรัพยากรธรณีขุดค้นพบซากกระดูกไดโนเสาร์มากขึ้น จุดที่ประชาชนเกิดความสนใจมากที่สุด คือ การขุดค้นซากไดโนเสาร์ที่หลุมขุดค้นที่ 1 อุทยานแห่งชาติภูเวียง จ ขอนแก่น ในปี 2525 ซึ่งกระดูกในหลุมนี้ ต่อมาในปี 2537 ผลการวิจัยพบเป็นไดโนเสาร์กินพืช สกุลและชนิดใหม่ของโลก ชื่อภูเวียงโกซอรัส สิรินทรเน่ โดยชื่อชนิดใดได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ใช้พระนามาภิไธยของพระองค์ หลังจากปี 2525 เป็นต้นมา เกิดความสนใจในซากไดโนเสาร์กันมากมาย ในปี 2532 กรมทรัพยากรธรณี ค้นพบซากกระดูกคอของไดโนเสาร์กินพืชที่หลุม 2 ในปีนั้น สมเด็จพระเทพฯ เสด็จทอดพระเนตร และในปี 2533 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอกรมหลวงนราธิวาช ราชนครินทร์ได้เสด็จเยี่ยมชมด้วย จึงยิ่งเพิ่มความโด่งดังยิ่งขึ้น และที่โด่งดังที่สุด คือ ปี พ ศ 2539 เมื่อผลการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณี เรื่อง ไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลและชนิดใหม่ของโลก สยามโบไทรันนัสอิสานเอ็นซิส จากหลุมขุดที่ 9 ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ทั่วโลก การซื้อขายกระดูกไดโนเสาร์น่าจะเกิดในช่วงระหว่างปี 2530 เป็นต้นมา และมีมากในปี 2538-39 เมื่อมีการซื้อขาย ทำให้เกิดการลักลอบขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ ทำให้แหล่งซากดึกดำบรรพ์ถูกทำลาย ประเทศสูญเสียข้อมูลมีคุณค่าทางวิชาการ และโลกสูญเสียมรดกทางธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณจึงจำเป็นต้องหาหนทางเพื่อทำการอนุรักษ์ซากและแหล่งซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ไว้ ความพยายามสัมฤทธิผลในปี พ ศ 2546 เมื่อ กฟผ ค้นพบแหล่งซากหอยแม่เมาะ จ ลำปาง ในพื้นที่ทำเหมือง                             เมื่อรัฐบาลทราบเรื่องจึงได้มอบหมายให้ท่านรองนายกรัฐมนตรี ร ต อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 ฝ่ายสังคม เป็นผู้ดูแล กรมทรัพยากรจึงได้ นำเรื่องแนวทางการอนุรักษ์ซากหอยขมดึกดำบรรพ์แม่เมาะ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ได้นำเรื่องร่าง พ ร บ คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ และขอใช้งบประมาณงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการพัฒนา คือ สภาพการแข่งขันของประเทศ จำนวน 200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จ กาฬสินธุ์ ให้เสร็จ ขณะนี้แนวทางการอนุรักษ์แหล่งซากหอยแม่เมาะ งบประมาณ 200 ล้าน ได้รับมติจากคณะกรรมการกลั่นกรองส่งเข้าขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และได้ผ่านมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 ส่วนร่าง พ ร บ คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ได้รับมติจากคณะรัฐมนตรีแล้วเช่นกัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ขณะนี้ร่าง พ ร บ คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์กำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล ขณะนี้ทราบว่าฝ่ายกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ศึกษาร่างกฎหมายฉบับนี้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ นำเสนอเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังจากนั้นจึงจำเสนอ ค ร ม พิจารณานำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ที่มา กรมทรัพยากรธรณี      

ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร, ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร หมายถึง, ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร คือ, ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร ความหมาย, ความเป็นมาของการออกกฎหมายห้ามซื้อขายฟอสซิล หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์เป็นอย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu